คำยกย่องสรรเสริญความมีคุณูปการและเป็นที่นับถือของทุกๆ
คน ไม่ว่าจะเป็นด้านการสอน การวิจัยและการพัฒนาวิชา
และอาชีพการเลี้ยงโคนมของศาสตราจารย์ ม.ร.ว. ชวนิศนดากร วรวรรณ (อาจารย์หม่อม)นั้นจะปรากฏเสมอ
หากได้อ่านหรือได้
คุยกับลูกศิษย์หรือผู้ที่เคยร่วมงานกับอาจารย์หม่อม ก็จะได้ทราบได้อย่างลึกซึ้งถึงความเป็นบรมครู
ของอาจารย์หม่อมในด้าน
โคนมอย่างแท้จริง
ศาสตราจารย์หม่อมราชวงศ์ชวนิศนดากร
วรวรรณ หรือที่พวกเราเรียกท่านง่ายๆ ว่า "อาจารย์หม่อม" เกิดเมื่อวันที่
18
มิถุนายน 2466 เป็นบุตรชายคนที่สองของหม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ คุณแม่ชื่อหม่อมชั้น
จากสกุลบุนนาค
โดย พ.ศ. 2470-71 ประถมศึกษา โรงเรียนผดุงดรุณี
2472-80 มัธยมศึกษา (มัธยมปีที่ 6) โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์
2483-84 โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (แม่โจ้)
2485-89 ปริญญาตรีกสิกรรมและสัตวบาล (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(รุ่น1)
2502-03 Master of Science in Dairy and Animal Husbandry จาก Oregon State
University ประเทศสหรัฐอเมริกา
2527 ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เกษตรศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้รับพระราชโครงการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็น
"ศาสตราจารย์" เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2526
ว่ากันว่าอาจารย์หม่อมมีความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยว
และพร้อมที่จะศึกษาวิชาการเกษตรกรรมตั้งแต่ยังเรียนอยู่ใน
โรงเรียนมัธยม สิ่งที่ทำให้อาจารย์หม่อมมีความตั้งใจดังกล่าว อาจเป็นเพราะการที่ท่านได้มีโอกาสอ่านวารสาร
"กสิกร"
ที่หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร (ท่านลุง) มักจะเขียนบทนำทำให้อาจารย์ชื่นชมและหลงในชีวิตการทำฟาร์มของท่านลุง
อีกประการหนึ่งที่เป็นประสบการณ์ของท่านในเรื่องของความซื่อสัตย์ในการทำฟาร์มคือ
ในสมัยที่ท่านเรียนชั้นมัธยมท่าน
ยอมอดอาหารกลางวัน เอาสตางค์มาซื้อลูกเป็ดลูกไก่มาเลี้ยงอยู่เป็นประจำ ลูกเป็ดลูกไก่ตายตั้งแต่เล็กเสียเกือบหมด
บางตัว
อยู่รอดจนโตก็ไม่สามารถวางไข่ได้ เพราะท่านถูกหลอกขายโดยผู้ขายคัดเอาแต่ตัวผู้มาขายให้ทั้งสิ้น
นี่ก็เป็นบทเรียนอย่าง
ดีในวิชาสัตวบาลในด้านความซื่อสัตย์ในอาชีพการเลี้ยงสัตว์
หลังจากจบมัธยมปลาย
ท่านได้ศึกษาวิชาการเกษตรขั้นเตรียมอุดมศึกษา ณ โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้
เชียงใหม่
ซึ่งสภาพโรงเรียนยังเป็นป่า หอนอนเป็นโรงเรือนยางใต้ถุนสูง ฝาไม้ไผ่แตะหลังคามุงใบตองตึง
แต่อาจารย์หม่อมก็มีความ
สุขดี มีความอดทนที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นได้ และสามารถเรียนได้ผลดี เมื่อจบการศึกษาที่แม่โจ้ก็ได้มาศึกษาต่อที่วิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ บางเขน ซึ่งเปิดเป็นอุดมศึกษาเป็นปีแรก (มหาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ในปัจจุบัน)
เมื่อท่านจบการศึกษาขั้นปริญญาตรี
(กสิกรรมและสัตวบาลบัณฑิต) แล้ว อาจารย์ได้ตัดสินใจทันทีว่าต้องออกไป
ฟาร์ม ด้วยเหตุที่ว่า มีผู้วิจารณ์ท่านว่าผู้จบปริญญาตรีด้านเกษตรจะหนีจากการรับราชการไม่พ้น
ต้องรับราชการอย่างเดียว
ซึ่งขณะนั้นบริษัทเกี่ยวกับการเกษตรก็ยังไม่มี ทั้งนี้เพราะอาชีพทำการเกษตรถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ต่ำต้อย
ไร้เกียรติ และยัง
หาทางประสบความสำเร็จไม่ได้ ฟาร์มของอาจารย์หม่อมนั้นปลูกกะหล่ำปลี และกะหล่ำดอกอยู่ที่อำเภอปากช่อง
จังหวัด
นครราชสีมา อยู่ประมาณ 2 ปี ท่านได้ต่อสู้ในการทำฟาร์มด้วยความมานะอดทนไม่ท้อถอย
แม้จะไม่พบกับความสำเร็จก็
ตาม จนกระทั่งวันหนึ่งคุณหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจมาเยี่ยมกิจการของลูกศิษย์ที่ปากช่อง
อาจารย์หม่อมจึงถูกทาบทามให้
เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2492
เป็นต้นมาหลังจากที่ท่านได้บรรจุ
เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้วไม่นาน ท่านก็ได้พบกับคุณนงลักษณ์
อมาตยกุล และได้เข้าสู่พิธีวิวาห์มงคลเมื่อ
24 ตุลาคม พ.ศ.2495 โดยมีบุตร-ธิดารวมกัน 3 คน และต่อไปนี้จะเป็นการนำเสนอคณูปการณ์ที่อาจารย์หม่อมได้สร้าง
ไว้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประเทศชาติ
ผลงาน
กำเนิดภาควิชาสัตวบาล
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การเรียนการสอนของคณะเกษตรเกี่ยวกับวิชาเกษตรนั้นไม่ได้แบ่งเป็นภาควิชาเช่นในปัจจุบัน
มีเพียง 2 ฝ่าย
เท่านั้นเรียกว่า ฝ่ายพืชและฝ่ายสัตว์ แต่เมื่ออาจารย์หม่อมกลับมาจากประเทศออสเตรเลีย
การเรียนการสอนในทาง
สัตวบาลก็เริ่มเป็นระเบียบแบบแผนมากขึ้น จนในที่สุดก็ได้เป็นแผนกวิชาสัตวบาล
โดยมีที่ทำการอยู่ที่ตึกสัตวบาล ตรง
ประตู 2 ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นหอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปแล้ว โดยอาจารย์หม่อมดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนก
หรือหัวหน้าวิชาสัตวบาลคนแรก ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2498 จากคำบอกเล่าของศาสตราจารย์ชวนชม
จันทรเปารยะ
(เสียชีวิตไปแล้ว) เขียนไว้ว่ากว่าอาจารย์หม่อมจะยอมรับตำแหน่งหัวหน้าแผนก
ก็เล่นเอาลูกน้องต้องคาดคั้นกันหลายยก
พร้อมต้องสัญญาว่าต้องทำงานให้ดีด้วยจึงจะยอมรับเป็น
นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารสัตว์
และห้องสมุดภาควิชาสัตวบาลขึ้น เพื่อใช้
เป็นสถานที่ค้นคว้าทดลองในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มนำผลพลอยได้ทางการเกษตร
และวัสดุทิ้งเปล่าหลายชนิดมาทดลองใช้เป็นอาหารสัตว์ในรูปต่างๆ อาทิ ใบแค
ฝักก้ามปู ผักตบ-ชวา ใบกระถิน เมล็ดยาง
พารา เมล็ดนุ่น เมล็ดฝ้าย เปลือกสับปะรดสดและแห้ง ซังข้าวโพด กากน้ำตาล กากตะกอนนม
กากเบียร์ กากวุ้นเส้น ส่า
เหล้า ฯลฯ

โคนมฝูงแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การส่งเสริมการเลี้ยงโคนมและการก่อตั้งโรงนมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศาสตราจารย์
ม.ร.ว.ชวนิศนดากร วรวรรณ เป็นผู้นำโคนมพันธุ์เจอร์ซี่จากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในประเทศไทย
เป็นแห่งแรก หลังสงครามโลกในปี พ.ศ.2495 ซึ่งเป็นปีที่ท่านสำเร็จการศึกษาและฝึกอบรมด้านโคนมจากประเทศออสเตรเลีย
โดยอาจารย์หม่อมเป็นผู้ดูแลโคด้วยตนเองระหว่างการเดินทางขนย้าย จากประเทศออส-เตรเลียมายังประเทศไทย
โคนมที่นำ
เข้ามาในขณะนั้นเป็นโคพ่อพันธุ์ 2 ตัว และโคแม่พันธุ์อีก 5 ตัว ซึ่งโคทั้งหมดนี้ได้เข้ามาเก็บกักไว้ที่คอกชั่วคราว
ตรงบริเวณคณะ
วิศวกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน โดยมี ผศ. ทองยศ อเนกะเวียง (เสียชีวิตไปแล้ว)
เป็นเทรนนีคนแรกที่ช่วยดูแลโคเหล่านั้น หลัง
จากนั้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิชาการเลี้ยงโคนมและผลิตภัณฑ์นมของภาควิชาสัตวบาลก็เริ่มต้นตั้งแต่บัดนั้น
โดยมีอาจารย์
หม่อมเป็นอาจารย์ผู้สอน ซึ่งได้พัฒนาการเลี้ยงดู ครอบคลุมไปถึงการทำแปลงทดลองปลูกหญ้าพันธุ์ต่างๆ
เพื่อเป็นอาหารสัตว์ ไม่
ใช่ปลูกเฉพาะที่บางเขนเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงสถานีทับกวาง สถานีศรีราชา
สถานีกำแพงแสน เป็นต้น

ในด้านการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมนั้น
สืบเนื่องมาจากงานวิทยานิพนธ์ของอาจารย์เรื่อง การวิเคราะห์สภาวะการ
เลี้ยงโคนมในพระนครและธนบุรี แนวความคิดในการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมจึงเริ่มปรากฏกล่าวคือ
หลังจากที่อาจารย์
หม่อมได้ตั้งฟาร์มโคนมของมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์แล้ว ท่านได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป
ได้รู้จักการเลี้ยงโคนม คุณประโยชน์และการบริโภคนมสด โดยได้นำนิสิตออกไปศึกษาค้นคว้าเก็บข้อมูลในด้านวิชาการ
เกี่ยวกับการเลี้ยงจัดการดูแลโคนมของชาวอินเดียในเขตพระนคร-ธนบุรี และการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรในจังหวัด
อยุธยาพร้อมทั้งแนะนำส่งเสริมให้มีการเลี้ยงและดูแลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

เมื่อมีการเลี้ยงโคนมและการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมแพร่กระจายไป
ทำให้ความต้องการน้ำนมเพิ่มขึ้น ภาควิชา
สัตวบาลในขณะนั้นก็มีแค่หม้อพาสเจอร์ไรส์นมขนาดเล็กไม่กี่สิบลิตร ซึ่งใช้ทดลองทำไอศกรีมหลากหลายรสชาติ
ทั้งผลิต
นมและผลผลิตสัตว์อื่นๆ ก็มีวางจำหน่ายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น ตรงนี้เป็นจุดกำเนิดโรงนมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กล่าวคือ แม้มหาวิทยาลัยไม่มีเงินงบประมาณและนโยบายที่ลงทุนในการจัดตั้งโรงงานนมทันสมัย
เพื่อใช้ประกอบการ
เรียนการสอนของนิสิต แต่ด้วยความรักในงานที่ท่านได้ปลุกปั้นมาตั้งแต่เริ่มแรก
ประกอบกับเป็นผู้ที่กว้างขวางอยู่ใน
วงการ จึงได้รับความกรุณาและความร่วมมือเป็นอย่างดีจากรัฐบาลออสเตรเลียภายใต้แผนโคลัมโบ
รัฐบาลออสเตรเลีย
ได้ให้ความช่วยเหลืออุปกรณ์สำหรับการผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ครบทั้งชุด แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไว้เป็นอุปกรณ์
ประกอบการเรียนการสอนและผลิตน้ำนมพร้อมดื่มจำหน่ายให้ประชาชนได้บริโภคเป็นโรงงานแรกของประเทศไทย
โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 - 05 ทำให้ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่รู้จักกันทั่วไป
ในฐานะ
ดินแดนแห่งเนื้อ นม ไข่ ที่สมบูรณ์ยิ่ง นอกจากนั้นยังเป็นโรงกษาปณ์ผลิตเม็ดเงินเลี้ยงท้องมหาวิทยาลัยเกษตร-ศาสตร์
มาถึงทุกวันนี้ แต่เป็นที่น่าแปลกมากอย่างหนึ่ง คือ ปัจจุบันโรงนมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้นไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแล
ของภาควิชาสัตวบาลแล้ว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เอาไปดูแลเอง และจะมีใครทราบหรือไม่ว่า
"ไม่มีอาจารย์หม่อม ไม่
มีโรงนมในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
การประชุมทางวิชาการครั้งแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์การค้นคว้าในวิชาสัตวบาลเป็นส่วนประกอบ
ของงานที่แผนกวิชาสัตวบาล ได้ปฏิบัติอยู่คู่กับงานสอนและฝึกหัดนิสิต ตั้งแต่เริ่มเปิดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แต่การค้นคว้าทดลองเริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อได้รับความสะดวกในการใช้เครื่องมือ
