การขยายพันธุ์กวาวเครือโดยการแบ่งหัวต่อต้น
Kwao Kuer Propagation by Tuberous Root Division and Grafting

.............................................................................
สมโภชน์ ทับเจริญ
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

         ปัจจุบันกวาวเครือ (ทั้งกวาวเครือขาว และกวาวเครือแดง)
เป็นพืชสมุนไพรมหัศจรรย์ที่กำลังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไป
ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ กวาวเครือขาว และกวาวเครือ
แดง ถูกกำหนดให้เป็นพืชสงวน และกำลังจะประกาศให้เป็นพืช
หวงห้ามต่อไป ในไม่ช้านี้ เพื่อป้องกันการขุดทำลายจนสูญพันธุ์
อันเป็นผลเนื่องมาจากกระแสความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประชาชน
และสรรพคุณที่ดีของตัวกวาวเครือเอง
            การปลูกและการเขตกรรมเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง
ทำในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อให้มีกวาวเครือเพียงพอกับความต้อง
การทั้งภายในและส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เพื่อนำราย
ได้กลับมาพัฒนาประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤต
เศรษฐกิจเช่นนี้
           การแบ่งหัวต่อต้นกวาวเครือขาวเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่คิด
และประดิษฐ์ขึ้นเพื่อการขยายพันธุ์กวาวเครือโดยเฉพาะ ทั้งนี้
เนื่องจากกวาวเครือ (ทั้งขาวและแดง) ทั้งนี้เนื่องจากกวาวเครือ
เป็นพืชตะกูลถั่วที่มีการสะสมอาหารไว้ที่รากหรือเรียกว่าหัว โดย
หัวจะขยายตัวต่อ ๆ กันไปคล้ายลูกปัดอยู่ใต้ดิน หัวกวาวเครือมี
ลักษณะที่เรียกว่า ทูเบอร์รัส รูท (Tuberous roots) โดยหัวดังกล่าว
จะไม่มีตาที่จะแตกเป็นต้นใหม่ได้
            การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้สามารถนำหัวกวาวเครือขนาดเล็ก
(เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 นิ้ว) อายุประมาณ 6 เดือน ขึ้นไป
และต้นหรือเถาที่เคยถูกทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์ มาขยายพันธุ์ให้
เป็นกวาวเครือต้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการทดลอง พบ
ว่า ถ้าเลือกหัวและต้นกวาวเครือขนาดพอเหมาะ และอยู่ในสภาพ
ที่สมบูรณ์จะมีการต่อติดได้มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์
 


 



  ข้อดี
     1. สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
     2. สามารถใช้หัวขนาดเล็กรวมทั้งเถาหรือต้นหลังจากการเก็บเกี่ยว
        (เมื่อมีการปลูก)
         มาขยายพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3. ใช้เวลาน้อยก็สามารถนำลงปลูกได้ (ประมาณ 45 - 60 วันหลังการต่อต้น)
     4. กระบวนการทำไม่ยุ่งยากซับซ้อน
     5. เกษตรกรสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยตนเอง
     6. ใช้ทุนต่ำในการขยายพันธุ์

ข้อเสีย
     1. จะต้องมีหัว และลำต้นจำนวนมาก (มีอยู่แล้วจากแปลงปลูก)
     2. ผู้ทำการต่อต้นจะต้องมีความชำนาญและความเข้าใจใน
         เรื่องการเพาะชำที่ดี

 ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจที่ได้จากการขยายพันธุ์กวาวเครือโดยวิธีการ
แบ่งหัต่อต้น

     1. ถ้ามีการปลูกกวาวเครือในอนาคตอันใกล้ เกษตรกรผู้ปลูกกวาวเครือจะ
        สามารถลดต้นทุนการผลิตได้จากการขยายพันธุ์ด้วยตนเองเพื่อนำไปปลูก
        ในรุ่น ต่อไปหรือขยายพื้นที่ปลูกให้มากขึ้น
     2. ผู้ค้ากล้าไม้สามารถขยายพันธุ์กวาวเครือจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้ปลูก
        เป็นการค้าได้
     3. เร่งเวลาและขยายพื้นที่ปลูกกวาวเครือเป็นการค้าให้เร็วขึ้นเพื่อทำให้
        ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบกวาวเครือจะได้มีราคาถูกและเปิดโอกาสให้
        กับคนไทยที่มีรายได้น้อยได้ใช้สมุนไพรไทยที่มีประโยชน์อย่างทั่วถึง
     4. เมื่อมีการปลูกเป็นการค้าประเทศไทยจะได้เป็นผู้ส่งออกกวาวเครือ
         หรือผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือไปจำหน่ายยังต่างประเทศ  เพื่อเพิ่มราย
         ได้ให้กับประชาชนชาวไทย และนำเงินตรากลับมาพัฒนาประเทศอีก
         ทางหนึ่ง