head.jpg (15838 bytes)

bar1.jpg (10760 bytes)

                             แหล่งของยีนที่นิยมนำมาใช้ได้แก่ยีนของไวรัส สายพันธุกรรมของไวรัสประกอบด้วยยีนหลายยีนเรียงต่อเนื่องกันยีนที่ก่อให้เกิดความ
ต้านทานโรค ได้แก่ยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนห่อหุ้มอนุภาคไวรัส (coat protein gene) ยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนที่ใช้ในการเพิ่มจำนวนของไวรัส
(polymerase gene) เป็นต้น ยีนเหล่านี้มีขนาดแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของไวรัส และก่อให้เกิดความต้านทานโรคได้เมื่อเข้าไปเชื่อมต่อกับโครโมโซมพืช
แล้วควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนออกมา

bar2.jpg (9869 bytes)

                           เนื่องจากพริกพันธุ์การค้าที่เกษตรกรนิยมปลูกมีลักษณะเฉพาะที่ตลาดต้องการจึงได้ริเริ่มนำพริกพันธุ์เหล่านั้นมาปรับปรุงลักษณะทาง
พันธุกรรมให้ต้านทานต่อโรคไวรัสดังกล่าวมาแล้วข้างต้น โดยคาดหวังว่าพริกยังคงลักษณะเดิมที่ตลาดต้องการอยู่และมีลักษณะความต้านทานโรค
ไวรัสเพิ่มเข้าไปอีกลักษณะหนึ่ง เทคนิคการปรับปรุงพืชที่ใช้วิธีการผสมพันธุ์อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมจึงได้มีการศึกษา
ทดลองปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีถ่ายยีนแบบที่ใช้เชื้ออะโกรแบคทีเรียเป็นพาหะในการนำยีนเข้าสู่โครโมโซมพริกเทคนิคการถ่ายยีนแบบนี้ทำได้โดยแยกเอา
ดีเอ็นเอหรือยีนที่ควบคุมลักษณะความต้านทานต่อไวรัสมาตัดต่อเข้ากับดีเอ็นเอที่เป็นพาหะหรือที่เรียกว่าพลาสมิดพาหะซึ่งจะมีส่วนของดีเอ็นเอที่ช่วย
นำเอายีนต้านทานไวรัสเข้าไปเชื่อมต่อกับโครโมโซมพริกได้ รวมทั้งช่วยให้ยีนดังกล่าวมีการแสดงออกของลักษณะความต้านทานโรคด้วยพลาสมิด
พาหะนำยีนเข้าสู่พริกจะถูกบรรจุไว้ในเซลล์ของอะโกรแบคทีเรีย ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถผ่านเข้าสู่เซลล์พืชได้แล้วส่งถ่ายยีนพลาสมิดพาหะเข้าไปเชื่อม
กับโครโมโซมพริกในตำแหน่งแบบสุ่ม เมื่อเซลล์พริกมีโครโมโซมที่มียีนต้านทานไวรัส เจริญพัฒนาไปเป็นต้นใหม่ได้ภายหลังการเพาะเลี้ยงในอาหาร
สังเคราะห์ และนำออกปลูกแล้ว ใบจากต้นพริกจะถูกนำมาตรวจสอบว่า มียีนต้านทานไวรัสอยู่ในโครโมโซมหรือไม่ด้วยเทคนิคเฉพาะทางอณูชีววิทยา
และนำต้นมาปลูกเชื้อไวรัสเพื่อทดสอบความต้านทาน ต้นพริกที่พบว่ามีความต้านทานต่อไวรัส (R0) จะปลูกต่อไปจนเก็บเมล็ดนำเมล็ดของพริกมา
เพาะปลูกเป็นต้น (R1) เพื่อตรวจสอบยีนต้านทานไวรัสบนโครโมโซม และทดสอบความต้านทานซ้ำอีกครั้งหนึ่งตลอดจนศึกษาการกระจายตัวและ
คงตัวของยีนในโครโมโซมให้แน่ใจ จึงจะได้พริกพันธุ์ต้านทานไวรัส

bar3.jpg (13703 bytes)
ปัญหาในการผลิตมะละกอ
Ppy1.jpg (17868 bytes)

                 ข้อจำกัดที่สำคัญในการผลิตมะละกอพันธุ์แขกดำและพันธุ์อื่นๆในประเทศไทยในเชิงการค้า
และอุตสาหกรรม คือปัญหาความเสียหายของผลผลิตจากโรคใบด่างจุดวงแหวนของมะละกอที่เกิดจาก
ไวรัส papaya ringspot virus (PRSV) พาหะที่สำคัญซึ่งสามารถถ่ายทอดโรคนี้จนแพร่ระบาด
ทั่วแปลงปลูก  คือ เพลี้ยอ่อน   เกษตรกรไม่สามารถควบคุมแมลงดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้จะมี
การใช้สารเคมีในอัตราสูงและปริมาณมาก การปรับปรุงพันธุ์มะละกอให้ต้านทานไวรัสจึงเป็นแนวทาง
หนึ่ง ที่จะช่วยควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้