และมีเจ้าหน้าที่มากยิ่งขึ้นตั้งแต่ปี
พ.ศ.2495 แม้ว่าจะไม่มีผลงานสำคัญปรากฏเด่นชัดนักก็ตาม แต่นับว่าเป็นการเริ่มต้นสร้างรากฐานและได้แก้ปัญหาใน
การเลี้ยงสัตว์มาได้พอประมาณ แต่อุปสรรคสำคัญในการค้นคว้าทางสัตว์ คือ งบประมาณที่ไม่เพียงพอ
แต่แผนกวิชา
สัตวบาลในขณะนั้นก็พยายามแก้ไข โดยใช้รายได้บางส่วนจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มาใช้ในการค้นคว้า
ซึ่งอาจารย์
หม่อมได้ปรารภไว้ในรายงานทางวิชาการของแผนกวิชาสัตวบาลเล่มที่หนึ่งและสองของปี
พ.ศ. 2501 โดยขอให้มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ช่วยเหลือในด้านค่าใช้จ่ายในการค้นคว้าวิจัย แน่นอนเงินใช้ค้นคว้าวิจัยในขณะนั้นต้องมาจากเงินส่วน
ตัวอาจารย์หม่อมอย่างแน่นอน (เดาเอานะครับ) นี่เป็นจุดกำเนิดของการประชุมวิชาการสาขาสัตวบาลครั้งที่
1 ณ ตึกเคมี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในวันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2504 ซึ่งมีผู้สนใจและนักวิชาการลงทะเบียนเข้าฟัง
การประชุมรวม 159 คน และมีเรื่องที่เสนอในที่ประชุมรวม 30 เรื่อง ในการประชุมครั้งนี้ก็ให้เกิดประโยชน์ในการ
ปรับปรุงและแก้ปัญหาต่างๆในการเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง และเป็นมูลเหตุของการส่งเสริมและพัฒนา
ให้มีการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อมาอีกจนกระทั่งปัจจุบันนับเป็นครั้งที่
40 (2545)
กำเนิดการเรียนการสอนวิชาชีวเคมีในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
|
คิดว่าหลายคนก็เพิ่งมารู้ว่าวิชาชีวเคมีที่ปัจจุบันนั้นเป็น
ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น
เกิดจากศาสตราจารย์ ม.ร.ว. ชวนิศนดากร วรวรรณ ประเด็นนี้
ผศ.ดร. ยงยุทธ เจียมไชยศรี ได้เขียนเชิดชูวิสัยทัศน์ของอาจารย์
หม่อมไว้ว่า การเรียนการสอนวิชาชีวเคมี ในมหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์ เริ่มต้นเมื่อภาคต้นปีการศึกษา 2499 โดยอาจารย์หม่อมต้อง
การให้นิสิตสัตวบาลชั้นปีที่ 3 ในขณะนั้น (เกษตรรุ่น 14) เรียนวิชา
ชีวเคมี แทนวิชาข้าวด้วยให้เป็นไปตามความต้องการของมหาวิทยาลัย
ซึ่งนิสิตสัตวบาลทั้งหมดในรุ่นนั้นจึงอาสาเรียนโดยไม่เอาหน่วยกิต
และอาสาสอบวัดความรู้ ซึ่งอาจารย์หม่อมต้องเชิญอาจารย์จากภาย
นอกมหาวิทยาลัยมาเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาดังกล่าว จากนั้นไม่
นานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็เริ่มการสอนวิชาชีวเคมี และมี
อาจารย์หลายท่านมาสอนวิชานี้ รวมทั้งเป็นอาจารย์ ดร.ยงยุทธ
เจียมไชยศรี เองที่ท่านได้ร่วมสอนวิชาชีวเคมี อีกทั้งเป็นอาจารย์
ที่ปรึกษาร่วมในวิทยานิพนธ์ของนิสิตปริญญาโท ภาควิชาสัตวบาล
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาอีกจำนวนมาก |
ปัจจุบันภาควิชาชีวเคมี
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ผลิตนักชีวเคมีออกสู่วงการเกษตรและ
อุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งหากไม่ใช่วิสัยทัศน์อันยาวไกลของอาจารย์หม่อมแล้ว
ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คงไม่มีโอกาสเกิดขึ้นมาเพื่อผลิตนักชีวเคมีออกมารับใช้สังคม
ตำราการเลี้ยงโคนมและการเลี้ยงสัตว์ภาษาไทยเล่มแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. ชวนิศนดากร
วรวรรณ ได้เขียนตำราเอกสารทางวิชาการตลอดจนบทความลงเผยแพร่ใน
หนังสือพิมพ์และวารสารต่างๆ โดยเฉพาะบทความที่เป็นความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม
เพื่อส่งเสริมให้คนไทยเลี้ยง
โคนมและรู้จักคุณประ-โยชน์ ตลอดจนรู้จักบริโภคนมตลอดมาตั้งแต่ท่านเริ่มรับราชการ
ในด้านตำรานั้นอาจารย์หม่อม
เป็นครูที่ดี ทุกครั้งที่อาจารย์จะเข้าห้องสอน อาจารย์จะเตรียมการสอนอยางดี
โดยที่ท่านเป็นนักอ่านและค้นคว้าหาความ
รู้ที่ทันสมัยมาสอนเสมอ ฉะนั้นทุกวิชาที่อาจารย์สอนก็จะเขียนเป็นตำราขึ้นมา
ตำราภาษาไทยเล่มแรกของมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ คือ
- การเลี้ยงสัตว์ทั่วไป พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ
พ.ศ. 2495 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- การให้อาหารสัตว์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ
พ.ศ. 2497 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- การเลี้ยงโคนม พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ
พ.ศ. 2498 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- การเลี้ยงแพะนม พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ
พ.ศ. 2519 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- การเลี้ยงกระต่าย พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ
พ.ศ. 2521 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นอกจากนั้นยังมีเอกสารประกอบการสอนวิชาต่างๆ
เช่น วิชาการเลี้ยงสัตว์ วิชาการจัดการฟาร์มโคนม ตลอดจน
เอกสารประกอบการฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมสำหรับประชาชน โดยจัดพิมพ์โดยภาควิชาสัตวบาล
มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ เช่น
- การเลี้ยงดูแม่วัวนม เอกสารเผยแพร่ฉบับที่
1 พ.ศ.2508
- การเลี้ยงดูลูกโคนม เอกสารเผยแพร่ฉบับที่
2 พ.ศ.2508
- อาหารสำหรับวัวนม เอกสารเผยแพร่ฉบับที่
1 พ.ศ.2509
- เทคนิคในการรีดนม เอกสารเผยแพร่ฉบับที่
2 พ.ศ.2509
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตนม
อาจารย์หม่อมเป็นผู้ที่มีความคิดก้าวหน้ามองเห็นการณ์ไกล
ท่านมองว่าวิทยาเขตบางเขนมีการขยายตัว
ในด้านวัตถุคือ อาคารเรียน อาคารวิจัยมากขึ้น ท่านจึงตัดสินใจย้ายฟาร์มโคนมที่อยู่ในวิทยาเขตบางเขนไปยัง
วิทยาเขตกำแพงแสน โดยทยอยย้ายโคนมบางส่วนไปในราวปี พ.ศ.2520-2521 ซึ่งคอกโคที่เป็นคอกเก่าที่ใช้
เลี้ยงวัวพื้นเมือง อีกทั้งคนงานก็เคยรู้จักวัวนมมาก่อน รวมทั้งยังไม่เคยรีดนมมาก่อนด้วย
ฉะนั้น ท่านจึงเริ่ม
พัฒนาฟาร์มโคนมที่วิทยาเขตกำแพงแสนโดยนำน้ำเชื้อแข็งของพ่อโคนมขาวดำผสมกับแม่วัวบราห์มันที่ไร่ฝึก
ศรีราชา แล้วนำลูกโคตัวเมียไปเลี้ยงต่อที่กำแพงแสน ต่อมาก็ผสมให้มีเลือดวัวนมขาวดำสูงขึ้น
ต่อมาได้ย้ายวัว
นมทั้งฝูงไปยังกำแพงแสน โดยท่านเป็นอาจารย์อาวุโสคนแรกที่ไปปฏิบัติงานประจำที่กำแพงแสน
ที่วิทยาเขตกำแพงแสนนี่เอง
แนวทางการเลี้ยงและการส่งเสริมโคนม รวมทั้งการการทำผลิตภัณฑ์นม
พาสเจอไรซ์ก็เริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกษตรกรรอบวิทยาเขตกำแพงแสนเห็นความสำคัญของโคนม
จนกระทั่ง
เกิดโครงการโคนมที่ทุ่งลูกนมประมาณปี พ.ศ.2530-31 นอกจากนั้น อาจารย์หม่อมยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการจัดตั้ง
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตนม ซึ่งเป็นศูนย์ที่มุ่งเน้นการวิจัยโคนมในสาขาต่างๆ
และเพื่อเป็นแนวทางในการ
พัฒนาอาชีพในการเลี้ยงโคนมโดยรอบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่วิทยาเขตกำแพงแสน
โดยท่านดำรงตำแหน่ง
หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตนม เป็นคนแรก
ท่านเป็นผู้บุกเบิกงานด้านสัตว์ให้นม
หลังจากที่อาจารย์หม่อมนำโคนมพันธุ์เจอร์ซี่จากประเทศ
ออสเตรเลีย เข้ามาเลี้ยงในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ได้ไม่
นาน ประมาณกลางปี พ.ศ. 2500 อาจารย์หม่อมได้เล็งเห็นว่า
สัตว์ให้นมอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ คือ กระบือนม ท่านจึงเริ่ม
สอบถามและเริ่มสำรวจโดยชวน รศ.ดร.สมเกียรติ ทิมพัฒนพงศ์
ลงไปในเขตจังหวัดสงขลา ปัตตานี และยะลา แต่ปรากฏว่ามีเลี้ยง
กันไม่มากนัก แต่ด้วยความร่วมมือและคำแนะนำอย่างดีจาก
คุณพนัส ณ. นคร สัตวแพทย์ภาค 9 จังหวัดสงขลาในขณะนั้น เป็น
ผู้นำพาไปเลือกซื้อกระบือนมพันธุ์มูร่าห์จากชานเมืองกัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซีย โดยที่อาจารย์หม่อมสามารถซื้อกระบือมูร่าห์มาได้
7 ตัว (เพศผู้ 2 ตัว เพศเมีย 5 ตัว) ซึ่งอาจารย์หม่อมนำกระบือทั้ง 7
ตัวมาเองพร้อมคุณพนัส โดยกระบือทั้งหมดต้องพักอยู่ที่ด่านกัก
สัตว์หาดใหญ่เป็นเวลา 2 วัน เที่ยวนี้อาจารย์ไม่ได้ควบคุมกระบือ
ขึ้นมากรุงเทพฯเองนะครับ แต่เป็น รศ.สมเกียรติ ทิมพัฒนพงษ์
เป็นผู้ที่คอยดูแลให้น้ำให้อาหารกระบือเหล่านั้นจนมาถึงกรุงเทพฯ
ส่วนอาจารย์หม่อมเดินทางล่วงหน้ามาก่อนแล้ว |
 |
ส่วนแพะนมอาจารย์หม่อมได้รับมอบหมายให้ควบคุมโครงการแพะนม
โดยอาจารย์ได้ดำเนินการสั่งแพะพันธุ์นมพันธุ์
ซาเนน จากประเทศเดนมาร์ค มาทดลองเลี้ยงที่เกษตรกลาง บางเขน โดยเลี้ยงร่วมกับแพะนมที่มีอยู่แล้ว
เพื่อส่งเสริมให้
ประชาชนรอบๆ เขตกรุงเทพมหานครรู้จักการดื่มนมสด ซึ่งอาจารย์หม่อมได้รับมอบหมายจากอาจารย์หลวงสุวรรณวาจกสิกิจ
ให้ควบคุมดูแลโครงการแพะนมของภาควิชาสัตวบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2496 จนถึง พ.ศ.
2506 ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ภาควิชาสัตวบาล
ในขณะนั้นมีสัตว์ให้นม 3 ชนิด ซึ่งเป็นยุคที่เริ่มต้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับสัตว์ให้นม
แต่เมื่อความนิยมในการบริโภคนม
โคมีมากกว่านมกระบือ ทำให้พื้นที่การเลี้ยงกระบือฝูงนี้ลดลง ต่อมาจึงขายกระบือฝูงนี้ทั้งฝูงให้กับแขกที่เลี้ยงโคเมื่อประมาณปี
พ.ศ. 2510
ผู้บุกเบิกการวิจัยด้านสรีรวิทยาสิ่งแวดล้อมต่อโคนม
(Environmental physiology of dairy cattle)
อาจารย์หม่อมได้ตระหนักถึงความสำคัญของสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่เป็นแบบร้อนชื้น
อันจะเป็นผลต่อชีวิต
ความเป็นอยู่ของโคนมที่นำเข้ามาจากประเทศในเขตหนาว ซึ่งจากประสบการณ์ในการเลี้ยงดูโคนมพันธุ์เจอร์ซี่จากประเทศ
ออสเตรเลีย ท่านได้เขียนรายงานเรื่องปัญหาการเลี้ยงวัวในประเทศร้อน ซึ่งเสนอต่อที่ประชุมประจำปีทางวิชาการสาขาวิชา
สัตวบาลและโรคสัตว์ ครั้งที่ 1 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ระหว่างวันที่
7-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2504 ซึ่งได้กล่าวถึง
ฝนฟ้าอากาศที่มีผลกระทบต่อโครีดนม อันเป็นผลเนื่องมาจากความผิดปกติในทางสรีรวิทยาของสัตว์
ทำให้โคกินอาหารได้
ลดลง เพราะฉะนั้นอาจารย์หม่อมจึงเริ่มศึกษาถึงการตอบสนองทางสรีรวิทยาต่ดสภาพภูมิอากาศของโคนมในประเทศไทยใน
ปี พ.ศ.2509 ในหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาตรีและปริญญาโท คือ
- ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของร่างกาย
จำนวนเฮโมโกลบินกับอัตราเจริญเติบโตของวัวลูกผสมโดยเชื้อพ่อ
โฮลสไตน์และเบราน์สวิส (พ.ศ.2509)
- ปฏิกิริยาทางการเติบโตและสรีระวิทยาขั้นมูลฐานของโคลูกผสมโฮลสไตน์และเบราน์สวิส
ระดับสายเลือกต่างๆ
ต่อสภาพอากาศและการเลี้ยงดูในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บางเขน (พ.ศ.2523)
- ผลของอุณหภูมิแวดล้อมที่มีผลต่อปฏิกิริยาทางสรีระวิทยาของโคให้นม
(พ.ศ.2523)
นับได้ว่าอาจารย์หม่อมได้เล็งเห็นว่าสภาพอากาศร้อนชื้นในเมืองไทยนั้น
จำเป็นต้องปรับปรุงการจัดการบางอย่าง
เพื่อให้โคนมอยู่ได้อย่างเป็นสุข เพื่อจักได้แสดงความสามารถในการให้นมอย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนั้นแล้วผลของ
การวิจัยของอาจารย์หม่อม ยังเป็นแนวทางในการค้นคว้าในเรื่องของการลดความเครียดจากความร้อน
(Heat stress) ต่อไป
ผู้บุกเบิกการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อแข็ง
ผลงานบางอย่างที่ รศ. ประเสริฐ
เจิมพร กล่าวถึงอาจารย์หม่อม คือ การทดลองเริ่มใช้น้ำเชื้อแข็งของโคนมและ
โคเนื้อเป็นผลสำเร็จครั้งแรกในปี พ.ศ. 2508 ในประเทศไทย ผลของการทดลองนี้ได้ก่อประโยชน์ให้กับงานปรับปรุง
พันธุ์โคนมและโคเนื้ออย่างมีประสิทธิภาพกล่าวคือ ประเทศไทยได้นำเข้าน้ำเชื้อแข็งจากต่างประเทศเข้ามาใช้ใน
ประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2506 หลังจากนั้นการใช้น้ำเชื้อแช่แข็งผสมกับโคนแม่พันธุ์ในประเทศก็เพิ่มขึ้น
พร้อมด้าน
การพัฒนาสายพันธุ์โคนมและโคเนื้อของประเทศไทยได้รุดหน้าก้าวไกลจนสามารถผลิตน้ำเชื้อพันธุ์โคนมและโคเนื้อ
ในรูปน้ำเชื้อแช่แข็งไว้ใช้เองในประเทศและสามารถส่งจำหน่ายต่างประเทศได้ในปัจจุบัน
ผู้บุกเบิกรณรงค์เพื่อการบริโภคนมสด
ในสมัยที่อาจารย์หม่อมดูแลกิจการฟาร์มโคนมนั้น
คนไทยยังดื่มนมสดกันน้อยมาก คือ พออดนมแม่ ก็รู้จัก
แต่นมข้นหวาน จะเริ่มดื่มนมอีกครั้งก็ตอนโตแล้ว ซึ่งมักพบปัญญาเรื่องท้องเดิน
เพราะไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตส
ได้ นอกจากนั้นราคานมก็แพงอีก แต่ด้วยความเป็นนักคิดริเริ่มของอาจารย์หม่อม
ซึ่ง ดร.สุนทราภรณ์ รัตนดิลก ณ
ภูเก็ต ได้เล่าว่า "เดรี่ฮัท" และ "เดรี่ควีน" ได้ถูกสร้างขึ้นโดยมี
อาจารย์สมเกียรติ ทิมพัฒนพงษ์ เป็นคนออกแบบร้าน
ตอนแรกขายแต่นม เนย และไอสครีมเท่านั้น แต่ก็เป็นผลิตภัณฑ์จากโรงนมของเกษตรเรา
รวมทั้งจากห้องปฏิบัติการ
นมที่นิสิตได้เรียนรู้ โดยเฉพาะไอสครีมนั้น ได้รับคำชมจากคนในวังของท่านจักรพันธ์
(หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
จักรพันธ์) อย่างไรก็ตามอาจารย์หม่อมยังแนะนำให้ขายอาหารและขนมอย่างอื่นด้วย
ซึ่งต่อมาพี่นง (คุณนงลักษณ์
วรวรรณ ภรรยาของอาจารย์หม่อม) เป็นผู้ทำอาหารกลางวันมาทดลองขาย พอคนเริ่มติดใจทั้งรสชาติของผลิตภัณฑ์
นมและอาหาร ก็มีคนภายนอกมาทำกิจการแทน ซึ่งในอดีตนั้นร้านเดรีควีนอยู่ตรงประตู
2 เยื้องกับตึกหอประวัติ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ตึกสัตวบาล) แต่ปัจจุบันกิจการของเดรีควีนได้หลุดออกจากรั้วหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ไปนานแล้ว ไม่รู้ว่าเจ้าของร้านเดรีควีนในปัจจุบันจะรู้มั๊ยว่า ชื่อ "เดรีควีน"
นี้มาจากฝีมือของอาจารย์หม่อม ซึ่งอาจารย์
ท่านคงไม่ว่ากระไรที่ชื่อร้านที่ท่านตั้งขึ้นนั้น ได้สร้างความมั่งคั่งแก่บุคคลอื่นนอกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แต่ขอให้
ระลึกถึงท่านบ้างนะครับ
จะมีใครสักกี่คนที่ทราบว่า
การเลี้ยงโคนม การส่งเสริมการเลี้ยงโคนม อุตสาหกรรมการผลิตนม รวมทั้งการส่ง
เสริมการดื่มนมเพื่อสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะโครงการนมโรงเรียน ได้เกิดอย่างเป็นระบบมาตั้งแต่สมัยอาจารย์
หม่อมทั้งสิ้น การรณรงค์เพื่อการบริโภคนมสดนั้น ไม่ใช่เพิ่งจะมาเกิดเมื่อไม่กี่ปีนี้
แต่เพราะโรงนมมหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์นี่แหละที่ทำให้ความนิยมดื่มนมสดอย่างแพร่หลาย เกิดโรงงานผลิตน้ำนมขึ้นมาจนทำให้ผู้ซื้อมีโอกาสดื่มนมสด
มากยิ่งขึ้น ในสมัยเริ่มแรกนั้นโรงนมเกษตรได้รับน้ำนมสดจากเกษตรกรรายย่อยที่มาขอรับบริการส่งเสริมจากอาจารย์
หม่อม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟาร์มโคนมของชาวฮินดู ที่อาจารย์สามารถเข้าไปควบคุมความสะอาดโดยเฉพาะสุขภาพสัตว์ได้
นอกจากนั้นฟาร์มโคนมไทยเดนมาร์ค (อสค. ในปัจจุบัน) ก็ส่งนมสดมาเข้าขบวนการผลิตอีก
ในระหว่างปี พ.ศ.2504-05
อาจารย์หม่อมยังช่วยเหลือในการจัดตั้งสหกรณ์โคนมอยุธยา ซึ่งต่อมาน้ำนมบางส่วนมาจากสหกรณ์โคนมอยุธยาและ
บางครั้งจากสหกรณ์หนองโพก็มาเข้าขบวนการผลิตที่โรงนมเกษตร
ผู้บุกเบิกการฝึกงานนิสิตเกษตรและสร้างไร่ฝึก
อาจารย์หม่อมเล็งเห็นว่าการรับนิสิตเข้าศึกษาในคณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากเดิมรับผู้จบจาก
วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้มาเป็นรับจากผู้ที่สำเร็จชั้นเตรียมอุดมศึกษา (ม.8)
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 นั้น นิสิตจะขาด
ประสบการณ์ในด้านการเกษตรกรรมมาก่อน จึงเริ่มให้นิสิตเริ่มฝึกงาน โดยระยะแรกนั้นอาจารย์หม่อมได้ติดต่อกับกรม
ปศุสัตว์และหัวหน้าสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง สระบุรี โดยขอใช้ส่วนหนึ่งของสถานีในการฝึกงานนิสิต
จนกระทั่งได้
เริ่มก่อสร้างสถานีฝึกงานนิสิตเกษตรที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยที่กระทรวงมหาดไทยได้มอบที่ดินจำนวน
300 ไร่
