ไผ่เพื่อชีวิต
................................................................................................................................................
ปรานอม พฤฒพงษ์
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

       ไผ่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ของชาติชนิดหนึ่ง ไผ่เป็นพืชเอนกประสงค์ ให้ประโยชน์ได้
มหาศาล เช่น หน่อเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง สามารถประกอบ
อาหารได้ทั้งคาวและหวาน และทำเป็นอุตสาหกรรมสินค้าส่ง
ออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในรูปใส่กระป๋อง อัดปี๊บ หรือหน่อไม้
แห้ง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศสูง
เมล็ดนำมาหุงต้มเป็นอาหารแทนข้าวเมื่อยามยากได้ ใบใช้
ห่อขนม ลำต้นไผ่ใช้สร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำเครื่องใช้
ไม้สอยในชีวิตประจำวัน ตลอดไปถึงการทำอุตสาหกรรมได้
หลายอย่าง เช่น ทำเยื่อกระดาษ ทำตะเกียบ ไม้จิ้มฟัน ทำธูป
ฯลฯ จะเห็นได้ว่าไผ่มีประโยชน์ทุกด้านไม่ว่าอุปโภค บริโภค
ยารักษาโรค งานศิลปหัตถกรรม ตลอดไปถึงอุตสาหกรรมต่างๆ
นอกจากนี้ไผ่ยังเป็นพืชที่ให้ความสวยงาม ร่มรื่น ป้องกันภัย
พายุลมฝน ฯลฯ เป็นพืชที่อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ไผ่มีคุณค่าแก่ชีวิตและสิ่งแวดล้อมมาก
         ในประเทศไทยมีไผ่ทั้งสิ้น 12 สกุล เช่น Arundinaria,
Bambusa, Cephalostachyum, Dinochloa, Dendrocalamus,
Gigantochloa, Melocalamus, Melocanna, Pseudosasa,
Schizostchyum, Teinostachys, Thyrsostachys
มีหลายชนิด
พันธุ์ บางชนิดหายากและมีปัญหาเรื่องชื่อ การจำแนกโดย
ใช้ลักษณะต่าง ๆ เช่น เหง้า กิ่ง ใบ กาบ ครีบ และดอก แต่การ
ใช้ดอกผลไม่สามารถทำกับไม้ไผ่ได้ทุกพันธุ์เพราะไม่มีดอก
ปัจจุบันนี้ใช้เทคโนโลยีการจำแนกโดยการใช้ระดับ DNA
วิธีการ RAPD ดีกว่าการใช้ ISOZYME



      เมื่อปี พ.ศ.2518 คุณเฉลียว วัชรพุกก์ ได้เป็นผู้ริเริ่ม
สร้างสวนรวมไผ่ไว้ทุกภาคของประเทศ ขณะนั้นท่านเป็น
อธิบดีกรมทางหลวง และเมื่อท่านเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงมหาดไทยท่านได้สร้างศูนย์รวมพันธุ์ไผ่ไว้ที่
จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมราชทัณฑ์
ปราจีนบุรี

ทางกรมป่าไม้มีศูนย์ศึกษาและรวมพันธุ์ที่จังหวัดต่าง ๆ
เช่นที่ภาคใต้ จังหวัดสงขลา ส่วนภาคกลางมีที่จังหวัด
กาญจนบุรี เป็นต้น ทางกรมวิชาการเกษตรมีแปลงไผ่ที่
จังหวัดตาก และจังหวัดพิจิตร

    ส่วนทางโครงการหลวงที่ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่
มีการศึกษาและมีแปลงรวมพันธุ์ไผ่จากประเทศไต้หวัน
เช่น Rhyllostachys pubescens, Phyllostachys nigra,
Dendrocalamus latiflorus, Bambusa oldhami
ฯลฯ

        งานศึกษาวิจัยด้านไม้ไผ่มีหลายหน่วยงานด้วยกัน
เช่น กรมป่าไม้ กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยได้รับ
ทุนอุดหนุนทั้งของรัฐบาล และจากต่างประเทศ อาทิเช่น
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร ได้รับทุนจาก USAID
คณะวนศาสตร์ได้รับทุนจากประเทศแคนาดา (IDRC)

การผลิตต้นไผ่จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อ
แจกจ่ายให้ประชาชน

  1. ปี พ.ศ.2533-2535 ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร
    ได้รับทุนจากโครงการ ศชร.มก.5 เป็นโครงการ
    มหาวิทยาลัย สนับสนุนงานพัฒนาตามโครงการ
    น้ำพระทัยจากในหลวงเพื่อพัฒนาภาคตะวันออก
    เฉียงเหนือตามแนวพระราชดำริ (โครงการอีสาน
    เขียว) ให้ผลิตไผ่ตงโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
    จำนวน 2,000,000 กอ หรือ 6,000,000 ต้น ให้แก่
    กองทัพภาค 2 กรมการสัตว์ทหารบกปากช่อง กรม
    ป่าไม้ และกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อแจกจ่าย
    ให้กับประชาชนในภาคอีสาน จำนวน 17 จังหวัด
  2. ปี พ.ศ.2538 ทางกรมส่งเสริมการเกษตรขอความ
    ร่วมมือจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    ให้ผลิตไผ่ตงเขียวจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน
    2,000,000 ต้น ในการผลิตนี้มีการคัดพันธุ์ในหลอด
    ทดลองเพื่อให้ได้พันธุ์ดี เพื่อแจกให้กสิกรในเดือน
    มิถุนายน 2539 เพื่อปลูกทดแทนไผ่ที่ได้ออกดอก
    ตายขุยเมื่อปลายปี 2537-2538 ซึ่งไผ่ออกดอกทั่ว
    ประเทศประมาณ 250,000 กว่าไร่