![]() |
งานวิจัยศักยภาพสิ่งแวดล้อมทางน้ำเพื่อการพัฒนาการประมงในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อย่างยั่งยืน |
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทำการก่อสร้างแล้ว เสร็จและเริ่มเก็บกักน้ำตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2542 ตัวเขื่อนตั้งอยู่ในเขตอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรีและ อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี เป็นเขื่อนดินแกนดินเหนียว ยาวประมาณ 4.860 เมตร เก็บกักน้ำได้สูงสุดที่ประมาณ 45 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ผิวน้ำ ณ ระดับเก็บกักปกติประมาณ 148 ตารางกิโลเมตร หรือ 114,119 ไร่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ณ ปัจจุบันนอกจากจะมีการ ใช้ประโยชน์ในการบรรเทาอุทกภัยช่วงน้ำหลากในพื้น ที่ลุ่มน้ำป่าสัก พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง กรุงเทพ มหานครและปริมณฑล และใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการขาด แคลนน้ำในฤดูแล้งตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมแล้ว พื้นที่โดย รอบของเขื่อนยังมีการทำกิจกรรมทางการเกษตรและใช้ ประโยชน์จากแหล่งน้ำในการทำประมงอย่างกว้างขวาง |
อาชีพการประมงถือว่าเป็นอาชีพหลักที่อยู่คู่กับแหล่งน้ำ ของไทยมานาน การประมงไม่ว่าจะเป็นจับสัตว์น้ำขึ้นมาเพื่อ ยังชีพ ขาย หรือการทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ย่อมจะส่งผลให้ เกิดการแพร่กระจายของอาหารโปรตีนทั้งแก่ชุมชนในท้องถิ่น และในเขตภูมิภาคโดยรอบ การพัฒนาทรัพยากรประมงภายใน พื้นที่ท้องน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์และการนำทรัพยากรประมงมา ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน จึงเป็นประเด็นเป้าหมายที่ คณะประมงได้เล็งเห็นความสำคัญและส่งเสริมให้เกิดการวิจัย เชิงบูรณาการองค์ความรู้และระดมความคิดเพื่อการพัฒนาดังกล่าว |
งานวิจัยศักยภาพสิ่งแวดล้อมทางน้ำเพื่อการพัฒนาการ ประมงในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อย่างยั่งยืนจัดเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ Strategies for Sustainable Management of Fishery Resources in the Pasak Jolasid Reservoir, Thailand through Ecological and Socioeconomic Assessment มีระยะเวลาดำ- เนินการศึกษาวิจัย 2 ปี ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ การวิจัยจากสหภาพยุโรป ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ASEAN Regional Center for Biodiversity Conservation and the European Commission (ARCBC) ประเทศฟิลิปปินส์ และสำนัก งานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประเทศไทย งาน วิจัยศักยภาพสิ่งแวดล้อมทางน้ำฯ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางกายภาพและเคมีของ บริเวณพื้นที่ท้องน้ำในเขื่อนป่าสักชล-สิทธิ์ ศึกษาการเปลี่ยน แปลงในรอบปี และประเมินศักยภาพ/ความเหมาะสมของพื้น ท้องน้ำที่เอื้ออำนวยต่อความเป็นอยู่ของสัตว์น้ำ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็น ฐานข้อมูลสำหรับโมเดลทางนิเวศวิยาเพื่อการประเมิณสภาวะ ทรัพยากรประมง ใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการวางนโยบายสำหรับ การอนุรักษ์ทรัพยากรประมง และใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัด สินใจในการวางรูปแบบและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำใน เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |
ในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น
คณะผู้วิจัยได้ดำเนิน การสำรวจคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของพื้นน้ำทั้งหมดใน เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545 โดยออกสำรวจ และเก็บตัวอย่างน้ำทุก 2 เดือน จนถึง เดือนธันวาคม 2545 กำหนดสถานีเก็บตัวอย่าง 36 สถานี และศึกษาคุณภาพน้ำทั้ง ตามแนวราบ (horizontal regime) และตามความลึกของน้ำใน แนวดิ่ง (vertical profile) มีพารามิเตอร์ที่ศึกษา อาทิ ความลึก ของน้ำ (ภาพที่ 1) อุณหภูมิ ความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณ ออกซิเจนละลายน้ำ ศักย์การนำไฟฟ้า ความขุ่นของน้ำ ปริมาณ คลอโรฟิลล์ เอ และปริมาณธาตุอาหาร (แอมโมเนียม ไนไตร์ท- ไนเตรท ซิลิเกท และฟอสเฟต) เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากการ สำรวจได้นำเสนอในรูปของ contour graphs เพื่อให้ทราบการ แพร่กระจายและการเปลี่ยนแปลงในแนวราบของแต่ละพารา มิเตอร์ตามระยะเวลา และนำเสนอในรูปของ vertical profile graphs เพื่อให้ทราบสถานภาพและรูปแบบการเปลี่ยนแปลง ตามความลึกของน้ำ ณ แต่ละจุดสำรวจ ตามระยะเวลาต่างๆ |
จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าลักษณะทางกายภาพทั่วไป ของเขื่อนเป็นพื้นท้องน้ำค่อนข้างแบนราบและมีความลึก เฉลี่ยประมาณ 5 เมตร โดยมีร่องน้ำเดิมอยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่งมีชายฝั่งชันกว่าทางทิศตะวันตก ฝั่งทางตะวันตกของร่องน้ำ จะเป็นพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง มีความลึกใกล้เคียงกันไปจนสุด ขอบฝั่ง คุณสมบัติทางเคมีของน้ำโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งเหมาะสมต่อความเป็นอยู่ของสัตว์น้ำ อย่างไรก็ตามเนื่อง จากเขื่อนจะแปรสภาพเป็นแอ่งรับน้ำที่หลากมาอย่างมากใน ช่วงฤดูฝน พื้นที่รับน้ำในตอนบนของเขื่อนจึงมีการเปลี่ยน แปลงคุณสมบัติของน้ำ โดยเฉพาะทางด้านความขุ่น (ภาพที่ 2) และปริมาณออกซิเจนละลายอย่างเด่นชัด นอกจากนี้ในช่วงฤดู ร้อนที่น้ำมีการลดระดับต่ำมากและมีอุณหภูมิสูงขึ้น จะพบการ เพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนพืชอย่างหนาแน่นจนเห็นการ เปลี่ยนสีของน้ำชัดเจน ผลการศึกษายังพบว่าน้ำในเขื่อนโดยทั่วไปเกิดการ แบ่งชั้นโดยเฉพาะจุดสำรวจที่ความลึกมากกว่า 5 เมตร ระดับของออกซิเจนละลายน้ำและอุณหภูมิลดลงตามความลึก อย่างชัดเจน (ภาพที่ 3) ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวน่าจะส่งผล ต่อความเป็นอยู่ของสัตว์น้ำในด้านการจำกัดพื้นที่การแพร่ กระจายและการเจริญเติบโต และมีความสัมพันธ์โดยตรง กับชนิดและปริมาณของปลาในแหล่งน้ำนี้ด้วย |
![]() |