การจำแนกชนิดไดอะตอมที่พบบนพื้นผิวปะการังเทียม บริเวณอ่าวขาม เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบลำแสงส่องกราด
Identification of Diatoms Found on Artificial Reef Surface at Ao Kham, Samet Island, Rayong Province
with Scanning Electron Microscope

................................................................................................................................................
อรรชนีย์ ชำนาญศิลป์1 สุนันท์ ภัทรจินดา1 วิชาญ อิงศรีสว่าง2 และ ชัยชาญ มหาสวัสดิ์1
1ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2กองวิศวประมง กรมประมง

     ปะการังเทียมเป็นอีกความหวังหนึ่งในการสร้างแหล่งที่
อยู่อาศัยให้กับสัตว์ทะเล เพื่อช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้
กับชายฝั่ง ไดอะตอมเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกลุ่มหนึ่งที่เข้า
มาอาศัยอยู่บนพื้นผิวปะการังเทียม มีหน้าที่หลักเป็นผู้ผลิต
ขั้นต้นให้กับระบบนิเวศน์ในบริเวณที่อาศัยอยู่รวมทั้งเป็น
แหล่งอาหารสำหรับสิ่งมีชีวิตหลายชนิดของระบบห่วงโซ่อาหาร
ในทะเล ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทั้งที่มีชีวิต
และไม่มีชีวิตในบริเวณนั้น การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษา
ชนิดของไดอะตอมที่พบอาศัยอยู่บนพื้นผิวปะการังเทียม
บริเวณอ่าวขาม เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง โดยปะการังเทียม
ถูกวางบนพื้นทรายที่ระดับความลึกของน้ำ 0.5 - 3.0 เมตร
ห่างฝั่งประมาณ 150 เมตร ที่ละติจูด 120 34/ 85//เหนือ
และลองติจูด 101 0 26/ 83// ตะวันออก ซึ่งกรมประมงจัด
ทำขึ้นเพื่อเป็นโครงการนำร่องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ชายฝั่ง ทำการเก็บตัวอย่างทุกเดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม
2540 ถึงเดือนกรกฎาคม 2541 เก็บรักษาตัวอย่างในน้ำ
ยาฟอร์มาลิน 4 เปอร์เซ็นต์ ทำความสะอาดเซลล์ไดอะตอม
ด้วยวิธีของ Simonsen (1974) ก่อนนำตัวอย่างไปศึกษาและ
จำแนกเบื้องต้นด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง (Light
Microscope) ถ่ายภาพด้วยกำลังขยายของเลนส์ ใกล้ตา
(Ocular lens) 10 และ 20 เท่า เลือกตัวอย่างเดิมวางบน
กระดาษมิลลิพอร์ (millipore paper) ขนาด 0.22 ไมครอน
ทิ้งให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง นำไปเคลือบทอง 99.99 % ด้วย
  เครื่อง Ion sputter นำไปศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์
อิเล็กตรอนแบบลำแสงส่องกราด (Scanning Electron
Microscope) ถ่ายภาพด้านตรงและสามมิติ จำแนกหมวด
หมู่ไดอะตอมตามระบบของ Round และคณะ (1990)
สำหรับคำศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับไดอะตอมใช้ตาม
Anonymous (1975); Ross และคณะ (1979); Barber
และ Haworth (1981); Cox (1996); Round และคณะ
(1990) และ Hasle และ Syvertsen (1996)

      จากการศึกษาสามารถจำแนกชนิดไดอะตอมได้ 117
ชนิดและจำแนกหมวดหมู่ได้ทั้งหมด 3 Classes 6
Subclasses 23 Orders 35 Families และ 54 Genera โดย
พบว่า Class Bacillariophyceae (raphid pennate diatom)
มีความหลากหลายของชนิดมากที่สุด คือ 69 ชนิด สกุล
Mastogloia มีจำนวนชนิดมากที่สุด 16 ชนิด Class
Coscinodiscophyceae (centric diatom) พบ 34 ชนิด
สกุล Biddulphia และ Triceratium มีนวนชนิดมากที่สุด
สกุลละ 5 ชนิด และ Class Fragilariophyceae (araphid
pennate diatom) พบ 14 ชนิด สกุล Podocystis มีจำนวน
ชนิดมากที่สุด 3 ชนิด และไดอะตอมที่ไม่สามารถจำแนก
ได้ถึงระดับชนิด พบ 6 ตัวอย่าง คือ Centric no. 1, Centric
no. 2, Raphid no. 1, Raphid no. 2, Raphid no. 3 และ
Raphid no. 4

 

 

ภาพที่ 1 Lampriscus kittonii Schmidt
A: ภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน
B: ภาพถ่ายด้วย กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง
ภาพที่ 2 .Podocystis spathulata (Shadbolt)
Grunow
A: ภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน
B: ภาพถ่ายด้วย กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง
ภาพที่ 1 .Petroneis Arabica (Grunow)
A: ภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน
B: ภาพถ่ายด้วย กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง