ระดับที่เหมาะสมของการใช้กวาวเครือขาวในสูตรอาหารกระต่ายระยะรุ่น-ขุน
The Otimum Level of Peuraria Mirifica as Stewer Rations
................................................................................................................................................
สมโภชน์ ทับเจริญ1 วาณี ชัยวัฒนสิน2 เกรียงศักดิ์ สอาดรักษ์1 และ หนูจันทร์ มาตา1
1ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          การใช้กวาวเครือขาวในสูตรอาหารกระต่ายในระยะรุ่น-ขุน
ทดลองโดยการใช้กระต่าย 60 ตัว แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 12 ตัว
ประกอบด้วยเพศผู้ 8 ตัวและเพศเมีย 4 ตัว โดยให้อาหารและน้ำ
แบบเต็มที่ ใช้เวลาทดลอง 70 วัน ให้กินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด
ที่มีผงกวาวเครือขาวผสมอยู่ในระดับ 0, 0.5, 1.0, 1.5และ 2.0
เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ตามลำดับ จากการทดลอง
พบว่า กระต่ายทุกกลุ่มมีอัตราการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพ
การใช้อาหาร อาหารที่กินทั้งหมดและเปอร์เซ็นต์ซากไม่แตกต่าง
กัน (P>0.05) แต่กระต่ายในกลุ่มที่ 3 และ 4 มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
และน้ำหนักตัวก่อนฆ่ามากกว่า กลุ่มที่ 5 (P<0.05) กระต่ายกลุ่มที่
ได้รับกวาวเครือขาวทุกกลุ่มในเพศผู้มีขนาดอัณฑะเล็ก (P<0.01)
และในเพศเมียมีมดลูกใหญ่กว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) จากการ
ตรวจสอบสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนตกค้างในเนื้อกระต่าย
โดยวิธี Bioassay จากการวัดน้ำหนักมดลูก และต่อมหมวกไตของ
หนูทดลองตัดรังไข่ พบว่าการทดลองครั้งนี้ไม่มีฤทธิ์ตกค้างของสาร
คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนตกค้างในเนื้อกระต่ายที่ได้รับกวาว
เครือขาวในอาหารทุกกลุ่ม
 



 

สรุป

  1. การใช้กวาวเครือขาวในกระต่ายระยะรุ่น-ขุนไม่ควรใช้เกิน 1.5
    เปอร์เซ็นต์
  2. การใช้กวาวเครือขาวในอาหารกระต่ายระยะรุ่น-ขุน ในระดับ
    0.5 , 1.0 และ 1.5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้กระต่ายมีสมรรถภาพการผลิต ลักษณะซาก และลักษณะหนังไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกลุ่มควบคุม
  3. การใช้กวาวเครือขาวในอาหารกระต่ายระยะรุ่น-ุนทุกกลุ่มทำให้มี
    ขนาดอัณฑะเล็กลงและมดลูกใหญ่ขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัย
    สำคัญทางสถิติ
  4. จากการทดลองครั้งนี้ไม่แสดงผลว่ามีฤทธิ์ตกค้างของสารคล้าย
    ฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อกระต่ายที่ได้รับกวาวเครือขาวทุกกลุ่ม
  5. การใช้กวาวเครือขาวในอาหารกระต่ายระยะรุ่น-ขุน ในระดับ 0.5 ,
    1.0 และ 1.5 เปอร์เซ็นต์ มีต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่ายหนัง
    หลังการฟอกไม่แตกต่างกันทางสถิติ