เป็นการใช้หลักการทางด้านพันธุศาสตร์หลายสาขา
โดยเฉพาะสาขาอณูพันธุศาสตร์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์กุ้งก้ามกรามซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม
่สำหรับการ่ปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำของไทย หลักการประกอบด้วยการสร้างประชากรกุ้งก้ามกรามสายพันธุ์ใหม่
( Improved Population)ที่ได้จากการ คัดเลือก
กุ้งก้ามกรามสายพันธุ์ดีจากแหล่งน้ำธรรมชาติของไทยและของประเทศพม่า มีการใช้เครื่องหมายกำหนดเพศทางอณูพันธศุาสตร์
( Sex - linked Marker )
เพื่อการแยกเพศกุ้งก้ามกราม และการศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมต่าง ๆ
เพื่อนำไปสู่การสร้างสายพันธุ์กุ้งก้ามกรามเพศผู้ล้วน ( All - male Production
)
ประชากรกุ้งก้ามกรามที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์จนเป็นสายพันธุ์ที่ดีเด่นเหมาะสำหรับการเลี้ยงเชิงพาณิชย์และการส่งออก
ประชากรดีเด่นสายพันธุ์ใหม่ ( Improved Population )
เป็นการปรับปรุงพันธุ์กุ้งก้ามกรามโดยคัดเลือกกุ้งก้ามกรามที่มีลักษณะดีจากแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งภายในประเทศไทยและประเทศพม่า
ได้แก่กุ้ง
จากแม่น้ำกระบุรีจ.ระนอง แม่น้ำพัทลุง จ.พัทลุง แม่น้ำตาปี จ.สุราษฎร์ธานีแม่น้ำบางปะกง
จ.ฉะเชิงเทรา และแม่น้ำในประเทศพม่าจากนั้นจะแยกคู่ผสมสลับ
( Reciprocal Cross ),แล้วเลี้ยงทดสอบในบ่อดินเพื่อหาคู่ผสมที่มีลักษณะดีที่สุดสร้างเป็นประชากรสายพันธุ์ใหม่
เครื่องหมายกำหนดเพศทางอณูพันธุศาสตร์ (Sex-linked Marker )
เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถตรวจการควบคุมเพศของกุ้งก้ามกรามได้ในระดับ
ดีเอ็นเอหรือยีน โดยเทคนิค AFLP ( Amplified Fragment
Length Polymorphism )ครื่องหมายดังกล่าวจะนำไปสู่การคัดแยกพศในการทดลองเปลี่ยนเพศ
( Sex Reversal )และการคัดแยกเพศในระบบการ
สร้างสายพันธุ์กุ้งงก้ามกรามเพศผู้ล้วน (All-maleProduction)
การสร้างสายพันธุ์กุ้งก้ามกรามเพศผู้ล้วน
(All-Male Production )
จะเป็นวิธีพัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทั้งนี้เนื่องจากกุ้งก้ามกรามเพศผู้มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยดีกว่ากุ้งก้ามกราม
เพศเมียมากโดยเฉพาะระยะเลี้ยงในฟาร์มึ่งการสร้างสายพันธุ์เพศู้ล้วนจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนเพศ
( Sex Reversal ) เพื่อศึกษาระบบควบคุมเพศ ( Sex
Determination) และยิ่งจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมของกุ้งก้ามกรามด้านอื่น
ๆ ประกอบอีก ได้แก่ ข้อมูลทางเซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetics )
,ช่วงเวลาที่กุ้งแต่ละเพศมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด เป็นต้น
|