head.jpg (31168 bytes)
         วิธีการถ่ายยีนโดยใช้เครื่องยิงอนุภาค (Particle Bombardment)
เป็นเทคนิคการส่งถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์พืชวิธีหนึ่งโดยใช้วิธีการยิงยีนที่ถูกเคลือบ
บนอนุภาคโลหะขนาดเล็ก เช่น อนุภาคทองคำ ด้วยแรงผลักจากแหล่งพลังงาน
ต่างๆ เช่น แรงดันของก๊าซฮีเลี่ยม ส่งเข้าสู่เซลล์พืชภายใต้สภาวะสูญญากาศ
และเกิดการเชื่อมต่อระหว่างยีนที่ทำการส่งถ่ายกับจีโนมของพืช วิธีการถ่าย
ยีนโดยใช้เครื่องยิงอนุภาคมีปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการส่งถ่ายยีน
ทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อเป้าหมายที่ใช้ในการถ่ายยีน และปัจจัยทาง
กายภาพของวิธีการยิงยีน การพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อการถ่ายยีน รวมถึงระบบ
การ คัดเลือกเนื้อเยื่อที่เหมาะสม จะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการ
ถ่ายยีน โดยใช้เครื่องยิงอนุภาคเข้าสู่ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้สูงขึ้น

                   การถ่ายยีนเข้าสู่ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
                              โดยใช้เครื่องยิงอนุภาค

เนื้อเยื่อเป้าหมาย :
                            เนื้อเยื่อเป้าหมายของข้าวในระบบการถ่ายยีนต้องมีความ
สามารถสูงในการพัฒนากลับไปเป็นต้น ได้แก่แคลลัสจากการชักนำคัพภะ
ของข้าว เซลล์แขวนลอย และคัพภะของข้าวโดยตรงทำการเพาะเลี้ยงใน
อาหารปรับสภาพที่มีระดับความเข้มข้นของน้ำตาลที่สูงก่อนและหลังการ
ถ่ายยีนเพื่อลดความเสียหายที่เกิดจากการยิงยีน

pic.jpg (85921 bytes)

อนุภาคโลหะและพลาสมิดดีเอ็นเอ :

                
พลาสมิดดีเอ็นเอในระบบพัฒนาการถ่ายยีนจะประกอบด้วย
ยีนเครื่องหมายในการคัดเลือกเนื้อเยื่อที่รับการถ่ายยีน เช่น ยีนต้านทานสาร
hygromycin (hpt) และยีนรายงานผลของการถ่ายยีน เช่นยีน
B-glucuronidase (gus) ทำการเคลือบบนอนุภาคทองคำขนาดเล็ก
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-3.0 ไมครอน ด้วยสารที่ใช้เคลือบ เช่น
CaCl2/spermidine

การยิงยีน :

                 
การถ่ายยีนจะใช้ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ
การถ่ายยีนเช่น ระดับแรงดันของก๊าซฮีเลี่ยม ระยะห่างระหว่างเนื้อเยื่อเป้าหมาย
กับหัวยิง และระดับของสภาวะสูญญากาศภายในตู้ยิงในระดับที่ให้ผลการ
แสดงออกของยีนรายงานผล (การแสดงสีฟ้าจากการใช้ยีน gus) บนเนื้อเยื่อ
เป้าหมายสูงสุด และมีอัตราการตายของเนื้อเยื่อจากผลของการยิงยีนต่ำสุด

การคัดเลือกและการเพิ่มปริมาณเนื้อเยื่อที่ได้รับยีน :

             
ทำการคัดเลือกเนื้อเยื่อเป้าหมายบนอาหารคัดเลือก ที่เติมสารปฏิชีวนะตามชนิดของยีนที่ใช้ (hygromycin จากการใช้ ยีน hpt) เพื่อสร้างเนื้อเยื่อที่แสดงการต้านทาน ทำการเพิ่มปริมาณเนื้อเยื่อ โดยเพาะเลี้ยงในอาหารชักนำการเกิดเซลล์แขวนลอยที่เติมสารปฏิชีวนะชนิด
เดียวกัน

การพัฒนาเป็นต้นและการตรวจสอบระดับดีเอ็นเอ :
          
ทำการชักนำการพัฒนาเป็นต้นในเนื้อเยื่อที่แสดงการต้านทาน
ตรวจสอบการแสดงออกของยีนรายงานผล และทำการสกัด ดีเอ็นเอ
ตรวจยืนยันผลของการถ่ายยีนโดยใช้เทคนิค PCR หรือ RFLP