ซึ่งเป็นที่รกร้างเชิงเขา และได้เริ่มฝึกนิสิตตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา
แต่ด้วยเหตุที่มหาวิทยาลัยได้รับนิสิตเกษตรมาก
ขึ้นทุกปี สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวางและสถานีฝึกนิสิตศรีราชาไม่เพียงพอ
รวมทั้งที่ศรีราชานั้นเป็นพื้นที่ดินทรายซึ่ง
เหมาะกับการเพาะปลูกพืชทนแล้งบางชนิดเท่านั้น อาจารย์หม่อมจึงเริ่มเสาะแสวงหาสถานีใหม่
โดยได้รับความร่วมมือกับ
ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองทับกวาง จังหวัดสระบุรี ทำให้กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
มอบที่ดินของนิคมฯ
ประมาณ 100 ไร่ (ต่อมาขยายเป็น 300 ไร่) สร้างเป็นสถานีฝึกนิสิตเกษตรทับกวาง
ซึ่งอยู่ห่างจากปากทางเข้านิคมฯ ประมาณ
8 กม. และเริ่มฝึกนิสิตตั้งแต่ พ.ศ.2504 เป็นรุ่นแรก

ตั้งแต่อาจารย์หม่อมได้ริเริ่มให้นิสิตเกษตรมีการฝึกงานเป็นครั้งแรกเมื่อ
พ.ศ. 2498 ตั้งแต่นั้นมามหาวิทยาลัย
ให้ความสำคัญของการฝึกงานนับเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนที่บรรจุในหลักสูตร
และยังเป็นแบบอย่างให้
มหาวิทยาลัย วิทยาลัยและสถาบันการศึกษาอื่นๆทางการเกษตร ดำเนินตามอย่างไร่ฝึกฯศรีราชาและทับกวาง
ซึ่งทั้งสอง
แห่งนี้ยังเป็นที่ฝึกงานนิสิตเกษตรจนถึงปัจจุบัน ฉะนั้นใครที่ได้ประสบการณ์จากการฝึกงาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง
ความรักระหว่างฝึกงานก็ขอให้คิดถึงอาจารย์หม่อมชวนิศด้วย
คุณูปการที่ศาสตราจารย์หม่อมราชวงศ์
ชวนิศนดากร วรวรรณ ได้มอบไว้แก่วงการโคนมและอุตสาหกรรม
โคนมรวมทั้งการส่งเสริมการบริโภคนม เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขอยกย่องท่านให้เป็น
"บิดาแห่งศาสตร์
การเลี้ยงโคนมของชาติ" เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลของท่าน แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และแก่ชาติไทยสืบ
ต่อไป
ชีวิตในวัยต่างๆ
วัยเด็กของอาจารย์หม่อม
ชีวิตในวัยเด็กของศาสตราจารย์หม่อมราชวงศ์
ชวนิศนดากร วรวรรณนั้น พบว่า แม้ท่านจะมีฐานันดรถึง
หลานชายของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ก็ตาม แต่ด้วยนิสัยโดยพื้นฐานของอาจารย์
หม่อมที่รักการผจญภัยโลดโผนดังบทสัมภาษณ์ของคุณนงลักษณ์ (ภรรยาของอาจารย์หม่อม)
ที่ว่าในวัยเด็กอาจารย์
หม่อมมักจะชอบโหนเชือกจากหน้าต่างบ้านตัวเองไปยังบ้านของท่านลุงซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก
ทำให้ชาวบ้านบริเวณ
ถนนสีลมในขณะนั้นทราบถึงความรักในการผจญภัยของท่าน รวมทั้งการที่ท่านได้อ่านหนังสือ
"กสิกร" ซึ่งจัดว่าเป็น
หนังสือที่ให้สาระต่างๆเกี่ยวกับการเกษตรในขณะนั้น ยิ่งทำให้ท่านมีความคิดและริเริ่มใกล้ชิดกับการเกษตรมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างที่อาจารย์หม่อมเรียนอยู่ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์นั้น
ท่านได้ซื้อลูกเป็ดมาเลี้ยงที่บ้าน
ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มความรู้สึกและความอยากรู้อยากเห็นในกิจการเลี้ยงสัตว์มากขึ้น
เมื่อท่านสำเร็จมัธยมต้น
(ม.6) แล้วนั้น อาจารย์หม่อมที่มีจิตใจที่มุ่งมั่นในเรื่องการเกษตรโดยเฉพาะใน
เรื่องการเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว ท่านตัดสินใจไปเรียนที่โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่แม่โจ้
เชียงใหม่ นี่แหละ
เป็นการเริ่มต้นการเลี้ยงสัตว์อย่างแท้จริงของเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่เป็นถึงลูกเจ้าลูกนาย
ทำให้พี่น้องของท่านซึ่งทุกคน
เรียนทางด้านวิศวกรรมและการแพทย์ถึงกับแปลกใจว่า ทำไมจึงได้เลือกทางเกษตร
และโดยสภาพทั่งๆไปของแม่โจ้
เชียงใหม่นั้นยังเป็นป่าธรรมชาติ ห่างไกลความเจริญมาก แต่ฟ้าได้ลิขิตทางเดินของอาจารย์หม่อมไว้แล้ว
ท่านจึงไป
เรียนที่แม่โจ้ ขณะนั้นท่านอายยุเพียง 16 ปีเท่านั้น การศึกษาที่แม่โจ้นั้นใช้เวลา
2 ปี ซึ่งอาจารย์หม่อมได้พิสูจน์ให้เห็น
ว่าท่านสามารถใช้ชีวิตอย่างสามัญชนจะทำได้ท่านกลางสภาพไม่มีน้ำประปา ไม่มีไฟฟ้า
มีแต่ไม้ป่าเป็นรางวัล ซึ่งท่านก็
จบจากแม่โจ้ด้วยผลการเรียนที่ดีมาก จนกระทั่งเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อปี
พ.ศ.2485 เป็นรุ่นที่ 1 ใน
หลักสูตรกสิกรรมและสัตวบาล ซึ่งต้องใช้เวลาเรียน 5 ปี
เมื่อท่านจบกสิกรรมและสัตวบาล
(เกียรตินิยม) แล้ว ท่านได้ใช้ชีวิตการเป็นเกษตรกรจริงๆ โดยปลูกพืช
เลี้ยงสัตว์อยู่อำเภอปากช่อง นครราชสีมา แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
จากบทสัมภาษณ์คุณนงลักษณ์ วรวรรณ
ทำให่เข้าใจว่า พ่อค้าคนกลางกดราคาพืชผลมาก ซึ่งมีผลต่อกิจการฟาร์มของท่าน
จนกระทั่งหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ
ได้บาททามให้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2492
ชีวิตครอบครัว
อาจารย์หม่อมได้พบกับคุณนงลักษณ์
อมาตยกุล ณ อยุธยา ซึ่งเป็นญาติห่างๆ กล่าวคือ หลังจากที่อาจารย์หม่อม
บรรจุเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว ไม่นานท่านก็ได้หมั้นกับคุณนงลักษณ์ก่อนที่ท่านจะได้เดินทางไป
ศึกษาดูงานที่ประเทศออสเตรเลีย คุณนงลักษณ์ได้บอกความในใจกับความประทับใจในตัวอาจารย์หม่อมว่า
เพราะ
ความใกล้ชิดทำให้กลายเป็นความรักในที่สุด จนกระทั่งได้แต่งงานกันในปี พ.ศ.2495
โดยที่เป็นญาติห่างๆ กันทำให้
