![]() |
ความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในชนิดของปลาดุก
(สกุล Clarias)
................................................................................................................................................ อุทัยรัตน์ ณ นคร ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ |
ความหลากหลายทางชีวภาพ
(Biodiversity) มีความสำคัญ อย่างยิ่งยวดต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมนุษยชาติ คำว่าความหลากหลายทางชีวภาพ มีความหมายครอบคลุมถึง ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ความหลากหลายทางระบบนิเวศ และความหลากหลายทางพันธุกรรม ความหลากหลายทางพันธุกรรมหมายถึงการที่สิ่งมีชีวิต ชนิดหนึ่ง มีพันธุกรรมแตกต่างกันในระดับหนึ่ง โดยครอบคลุม ความหลากหลายระหว่างประชากร และ ภายในประชากร ซึ่ง ความหลากหลายนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญ ต่อความอยู่รอดของสิ่งมี ชีวิตชนิดนั้นๆ โดยจะทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวได้ภายใต้ สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และมีศักยภาพที่จะมีวิวัฒนาการ ต่อไป ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาสกุล Clarias ได้รับความสนใจจาก นักวิทยาศาสตร์ไม่น้อย เพื่อใช้ข้อมูล เหล่านั้นเป็นพื้นฐานในการวางแผนการอนุรักษ์ ทั้งนี้เนื่อง จากปลาสกุลนี้มีการเพาะเลี้ยงกันแพร่หลาย จึงทำให้เกิด ความกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุ- กรรมจากการผสมกับปลาต่างถิ่น และการผสมกับประชากร จาก โรงเพาะฟัก ซึ่งมักมีความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำ นอกจากนั้นก็ยังเล็งเห็นประโยชน์ในการนำทรัพยากรความ หลากหลายทางพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ ระหว่าง พ.ศ. 2541-2542 โครงการพัฒนาองค์ความรู้และ ศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) ได้สนับสนุนให้มีการศึกษาความหลากหลายทาง พันธุกรรมของปลาสกุล Clarias 3 ชนิด ด้วยวิธีวิเคราะห์ ไอโซไซม์ ในที่นี้ขอนำเสนอผลการศึกษาในปลาดุกอุย และ ปลาดุกด้าน เพียง 2 ชนิด |
ตอนล่าง
ประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้มีค่า ความหลากหลายภายในประชากรต่ำ ค่าเฮตเทอโรไซโกซิตี เปอร์เซ็นต์ยีนในสภาพหลากรูป และจำนวนอัลลิลต่อตำแหน่ง เฉลี่ยจากปลาประชากรธรรมชาติ 25 ประชากร มีค่าตามลำดับ ดังนี้ 0.046, 17.12% และ 1.288 ประชากรปลาดุกอุยจากธรรมชาติ มีความแตกต่างทางพันธุกรรมในระดับสูง พบหลักฐานการปน เปื้อนของยีนจากปลาดุกยักษ์ ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างประเทศ ใน ประชากรปลาดุกอุย จากการศึกษาในปลาดุกอุยจากธรรมชาติ 25 ประชากร วิเคราะห์ไอโซไซม์ 13 ชนิดตรวจสอบยีน 18 ตำแหน่ง เป็น ยีนในสภาพหลากรูป (P95) 8 ตำแหน่ง พบว่าความหลาก หลายทางพันธุกรรมภายในประชากรปลาดุกอุยมีค่าต่ำใน ประชากรจากภาคเหนือส่วนบน และค่อยๆ สูงขึ้นในประชากร ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน และลดต่ำลงใน ประชากรภาคกลางตอนล่าง ประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้มีค่าความหลากหลายภายในประชากรต่ำ ค่าเฮตเทอ- โรไซโกซิตี เปอร์เซ็นต์ยีนในสภาพหลากรูป และจำนวนอัลลิลต่อ ตำแหน่ง เฉลี่ยจากปลาประชากรธรรมชาติ 25 ประชากร มีค่า ตามลำดับดังนี้ 0.046, 17.12% และ 1.288 ประชากรปลาดุกอุย