เนื่องจาก GMO เป็นปัญหาระดับโลก
ประเทศไทยจึงควรมีมาตรการที่แน่นอนในเรื่องนี้และโดยที่แนวโน้มของโลกคงจะมีการระบุสินค้า
ว่าเป็น GMO หรือไม่
ซึ่งยังผลให้สินค้าที่ไม่เป็น
GMO หรือตรวจสอบแล้วว่าปลอด GMO
จะเป็นสินค้าที่เป็นความต้องการของตลาดผ
ู้บริโภค
จึงควรให้มีการควบคุมและตรวจสอบ
GMO
ในการควบคุม
GMO
หรืองานทางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
มีคณะกรรมการ 2 ชุด ดูแล
ควบคุมอยู่ คือ
1.
คณะกรรมการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพระดับชาติ
(The National Biosafety Committee - NBC)
เป็นองค์กรกลางในการประสานงานติดตาม
และให้คำแนะนำทางเทคนิคแก่หน่วยงานที่ดำเนินกิจกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
2.
คณะกรรมการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน
(Institutional Biosafety Committee - IBC)
ทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพภายในองค์กร
ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 15 สถาบัน0
สำหรับการตรวจสอบ GMO
ต้องใช้ห้องปฏิบัติการเฉพาะด้าน
ในประเทศทางยุโรปแต่ละประเทศ
จะมีห้องปฏิบัติการตรวจอยู่ประเทศ
ละ 1
ห้องปฏิบัติการหรือบางประเทศไม่มีเลย
สำหรับประเทศไทย ห้องปฏิบัติการ
DNATEX
ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ (สวทช.)
ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มีขีดความสามารถในการตรวจสอบ GMO
ในผลิตผลทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ทุกชนิด
และได้ให้การตรวจสอบแก่ภาคเอกชนอยู่ในขณะนี้
โดยผลการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการคือ
Lab Result
ได้เป็นที่ยอมรับของภาคเอกชนและต่างประเทศ
และกำลังเข้าสู่ระบบ ISO Guide 25
ทั้งนี้ กรรมวิธีการตรวจ
อยู่ระหว่างการยื่นขอจดสิทธิบัตร
ซึ่งจะทำให้ผลการตรวจมีมาตรฐานสากลยิ่งขึ้น
|