พืชตัดต่อยีนโดยทั่วไปจะมีชิ้นส่วนดีเอ็นเอหรือยีนหรือสารพันธุกรรมที่ได้รับการตัดต่อเพิ่มเติมเข้ามาในโครโมโซมพืชเพื่อให้ยีน
ดังกล่าวทำงานและแสดงออกได้ในพืช
ยีนที่นำมาใส่ให้กับโครโมโซมพืช
(ยีนเป้าหมาย)
ได้มาจากจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ
เช่น แบคทีเรีย ไวรัส
และยีนจากพืชเอง
ยีนที่นำมาใช้ถ่ายเข้าสู่พืช
เพื่อปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่
ยีนควบคุมแมลงศัตรูพืช
ยีนต้านทานไวรัสพืช
ยีนต้านทานสารกำจัดวัช
พืช
ยีนควบคุมการสุกของผลไม้ยีนเปลี่ยนสีกลีบดอกไม้ยีนควบคุมคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดพืชและยีนควบคุมการผสมตัวเองกระบวนการ
สร้างพืชแปลงพันธุกรรมมีขั้นตอนมากมาย
ตั้งแต่การแยกยีนให้บริสุทธิการเพิ่มปริมาณยีนการต่อเชื่อมยีนโดยการนำเอายีนจากพืชหรือสิ่งมีชีวิติ
อื่นที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติมาเชื่อมต่อ
การตรวจสอบผลสำเร็จของการเชื่อมต่อยีน
และการเพาะเลี้ยงพืชที่ผ่านการถ่ายยีนดัดแปลง
การใช้เทคโนโลยีการตัดต่อยีนมีผลให้นักวิทยาศาสตร์สามารถดัดแปลงสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชไร่
ที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ
ดังนี้
1. ทนทานต่อแมลง
โรคและเคมีภัณฑ์กำจัดวัชพืช
2.
มีคุณค่าทางโภชนาการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่สมบูรณืขึ้น
ดีขึ้น
และมีองค์ประกอบทางกายภาพที่ช่วยให้เตรียมเป็น
ผลิตภัณฑ์อาหารได้ง่ายขึ้น
3. ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
การแปลงพันธุกรรมโดยใช้วิธีการตัดต่อยีนหรือพันธุกรรมส่วนใหญ่จะอยู่ในแวดวงของบรรดาพืชไร่มากกว่า
ที่จะเป็นสัตว์หรือพันธุพืชกลุ่มอื่นในปัจจุบันมีพันธุ์พืชนับได้หลายพันสายพันธุ์ที่กำลังถูกตัดต่อยีนอยู่ในห้องปฏิบัติ
การทางเทคโนโลยีชีวภาพทั่วโลก
การพัฒนางานทำนองนี้ทำกันในห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาค
รัฐในประเทศไทยบ้าง
แต่ไม่มากนัก
ขณะนี้มีพันธุ์พืชแปลงพันธุกรรมนับพันชนิดอยู่ในขั้นตอนการทดสอบภาคสนาม
ทั่วโลกโดยส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและนับเป็นจำนวนสิบที่ผ่านการทดสอบภาคสนามขั้นตอนสุดท้ายจนกระทั้ง
ได้รับการจดทะเบียนการค้าไปเรียบร้อยแล้ว
GMO
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
พวกที่ใช้ยีนทางพืชด้วยกันกับพวกที่ใช้ยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น
ๆ
ตัวอย่างเช่น
-
มะเขือเทศสุกช้า (Flavor saver)
ช่วยป้องกันการเสียหายของมะเขือเทศสุกจากการขนส่ง
ยีนดังกล่าวเป็นของพืชเอง
ดังนั้นจึงได้รับความเห็นชอบให้นำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์แรกในสหรัฐอเมริกา
- ถั่วเหลืองต้านทานสารกำจัดวัชพืช
(Roundup Ready) และข้าวโพดต้านทานแมลง (Bt corn)
ใช้ยีนจากแบคทีเรีย |