จากธรรมชาติมีความแตกต่างทางพันธุกรรมในระดับสูง พบหลัก ฐานการปนเปื้อนของยีนจากปลาดุกยักษ์ ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่าง ประเทศ ในประชากรปลาดุกอุย จากการศึกษาในปลาดุกอุยจากธรรมชาติ 25 ประชากร วิเคราะห์ไอโซไซม์ 13 ชนิดตรวจสอบยีน 18 ตำแหน่ง เป็นยีน ในสภาพหลากรูป (P95) 8 ตำแหน่ง พบว่าความหลากหลายทาง พันธุกรรมภายในประชากรปลาดุกอุยมีค่าต่ำในประชากรจาก ภาคเหนือส่วนบน และค่อยๆ สูงขึ้นในประชากรภาคเหนือตอน ล่าง และภาคกลางตอนบน และลดต่ำลงในประชากรภาคกลาง |
ประชากรปลาดุกอุยในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนใหญ่ ยังคงมีระดับความหลากหลายภายในประชากรสูง แสดงว่ายังมี ประชากรขนาดใหญ่ ส่วนประชากรลุ่มแม่น้ำโขง และภาคใต้มี ความหลากหลายภายในประชากรต่ำ ซึ่งอาจหมายถึง การมี จำนวนสมาชิกในประชากรน้อย การขนย้ายประชากรปลาข้ามถิ่นส่งผลให้เกิดการปนเปื้อน ทางพันธุกรรมในประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งส่งผลให้สูญเสียความ หลากหลายระหว่างประชากร ซึ่งควรจะมีการจำกัดการกระทำดัง กล่าว โดยการให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับผลเสียที่จะเกิดขึ้น ควรวางแผนการอนุรักษ์ โดยการอนุรักษ์ในพื้นที่ และดำเนิน การพร้อม ๆ กันไปใน 2 กลุ่มประชากร คือ ประชากรภาคกลาง - ภาคอิสาณ และประชากรภาคใต้ งดการเพาะปลาปล่อยในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ตอนบน เนื่องจากประชากรปลาดุกอุยในธรรมชาติยังมีมาก เพราะ หากวางแผนไม่ถูกต้อง อาจมีผลให้สูญเสียความหลากหลายทาง พันธุกรรมได้ แต่อาจมีการปล่อยในภาคอีสาน และภาคใต้ ทั้งนี้ โดยใช้พ่อแม่ปลาธรรมชาติจากท้องถิ่นนั้น ๆ และใช้พ่อแม่พันธุ์ จำนวนมาก |
ควรมีมาตรการณ์ควบคุมการเลี้ยงปลาดุกลูกผสม
บิ๊กอุย (ปลาดุกยักษ์ x ปลาดุกอุย) หรือ ทำให้ปลาลูกผสม บิ๊กอุย เป็นหมัน เพื่อลดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมที่จะเกิดมากขึ้นในอนาคต การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาดุกด้าน ศึกษาในปลาดุกด้านจากธรรมชาติ 18 ประชากร วิเคราะห์ไอ- โซไซม์ 14 ชนิด ตรวจสอบยีน 22 ตำแหน่ง เป็นยีนสภาพหลาก รูปแบบ (P95) 14 ตำแหน่ง พบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรม ภายในประชากรปลาดุกด้านมีค่าค่อนข้างต่ำ (ค่าเฮตเทอโรไซโก- ซิตี = 0.025 เปอร์เซ็นต์ยีนในสภาพหลากรูป = 17.6% จำนวน อัลลิลต่อตำแหน่ง = 1.33) ประชากรปลาดุกด้านในประเทศไทย แบ่งออกเป็นประชากรย่อยที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมใน ระดับสูง ซึ่งเป็นลักษณะของปลาที่มีความชุกชุมต่ำ ประชากรเหล่า นี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่เช่นเดียวกับปลาดุกอุย การที่ปลาดุก ด้านมีความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำอาจเป็นลักษณะโดย ธรรมชาติของปลาชนิดนี้ หรืออาจเนื่องจากความหลากหลายลด ลงเพราะมีจำนวนลดลง ซึ่งผู้วิจัยคาดว่าเหตุผลประการหลังจะ สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่าความชุกชุมของปลาดุกด้านได้ลด ลงจนถูกจัดเป็นชนิดที่ถูกคุกคาม (สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวด ล้อม, 2540) แนวทางการอนุรักษ์นั้น ต้องดำเนินการโดยจะต้อง รักษาความหลากหลายระหว่างประชากรไว้ด้วย การปล่อยพันธุ์ ปลาดุกด้าน อาจจำเป็นต้องทำ โดยใช้ปลาจากท้องถิ่นเดียวกัน ที่ได้จากพ่อแม่จำนวนมาก |