![]() |
โครงการอุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติ
His Majesty the king's Insect Park ................................................................................................................................................ สมชาย อิสิชัยกุล อวบ สารถ้อย และ สุนิศา สงวนทรัพย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนากีฏวิทยาอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
โครงการอุทยานแมลงจัดอยู่ในแผนงาน |
และความสัมพันธ์ระหว่างกันอีกด้วยประกอบกับการขาด ความรู้ในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการ ทำลายแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติด้วยการใช้ประโยชน์ ที่ไม่เหมาะสมซึ่งโครงการอุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติฯ ศูนย์วิจัยและพัฒนากีฏวิทยาอุตสาหกรรมเป็นสถานที่ ศึกษาทางธรรมชาติวิทยาที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยา นิเวศ วิทยาและการใช้ประโยชน์จากแมลง โดยการศึกษาวิจัย เน้นในเขตป่าไม้อุทยานแห่งชาติในเขตภาคกลางและ ภาคตะวันตกของประเทศรวมทั้งในเขตเมืองชุมชนท้องถิ่น ดังมีจัดมุ่งหมายเพื่อเป็นอุทยานแมลงและสวนพฤกษศาสตร์ แบบเปิดแสดงบทบาทของแมลงในธรรมชาติ จะเป็นในห่วง โซ่อาหาร การช่วยในการย่อยสลาย การเอื้อประโยชน์ต่อสัตว์ และพืชรวมถึงการใช้ประโยชน์จากมนุษย์ ด้านพืชมีการรวบ รวมพันธุ์พืชที่เป็นที่อยู่และอาหารแมลง พืชดึงดูดหรือไล่ แมลง พืชสารฆ่าแมลง จัดตั้งพิพิธภัณฑ์แมลง นิทรรศการ และผลิตภัณฑ์ |
สถานที่ทำการวิจัยและจัดตั้ง
ตั้งอยู่บริเวณของศูนย์วิจัย และพัฒนากีฏวิทยาอุตสาหกรรม วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดนครปฐม ในบริเวณพื้น ที่ 40 ไร่ ภายในโครงการอุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเน้นการจัดสวนพฤษศาตร์ ที่ จัดแสดงระบบนิเวศวิทยาแบบเปิด (Insect zoo) มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ซึ่งเป็นอาหารของแมลงหลายชนิด นำมาปลูกภายในอุทยาน มีโรงเรือนเพาะเลี้ยงผีเสื้อสวย งามที่ใกล้จะสูญพันธุ์ มีการเพาะเลี้ยงและอนุรักษ์แมลงใน น้ำ (Aquatic Insect) เป็นสวนสาธิตภายในอุทยาน ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป ได้ศึกษาชีววิทยาและ นิเวศวิทยาในอุทยานแห่งนี้มีโครงการจะจัดตั้งอาคาร |
นิทรรศการแมลง
พิพิธภัณฑ์แมลง ผลิตภัณฑ์จากแมลง เพื่อเป็นส่วนประกอบในการศึกษาของประชาชน และ เยาวชนในพื้นที่นอกเหนือจากการเป็นสวนพฤกษศาสตร์ และ อุทยานแมลงเพื่อการศึกษาของวิทยาเขตกำแพงแสน กาจัดสร้างอุทยานแมลงเพื่อการศึกษา เป็นการก่อสร้าง ศูนย์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรแมลงของประเทศ ที่เอื้ออำนวยการใช้ประโยชน์และเป็นโทษของแมลงต่อ สังคมมนุษย์ทั้งทางอ้อม เช่น แมลงศัตรูเศรษฐกิจ แมลง ที่ใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม และ การแพทย์ แมลง ผสมเกสรเพื่อช่วยเกษตรกรเพิ่มผลผลิต แมลงนำโรคสู่ พืชและสัตว์ แมลงศัตรูในโรงเก็บ และ ทำลายอาคาร บ้านเรือน |
จากการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นโครงการปี 2541 จนถึงปัจจุบันแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
- งานนิทรรศการภายในอาคาร ซึ่งประกอบด้วย วิวัฒนาการของแมลง แมลงกับการทำเสียงดนตรี บรรพบุรุษของแมลง
แมลงกับการเกิดและสะท้อนแสง โครงสร้างของแมลง แมลงกับจินตนาการสิ่งประดิษฐ์ การจัดหมวดหมู่ของแมลง แมลงย่อย
สลายอินทรีย์วัตถุ แมลงสัตว์ป่าสงวนของไทย แมลงสามารถบริโภคได้ แมลงกับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ แมลงสังคม นิเวศ
วิทยาและพฤติกรรมแมลง แมลงผสมเกสร แมลงสวยงามและหายาก แมลงศัตรูธรรมชาติ ตัวอย่างแมลงต่างประเทศ แมลง
ศัตรูพืชทางการเกษตร ความสัมพันธ์แมลงและพืช แมลงศัตรูทางการแพทย์- งานแสดงภาคสนาม ซึ่งประกอบด้วย ระบบนิเวศวิทยาผีเสื้อในโดม แมลงปั่นใย ความสัมพันธ์ปลวกกับเห็ดโคน จิ้งหรีด
และตั๊กแตนหนวดยาว การเลี้ยงจักจั่น จักจั่นงวง แมลงสาบป่า เพลี้ยอ่อนและเพลี้ยหอย หิ่งห้อย แมลงช้างล่ามด แมลงทับ ด้วง
หนวดยาว ด้วงมูลสัตว์ ด้วงกว่าง แมลงดานา จิงโจ้น้ำ ด้วงขี้ควายชีปะขาว ชันโรงและแมลงผสมเกสรอื่นๆ แมลงปอ ผึ้งพื้นเมือง
ตั๊กแตนกิ่งไม้ ไหมพื้นเมืองและไหมพันธุ์- งานพิพิธภัณฑ์แมลง ประกอบด้วย การเก็บรักษา และ แสดงตัวอย่างแมลง อุปกรณ์เก็บตัวอย่างแมลง กับดักแมลง การจัด
สร้างพิพิธภัณฑ์แมลง ห้องสมุดและข้อมูลวิชาการ- งานพัฒนากีฏผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ไหมครั่ง ผลิตภัณฑ์แมลงกินได้ ผลิตภัณฑ์สัญลักษณ์แมลง ผลิตภัณฑ์
พืชเกี่ยวข้องกับแมลงขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างโดมเลี้ยงแมลงและผีเสื้อสวยงามในพื้นที่ (Living butterflies zoo)
ในพื้นที่อาคารนิทรรศการแมลง โรงเรือนเพาะชำ และ เพาะเลี้ยงพืชอาหารของแมลงเพื่อประกอบ
การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาตลอดจนขยายพันธุ์ปลูกในพื้นที่อุทยาน ในลักษณะสวนพฤษศาสตร์
สวนอนุรักษ์ผีเสื้อสวยงาม และ แมลงอื่นๆ แบบเปิดในธรรมชาติ พร้อมกันได้ดำเนินการวิจัยเบื้องต้นเกี่ยว
กับการศึกษาเทคนิคการเลี้ยงผีเสื้อถุงทองแมลงที่ใกล้จะสูญพันธุ์และหายากในธรรมชาติรวมทั้งวิจัยและ
ศึกษาเทคนิคการเพาะเลี้ยงแมลงกินได้ ศึกษาหาคุณค่าทางอาหารที่ได้จากแมลง เก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ซึ่ง
เป็นพืชอาหารของแมลงที่ใกล้สูญพันธุ์และหายากในธรรมชาติ ให้การฝึกอบรมแก่เยาวชนและประชาชน
ในการผลิตประดิษฐ์กรรมจากแมลง และ ผลิตภัณฑ์จากแมลงเพื่อหารายได้ และ การเลี้ยงชีพของประชาชน