การเลี้ยงกบและตะพาบน้ำ
Frog and Soft-Shelled Turtle Culture
...............................................................................................................................................
วิทย์ ธารชลานุกิจ ประวิทย์ สุรนีรนาถ และ ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ
ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

      กบ สัตว์สะเทิ้นน้ำ สะเทิ้นบกและตะพาบน้ำ เป็นสัตว์
เลื้อยคลานที่พบเห็นทั่วไปตามแหล่งน้ำน้ำจืดและแหล่งน้ำ
กร่อยบางแห่งของประเทศไทย และเป็นสัตว์ที่นิยมนำมา
บริโภคเป็นอาหารเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความต้องการ
สัตว์น้ำทั้งสองชนิดนี้เป็นที่ต้องการเป็นปริมาณมากในตลาด
ต่างประเทศ เช่น ความต้องการกบในประเทศฝรั่งเศส และ
ความต้องการตะพาบน้ำในประเทศ จีน เป็นต้น ทำให้สัตว์
เหล่านี้ในธรรมชาติลดน้อยลงจนน่าวิตกทำให้คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เริ่มต้นทำการศึกษา ค้นคว้า
และพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งสองชนิดมาตั้งแต่ปี
2520 จนสามารถเผยแพร่ให้เป็นเป็นอาชีพของเกษตรกร
และเป็นสินค้าส่งออกนำรายได้เข้าประเทศมาตลอดจนถึง
ปัจจุบัน
  การเลี้ยงกบ
      ในปี พ.ศ. 2520 คณะประมงได้เริ่มต้นโครงการ ทดลองเพาะ
พันธ์กบนา ที่จับได้จากธรรมชาติรวม 2 ชนิด ได้แก่ Rana tigrina
และ Rana rugulosa จนสามารถเพาะพันธุ์กบโดยวิธีการเลียนแบบ
ธรรมชาติภายใต้การควบคุม ได้พันธุ์กบที่เพียงพอต่อการนำไปเลี้ยง
ต่อไป การศึกษาวิจัยในการเลี้ยงกบได้ดำเนินการต่อเนื่องมาโดย
การศึกษา รูปแบบการเลี้ยง ลักษณะของบ่อ การให้อาหาร และศึกษา
ประเภทอาหารที่ใช้เลี้ยง จากการใช้อาหารธรรมชาติ ได้แก่ หนอน
แมลง ปลาเป็ด มาเป็นอาหารสำเร็จรูปเพื่อการเลี้ยงลูกอ๊อด กบวัยอ่อน
จน ถึงกบขนาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2521 งานวิจัยที่ดำเนินการได้แก่การ
ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ใช้เลี้ยง ตลอดจนการป้องกัน
และรักษากบให้มีสุขภาพดีในระหว่างการเลี้ยง


 

 

    พร้อมกับการศึกษาการเพาะเลี้ยงกบนาของไทย
คณะประมงได้นำกบต่างประเทศคือ Bull Frog (Rana
catesbeiana ) จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นกบขนาดใหญ่
และเป็นพันธุ์กบที่นิยมในต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งผลการ
ศึกษาสามารถพัฒนาระบบการเลี้ยงเป็นการค้าได้เช่นกัน

     จากการเริ่มต้นจนปัจจุบัน การเลี้ยงกบได้แพร่หลายทั่ว
ประเทศ เพราะสามารถเลี้ยงได้ในพื้นที่น้อย และให้ผลตอบ
แทนดี จนบางครั้งมีผลผลิตเกินความต้องการของตลาด แต่
ประโยชน์จากผลงานวิจัยนี้ทำให้กบเป็นอาหารโปรตีนที่
สำคัญอย่างหนึ่งและช่วยรักษาพันธุ์กบตามธรรมชาติมิให้ถูก
รบกวนมากเกินไปและปัจจุบันกบที่วางจำหน่ายในตลาดสด
และรวมทั้งเป็นสินค้าส่งออกได้จากการเลี้ยงทั้งสิ้น

การเลี้ยงตะพาบน้ำ
      ตะพาบน้ำเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง
ซึ่งคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการค้นคว้า
ศึกษาวิธีการเพาะขยายพันธุ์และวิธีการเลี้ยงเป็นรายแรกมาตั้งแต่
ปี พ.ศ 2518 โดยที่แต่เดิมนั้นตะพาบน้ำจับจากธรรมชาติ นำมา
บริโภคภายในประเทศตลอดมา และส่งไปจำหน่ายยังฮ่องกง ซึ่งบาง
ส่วนส่งไปจำหน่ายต่อยังประเทศจีนและบางประเทศในภูมิภาค
เอเซีย โดยที่ชาวจีนนิยมใช้เป็นอาหารและเป็นยาบำรุงมีความต้อง
การเป็นอันมาก ด้วยเหตุนี้ทำให้ปริมาณตะพาบน้ำตามธรรมชาติลด
ลงอย่างรวดเร็ว คณะประมงจึงได้ดำเนินการศึกษาพัฒนาวิธีการ
เพาะเลี้ยงตะพาบน้ำ 2 ชนิด คือ ตะพาบน้ำพันธุ์ไทย Trionyx
catalageneus
และตะพาบน้ำพันธุ์จากไต้หวัน ( Trionyx sianensis )
ซึ่งตะพาบน้ำพันธุ์จากไต้หวัน จะมีขนาดเล็ก และใช้ระยะเวลา
การเลี้ยงสั้นกว่าตะพาบน้ำพันธุ์ไทย