คุณนงลักษณ์มั่นใจว่า อาจารย์หม่อมจะไม่ทิ้ง ด้วยสาเหตุที่ว่าอาจารย์หม่อมมักเรียกคุณนงลักษณ์ว่า
"น้อง" สำคัญที่สุด
ในชีวิตอาจารย์หม่อมและคุณนงลักษณ์ก็คือ ความซื่อสัตย์ โดยที่อาจารย์หม่อมจะไม่พูดปด
โดยถือว่าหากพูดไปแล้วจะ
ทำให้เกิดความไม่สบายใจ แต่อาจารย์หม่อมก็เป็นคนน่าเคารพ เป็นผู้ดี และไม่บ่น
ไม่ปดมาตลอด นอกจากนั้นความ
ศรัทธาในตัวอาจารย์หม่อมที่คุณนงลักษณ์ได้กล่าวไว้อีกประการหนึ่งคือ ความมีเพื่อนมาก
ลูกศิษย์มาก และทุ่มสุดตัว
หากเป็นเพื่อนหรือลูกศิษย์ ในทางตรงกันข้าม ทั้งเพื่อนๆและลูกศิษย์ก็เคารพนับถือท่านมาตลอด
ซึ่งอานิสงส์นี้ ตัวคุณ
นงลักษณ์เองก็ได้รับมาด้วย โดยที่ลูกศิษย์ลูกหายังให้ความเคารพคุณนงลักษณ์อย่างดีมาตลอด
จนถึงปัจจุบัน
ชีวิตความเป็นครู
หลายๆ คนที่เคยเรียนกับศาสตราจารย์หม่อมราชวงศ์
ชวนิศนดากร วรวรรณ คงจะจำได้ ทุกครั้งที่อาจารย์
หม่อมเข้าห้องเรียน ตั้งแต่วินาทีแรกจนวินาทีสุดท้ายของชั่งโมงการสอนนั้น
ท่านจะทุมเทความรู้ ความสามารถ
ของท่านถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้กับลูกศิษย์ ด้วยน้ำเสียงที่ดังแต่แฝงไปด้วยความเมตตา
ที่ต้องการให้ลูก
ศิษย์ได้เข้าใจในเนื้อหาที่ท่านได้บรรยาย ลูกศิษย์ลูกหาของท่านคงจะจำได้ว่า
ทุกครั้งที่ท่านเข้าสอนในห้องเรียน
ท่านจะเดินเข้าห้องเรียนโดยไม่ถือตำราเข้าสอนเลย มีแต่ชอล์กเอาไว้เขียนบนกระดานเท่านั้น
แล้วท่านก็บรรยาย
ให้ลูกศิษย์ฟัง โดยถ่ายทอดจากจิตวิญญาณในวิชาชีพการเลี้ยงโคนม อีกประการหนึ่งคือ
ข้อสอบที่ท่านให้ลูกศิษย์ตอบ
ในห้องสอบนั้นจัดเป็นข้อสอบที่ยากถึงยากมาก นิสิตจะบ่นกันแทบทุกคน แต่อาจารย์จะกล่าวเพียงสั้นๆว่า
"พวกคุณ
ไม่อ่านหนังสือมาสอบกันเอง" หลายๆ คนก็กล้ายืนยันว่าจริง เพราะได้เกรดในวิชาโคนมแค่
D+ ทั้งที่อ่านหนังสือมา
สอบ (แต่อ่านน้อยไปหน่อยเท่านั้น) ซึ่งอาจารย์หม่อมมักจะกล่าวตำหนินิสิตที่ไม่ค่อยเข้าเรียน
แต่ท่านก็ไม่เคยคิด
ร้ายกับนิสิตเลย ท่านยังคงบรรยายในห้องเรียนด้วยความเปรื่องปราชญ์เพื่อให้ลูกศิษย์เข้าใจต่อไป
แม้อาจารย์จะ
ไม่เคยเปิดตำราสอนนิสิตเลย แต่ท่านก็ได้เขียนตำรา "การเลี้ยงโคนม"
ซึ่งเป็นตำราเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมเล่ม
แรกของประเทศไทย ฉะนั้นนิสิตและเกษตรกรทั่วๆไปก็สามารถหาอ่านได้ ซึ่งภาควิชาสัตวบาลกำลังปรับปรุงตำรา
ของท่านให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
จากบทสัมภาษณ์ของอาจารย์ทินกร
คมกฤษ อดีตผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
ตอนหนึ่งว่า ความศรัทธาในตัวอาจารย์หม่อม คือ อยากเรียนรู้เรื่องโคนมนั้นเกิดขึ้นเมื่ออาจารย์ทินกรยังเรียนอยู่
ชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดม โดยท่านเห็นภาพและบทความของอาจารย์หม่อมในหนังสือ
"กสิกร" ทำให้
เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า เพราะชื่นชมในบุคลิกของท่าน รวมทั้งได้ฟังจากลูกศิษย์อาจารย์หม่อมที่เล่าให้ท่านฟัง
จึง
ทำให้เลือกเรียนสัตวบาล ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น แล้วก็พบว่าอาจารย์หม่อมสอนดี
ทั้งการสอนให้
นิสิต แม้แต่การบรรยายให้เกษตรกรฟังในระหว่างการอบรมการเลี้ยงโคนม
กล่าวโดยสรุปศาสตราจารย์หม่อมราชวงศ์
ชวนิศนดากร วรวรรณ ท่านเป็นอาจารย์ที่สนใจ ห่วงใยต่อการ
ศึกษาของนิสิตสัตวบาลทุกคน เป็นบูรพาจารย์ที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรมและความเป็นครูอย่างแท้จริง
คุณค่าของงานและชีวิตที่ฝากไว้กับแผ่นดิน
จากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรีที่อาจารย์หม่อมได้ศึกษาขณะที่ท่านเป็นนิสิตในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ท่านได้ศึกษาเรื่อง "ภาวะการเลี้ยงโคนมในพระนครและธนบุรี" ทำให้ทราบว่าอาจารย์หม่อมสนใจการเลี้ยงโคนม
อย่างจริงจัง โดยท่านเข้าไปศึกษาสำรวจฟาร์มโคนมในเขตตำบลวัดไซ จังหวัดธนบุรี
และบางกะปิ คลองเตย ทุ่ง
วัดดอน สามเสนใน พญาไท ลาดยาว และหลักสี่ในจังหวัดพระนคร ตั้งแต่เดือนมกราคม
พ.ศ. 2487 ถึงพฤศจิกายน
พ.ศ. 2488 จากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ทำให้เข้าใจว่าเป็นแรงบันดาลใจให้อาจารย์หม่อมติดพันการเลี้ยงโคนมมาตลอด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านเข้ามารับราชการในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้เล็งเห็นว่าตัว
ท่านเองศึกษาเรื่องไก่ ฉะนั้นท่านจึงแนะนำให้อาจารย์หม่อมศึกษาเรื่องโคนม
ซึ่งจากคำแนะนำดังกล่าว ศาสตราจารย์
หม่อมราชวงศ์ ชวนิศนดากร วรวรรณ ก็ใช้เวลาตลอดชีวิตของท่านพัฒนาการเลี้ยงโคนมจนเป็นอาชีพที่มั่นคงอย่าง
หนึ่งในอาชีพเกษตรกรรมของประเทศไทย
จิตวิญญาณในอาชีพการเลี้ยงโคนม
หลังจากที่อาจารย์หม่อมกลับจากการศึกษาดูงานในประเทศออสเตรเลีย
ท่านได้นำโคนมพันธุ์เจอร์ซี่มาเลี้ยง ณ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท่านเป็นผู้ควบคุมดูแลโคนมฝูงดังกล่าวโดยมีนิสิตสัตวบาลเป็นผู้ช่วยเลี้ยง
(trainee)
ซึ่งแน่นอนการคลุกคลีกับโคนมนั้นต้องการความเอาใจใส่และใกล้ชิดอย่างมาก เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมบางคนยัง
เคยพูดว่า "ไม่เคยดูแลเมีย (ภรรยา) อย่างนี้มาก่อน" จะเห็นได้ชัดจากอาจารย์หม่อม
ซึ่งท่านเองก็มีครอบครัวที่อบ
อุ่นแล้ว แต่ด้วยความรับผิดชอบต่อฝูงโคนมที่เป็นเสมือนหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว
ท่านได้ตัดสินใจย้ายบ้านจาก
บ้านสีลมมาพักอยู่ในบ้านของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งอยู่ในบริเวณพุทธเกษตรในปัจจุบัน
โดยท่านมองว่าท่านได้
รวมของรักทั้งหมดของท่านมาไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งท่านก็สามารถดูแลครอบครัวของท่านซึ่งขณะนั้นพยานรักทั้งสามคนก็
ได้เข้ามาอยู่ใน "บ้านคอกวัว" ซึ่งอาจารย์หม่อมมักเรียกบ้านของท่านเช่นนี้
กล่าวคือ บ้านคอกวัวของท่านอยู่ห่างจากคอก
โคแค่เดินสามก้าวหรือจะขี่จักรยานไปภาควิชาสัตวบาลก็ใช้เวลาเพียง 5 นาที
การที่ท่านได้อาศัยอยู่ติดคอกโคนม
ทำให้ท่านนั้นนอกจากอยู่ใกล้ชิดครอบครัวแล้ว ท่านยังสามารถดูแลฟาร์มโคนมของมหาวิทยาลัยได้อย่างครบถ้วน
สมบูรณ์คือตั้งแต่ตี 5 เป็นต้นไป ใครที่แวะเวียนผ่านคอกโคนมก็จะเห็นอาจารย์หม่อมอยู่ในคอกโคนม
ซึ่งจะฝึกนิสิต
หรือควบคุมวิทยานิพนธ์ แม้ว่าฟาร์มโคนมจะย้ายไปยังวิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
อาจารย์หม่อมก็ยังตามไป
โดยมีบ้านพักอยู่ในวิทยาเขตกำแพงแสน จากบทความของ รศ.ดร.สำอาง ศรีนิลทา ในหนังสือ
20 ปีกำแพงแสน
อาจารย์สำอางได้เขียนไว้ว่า บริเวณบ้านพักอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในช่วงกลางคืนเวลาประมาณ
04.00 น. ท่านจะได้ยิน
เสียงรถจักรยานยนต์วิ่งออกไปจากบริเวณบ้านพักใกล้เคียงแทบทุกคืน และได้ทราบภายหลังว่าเจ้าของเสียงรถ
จักรยานยนต์คันดังกล่าวก็คือศาสตราจารย์หม่อมราชวงศ์ ชวนิศนดากร วรวรรณ นั่นเอง
อีกครั้งหนึ่งก็ตอนที่อาจารย์หม่อม
ไปต้อนวัวเข้าคอก ซึ่งท่านเกรงว่าอาจจะไม่มีใครต้อนโคฝูงดังกล่าวเข้าคอก
ท่านจึงไปต้อนวัวเข้าคอกเลี้ยงเอง ซึ่งวันนั้นเป็น
วันที่มีพายุฝนตกกระหน่ำอย่างแรง แต่ท่านก็มิได้สนใจว่าฝนตกจะรุนแรงเพียงใด
นี่เป็นความเสียสละอย่างหนึ่งของท่านต่อการเลี้ยงโคนม
ซึ่งยังมีอีกหลายเรื่องที่ท่านฝากไว้กับแผ่นดินไทย เช่น
การที่ท่านได้ควบคุมดูแลฟาร์มของมหาวิทยาลัยเอง ทำให้ท่านรอบรู้แตกฉาน ยิ่งไปกว่านั้นท่านไม่ได้รอบรู้แค่ฟาร์ม
ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น บทบาทของการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมก็เป็นบทบาทหนึ่งของท่านที่จะนำผลการทดลองวิจัยใน
ฟาร์มของโคนมของหน่วยงานราชการ ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมแก่ฟาร์มโคนมของเกษตรกรทั่งในกรุงเทพมหานคร
และต่างจังหวัด และตัวอาจารย์หม่อมจะเป็นผู้เดินทางไปยังฟาร์มโคนมต่างหรือสหกรณ์โคนมต่างๆ
นอกจากนั้นการแปรรูป
น้ำนมและการส่งเสริมการบริโภคนมเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญ โรงนมแห่งแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็เป็นสิ่งที่
พิสูจน์ได้ว่า อาจารย์หม่อมเห็นว่าการมีโรงงานนมที่สะอาดและทันสมัยในขณะนั้นจะช่วยรองรับการผลิตและบริโภคนม
โดยเฉพาะการบริโภคนมในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของนิสิตตั้งแต่เกิดโรงนม จนกระทั่งเมื่อไหร่ไม่ทราบแน่นอน
จะพบว่าเมื่อเปิดฝาจุดขวดนมจะเห็นไขมันนมติดบริเวณฝาจุกขวดนมนั้น นอกจากนั้นขวดนมขนาดบรรจุ
200-250 ลบ.ซม.
เป็นขวดแก้วมีข้อความ "ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร" อยู่ด้วยซึ่งเน้นว่าภาควิชาสัตวบาล
มุ่งสร้างโภชนาการที่ดีแก่นิสิต
และประชาชนโดยทั่วไปอย่างแท้จริง ที่สำคัญคือเป็นนมสดจากแม่โคนมในประเทศไทย
ซึ่งปัจจุบันการทำนมพร้อมดื่มตาม
โครงการนมโรงเรียน ก็ไม่ต่างไปจากที่อาจารย์หม่อมได้ประสบความสำเร็จไปแล้ว
แต่โครงการนมโรงเรียนของรัฐบาลใน
ปัจจุบันจะใช้นมสด เช่นเดียวกับที่อาจารย์หม่อมใช้หรือไม่ ยังเป็นคำถามอยู่
จากคำแนะนำของอาจารย์หม่อมที่ว่า
"คนไทยต้องเลี้ยงโคนม เพราะโคนมกินหญ้าที่คน (มนุษย์) ไม่กิน แล้วเปลี่ยน
มาเป็นนมที่มีคุณค่าทางอาหารแก่มนุษย์ ไม่เหมือนสัตว์อื่นที่แย่งคนกิน"
และอีกคำหนึ่ง "เลี้ยงโคนมต้องมีทุ่งหญ้า เพื่อให้
โคได้กินอาหารหยาบที่มีคุณภาพ" จากคำแนะนำดังกล่าวจะเห็นว่า อาหารหยาบพวกหญ้านั้นเป็นอาหารหยาบที่สำคัญของ
โคนม และเป็นตัวชี้วัดต้นทุนการผลิตนมที่สำคัญตัวหนึ่งด้วย และเป็นดัชนีชี้บอกถึงระบบการประกันคุณภาพการผลิตโคนม
ไทยเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคในการแข่งขันของตลาดเสรีโลกปัจจุบัน บนพื้นฐานของคำว่า
Animal Welfare ของ
ระบบการเลี้ยงโคนมของชาติ ซึ่งอาจารย์หม่อมได้ให้ความสำคัญตลอดมา
คำนิยม
ประวัติศาสตราจารย์หม่อมราชวงศ์
ชวนิศนดากร วรวรรณ ได้สำเร็จลุล่วงอย่างดีเยี่ยมตามเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ในโอกาสครบรอบ 60 ปี ก็ด้วยรายงาน คำกล่าวเอกสารสารคดีต่างๆจากอาจารย์และลูกศิษย์อาจารย์หม่อมทั้ง
หลายเช่นจาก ศาสตราจารย์ชวนชม จันทระเปารยะ อาจารย์พลทิพ โกมารกุล ณ นคร
รศ.ดร. ทวี หอมชง อาจารย์บุญเหลือ
เร่งศิริกุล รศ. สมเกียรติ ทิมพัฒนพงศ์ ผศ.ดร. ยงยุทธ์ เจียมไชยศรี และอีกหลายท่านที่ไม่ได้กล่าวนามมา
. คณะผู้เขียน
(ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ขอกราบขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
รวมทั้งความกรุณาที่
คุณนงลักษณ์ วรวรรณ อาจารย์ทินกร คมกฤช ที่ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความเป็นครูและความเป็นนักวิชาชีพในด้านการเลี้ยง
โคนมของอาจารย์หม่อมอีกด้วย
|