การถ่ายยีนที่สร้างความต้านทานโรคให้กับพืช
                           ยีนของไวรัสส่วนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนห่อหุ้มอนุภาค (coat protein gene) เป็นยีนที่นำมาใช้ถ่ายเข้าสู่พืชเพื่อสร้างความต้าน
ทานโรค เริ่มจากการโคลนยีนดังกล่าว ตัดต่อจัดสร้างเป็นพลาสมิดสำหรับถ่ายยีนเข้าสู่มะละกอ และถ่ายยีนเข้าสู่มะละกอโดยเพาะเลี้ยงเอมบริโอมะละกอ
แล้วถ่ายยีนโดยใช้เทคนิคเครื่องยิงอนุภาค (particle bombardment) เพาะเลี้ยงเอมบริโอของมะละกอที่ได้รับการถ่ายยีนแล้วในอาหารเพาะเลี้ยงจน
กระทั่งเจริญเป็นต้นที่สมบูรณ์
การคัดเลือกและทดสอบมะละกอจำลองพันธุ์
                   
ตรวจหายีนสร้างโปรตีนห่อหุ้มอนุภาคไวรัส PRSV ในโครโมโซมของมะละกอจำลองพันธุ์ด้วยเทคนิค Polymerase Chain
Reaction (PCR) และ Southern hybridization นำมะละกอที่ตรวจพบยีนดังกล่าวไปทดสอบความต้านทานต่อ PRSV ในเรือนปลูกพืชทดลอง
bar4.jpg (11998 bytes)
สถานภาพของแมลงศัตรูฝ้าย
                         หนอนเจาะสมอฝ้ายอเมริกัน (American bollworm, Helicoverpa armigera) เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของฝ้ายเป็นปัจจัย
สำคัญที่จำกัดปริมาณการผลิตฝ้ายของประเทศไทย จะเห็นได้ว่า  ในปี  พ.ศ.  2535-36   มีการปลูกฝ้าย  560,000  ไร่   ลดลงเหลือ  246,000  ไร่ในปี
พ.ศ. 2536 - 37   สาเหตุสำคัญคือการเข้าทำลายฝ้ายของหนอนเจาะสมอฝ้าย   เกษตรกรต้องลงทุนสูงในการซื้อสารเคมีมาใช้ในการป้องกันกำจัดทำให้
เกษตรกร ประสบสภาพขาดทุนและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของเกษตรกร สิ่งมีชีวิตอื่นๆและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป นอกจากนี้หนอนเจาะ
สมอฝ้ายยังมีความสามารถในการพัฒนาตัวเองให้ดื้อยาฆ่าแมลงแทบทุกชนิด การควบคุมโดยอาศัยสารเคมีจึงมีประสิทธิภาพต่ำแต่เนื่องจากความต้อง
การฝ้ายในอุตสาหกรรมสิ่งทอยังคงสูงมากในประเทศไทย จำเป็นต้องนำเข้าปุยฝ้ายจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปีและเกษตรกรส่วนหนึ่งยังคงปลูกฝ้ายเพื่อ
ให้เพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศ ปัญหาการควบคุมหนอนเจาะสมอฝ้าย จึงเป็นปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ เพื่อให้เกษตรกรได้มีโอกาส
เพิ่มรายได้ มีสุขภาพอนามัยที่ดี และรักษาสภาพแวดล้อมของภาคเกษตรกรรมมิให้เสื่อมโทรมไป
แนวทางการกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย
                        เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทรูริจิเอนซิส (Bacillus thuringiensis) สร้างสารพิษที่เรียกว่า delta-endotoxin ซึ่งสามารถทำลายหนอนเจาะสมอฝ้ายได้ แบคทีเรียสะสมสารพิษในรูปผลึกโปรตีน (crystal protein) โดยอาศัยยีน (cry gene) หรือนิยมเรียกโดยทั่วไป
ว่า Bt gene ที่มีความจำเพาะเจาะจงสำหรับการสร้างผลึกโปรตีนแต่ละชนิด แนวทางการพัฒนาคือการตัดแต่ง cry gene ที่ต้องการใส่เข้าไปในต้นฝ้าย
เพื่อให้ฝ้ายจำลองพันธุ์ที่มี cry gene สามารถผลิตสารพิษที่ต่อต้านหรือทำลายหนอนเจาะสมอฝ้าย
ความก้าวหน้าของงานวิจัยและพัฒนา
                 
