head_Markers.jpg (17408 bytes)

เครื่องหมาย DNA สู่ธุรกิจการเลี้ยงกุ้ง
 
          wpe4.jpg (7290 bytes)
การตรวจสอบพ่อแม่ลูก (parentage analysis)
           ในการผสมพันธุ์กุ้งแบบผสมหมู่ จะไม่สามารถทราบได้ว่า พ่อพันธ
ุ์คือตัวใด การตรวจสอบพ่อแม่ลูกโดยใช้เทคนิค SSLP ให้ผลที่แม่นยำและ
รวดเร็ว โดยใช้ขาว่ายน้ำของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เพียงตัวละ 1 ขาซึ่งไม่ทำ
ให้กุ้งตายและลูกกุ้ง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ ตั้งแต่ระยะ nauplius

 

การพัฒนาเครื่องหมาย DNA ในการตรวจกุ้ง
          
เครื่องหมาย DNA ของกุ้งกุลาดำ ได้พัฒนาขึ้น โดยใช้เทคนิค
SSLP ซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงสูงและสามารถให้ความแตกต่างของกุ้ง
ได้ง่าย ตลอดจนมีการถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกได้อย่างชัดเจน นอก
จากนี้ SSLP ของกุ้งกุลาดำยังสามารถนำไปใช้กับกุ้งชนิดอื่น ได้เช่น กุ้ง
กุลาลาย กุ้งแชบ๊วย และกุ้งก้ามกราม เป็นต้น อีกทั้ง ตัว เครื่องหมาย DNA
แบบ SSLP ยังสามารถจดลิขสิทธิ์เป็นของไทยได้ด้วย
             
wpe5.jpg (10933 bytes)

wpe6.jpg (10197 bytes)การแยกความแตกต่างระหว่างครอบครัว
(Family identification)

           การเลี้ยงกุ้งหลายครอบครัวในบ่อเลี้ยงเดียวกันเพื่อเปรียบเทียบความ
ดีเด่นของกุ้งแต่ละครอบครัวในสภาพแวดล้อมเดียวกันไม่สามารถแยกความแตก
ต่างแต่ละครอบครัวได้ การใช้วิธี SSLP แยกความแตกต่างสามารถทำไดแม่นยำ
้และรวดเร็ว โดยการใช้ SSLP เพียง 2-3 ตำแหน่งเท่านั้นและใช้ขาว่ายน้ำเพียง 1 ขา ในการสกัดสารพันธุกรรมสำหรับการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ครอบครัวนี้ จะทำ
ให้สามารถเลือกครอบครัวที่แข็งแรงดีและปราศจากโรคให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งต่อไป
การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ
(Biodiversity survey)
         
ในการแยกชนิดกุ้งตามอนุกรมวิธานใช้ลักษณะภายนอกของกุ้ง
เป็นหลัก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในบางครั้ง ชิ้นส่วนขาดหายไปบ้างในการเก็บ
ตัวอย่าง หรือกุ้งมีขนาดเล็กจนไม่สามารถแยกชนิดได้ การศึกษาความหลาก
หลายทาง ชีวภาพของกุ้งโดยใช้ เครื่องหมาย DNA เป็นวิธีที่ดีที่สุดเนื่อง
จากมีความแม่น ยำสูง โดยใช้เทคนิค AFLP และ SSLP ซึ่งข้อดี คือไม่
่ต้องการตัวกุ้งทั้งตัว สำหรับการวิเคราะห์ เพียงแค่ขาว่ายน้ำ 1 ขา หรือแพน
หาง 1 ข้างก็เพียงพอและสามารถวิเคราะห์ได้แม้ตัวอย่างจะเก็บรักษาไว้ใน
ฟอร์มาลิน หรือแอลกอฮอล์
             
wpe8.jpg (7128 bytes)
finger.jpg (39566 bytes)