สามารถถ่ายยีนสารพิษ cryIAbให้เนื้อเยื่อฝ้ายพันธุ์ศรีสำโรง 60 ได้สำเร็จ หลังจากการชักนำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้เจริญเป็นต้นฝ้ายยังคงตรวจ
พบยีน สารพิษดังกล่าวในต้นฝ้ายที่สมบูรณ์ ขณะนี้การทดลองอยู่ในระหว่างการตรวจและทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้ายโดยให้ตัวอ่อน
ของหนอนเจาะสมอฝ้ายกินใบและส่วนต่างๆของต้นฝ้ายจำลองพันธุ์ เพื่อการประเมินผลต่อไป
bar5.jpg (13978 bytes)

                พริกเป็นพืชผักเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งมีปริมาณการบริโภคภายในประเทศ ค่อนข้างสูง แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอการปลูกและผลิตพริกมักประสบอุปสรรค
ปัญหาที่สำคัญคือ โรคที่เกิดจากไวรัสซึ่งมักแพร่ระบาดทั่วแปลงปลูกทำให้ผลผลิต
ต่ำและคุณภาพไม่ดีโรคของพริกที่เกิดจากไวรัสส่วนใหญ่แพร่ระบาดได้ง่ายโดยม
ีแมลงพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อนแมลงหวี่ขาวการควบคุมโรคจึงจำเป็นต้องใช้สารเคมี
มีควบคุมไม่ให้แมลงพาหะเหล่านี้มาดูดกินต้นพืชเพื่อป้องกันการถ่ายทอดไวรัสไป
สู่พืช
               พริกเป็นพืชอายุยาวก็บผลผลิตต่อเนื่องได้หลายครั้งตลอดทั้งปีหรือหลาย
ปี พริกพันธุ์การค้าที่ปลูกในประเทศไทยมีอยู่มากมายหลายพันธุ์ ประกอบด้วยพริก
ผลใหญ่ เช่น ชี้ฟ้า มันแดง พริกผลขนาดกลางเช่น หัวเรือ จินดา ห้วยสีทนและพริก ผลเล็กเช่น ขี้หนูสวน พริกหอมเป็นต้น พริกที่ปลูกเป็นการค้าเหล่านี้ให้ผลผลิตไม่เพียง
พอต่อการบริโภคทั้งแบบบริโภคผลสด ผลแห้ง และแบบแปรรูปเป็นน้ำพริก หรือซอส
พริก พื้นที่เพาะปลูกพริกกระจายทั่วประเทศทุกภาคคิดเป็นพื้นที่ปลูกกว่าแสนไร่ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกค่อนข้างมากและนิยมปลูกพริกผลขนาดกลาง เช่น
พริกจินดา ห้วยสีทน ภาคกลางและภาคตะวันตกปลูกทั้งพริกชี้ฟ้า มันแดง พริกหัว
เรือจินดาและขี้หนูสวน รวมทั้งมีโรงงานแปรรูปพริกเพื่อการส่งออกด้วย

pp2.jpg (75650 bytes)

                    ความต้องการเพิ่มปริมาณผลผลิตพริกภายในประเทศ และแก้ไขปัญหาโรคพริกโดยเฉพาะโรคไวรัส จึงจำเป็นต้องทำการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์
รวมทั้งเสาะหาสายพันธุ์ที่มียีนความต้านทานต่อไวรัส เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงพริกพันธุ์การค้าต่อไป

โรคไวรัสที่สำคัญของพริก
                   จากการสำรวจพริกในพื้นที่ปลูกพริกทุกภาคทั่วประเทศ พบว่าไวรัสที่พบระบาดแพร่หลายมากได้แก่ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคใบด่าง เช่น cucumber
mosaic virus, chilli vein banding mottle virus หรือโรคใบหงิกเช่น pepper leaf curl virus เป็นต้น พริกมักเป็นโรคไวรัสมากกว่าหนึ่งโรคในต้น
เดียวกัน ซึ่งส่งผลให้ต้นโทรม ใบไม่สมบูรณ์ ดอกร่วงไม่ติดผล และผลผลิตลดลงอย่างมากการควบคุมโรคไวรัสที่ทำกันอยู่ได้แก่การฉีดสารเคมีควบคุมแมลงพาหะ
นำโรคเท่านั้น ยังไม่มีพันธุ์พริกที่ต้านทานโรคและมีลักษณะดีตามความต้องการของตลาด