![]() |
||||||||||||||||
สารอนุมูลอิสระเป็นตัวต้นเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมากมายในระบบของ ร่างกายคน เช่น โรคชรา โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคมะเร็ง โรคบางชนิด ทางสมองและระบบประสาท ฯลฯ แหล่งที่มาของสารอนุมูลอิสระในร่างกายนั้น มาจาก ๒ แหล่งใหญ่ๆ คือ ๑.ร่างกายผลิตขึ้นเอง และ ๒.จากบรรยากาศรอบ ตัวเราและอาหาร สารอนุมูลอิสระจำนวนมากมายในร่างกายนั้น จะถูกขจัด ด้วยขบวนการตามธรรมชาติ แต่ว่าขบวนการขจัดอาจทำได้ไม่สมบูรณ์การ รับประทานสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขจัดสารอนุมูล อิสระในร่างกายให้ดีขึ้น |
![]() |
|||||||||||||||
ผักและผลไม้เป็นแหล่งที่ดีของสารต้านอนุมูลอิสระ
สารอาหารที่ทราบ กันดีแล้วว่ามีคุณสมบัติดังกล่าวคือ วิตามินอี วิตามินซี และแคโรตินอยด์ แต่ ทว่านอกจากวิตามินเหล่านี้แล้ว ผักและ ผลไม้ยังมีสารโพลีฟีนอลอีกมากมาย ที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน สารโพลีฟีนอลเหล่านี้อาจมีปริมาณมาก ไม่เสื่อมสลายเมื่อถูกความร้อน หรือเสื่อมลงในช่วงเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งหมายถึงคุณค่าสูงขึ้นของผักและผลไม้ ในประเทศไทยมีผักพื้นบ้านจำนวน มากมายหลายร้อย ชนิด คณะทำงานได้รวบรวม และทำการวิเคราะห์หาปริมาณ สารต้านอนุมูลอิสระในผักพื้นบ้าน ไทยมารายงาน จำนวน ๑๑๑ ชนิด |
||||||||||||||||
แหล่งผัก ผักพื้นบ้านเหล่านี้รวบรวมมาจากภาคเหนือ (พะเยา ลำปาง เชียงใหม่) ๓๖ ชนิด จากภาคอีสาน (อุบลราชธานี ขอนแก่น หนองคาย) ๓๕ ชนิด จากภาคใต้ (ตรัง สุราษฎร์ธานี) ๒๔ ชนิด และ ภาคกลาง (กรุงเทพฯ) ๑๖ ชนิด |
||||||||||||||||
วิธีทดลองและผลที่ได้ สารสกัดพืชที่ได้จากการสกัดด้วยสารละลายเมทานอล มีสารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระจำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถทดสอบโดยวิธี Beta-carotene Bleaching Method และรายงานเป็นปริมาณสารเทียบกับสาร BHA (butylated hydroxyanisole) สาร BHA นี้ เป็นสารที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อป้องกันการหืนของไขมัน ขบวนการหืนนั้นจะมีการสร้างสารอนุมูลอิสระ ซึ่งจะต้องถูกยับยั้งเพื่อยุติปฏิกิริยาออกซิเดชั่น |
||||||||||||||||
สัดส่วนของปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผักพื้นบ้านภาคต่างๆ
ในการคำนวณใช้แหล่งที่ซื้อผักเป็นตัวแทนบ่งชี้ถึงชนิดผักที่รับประทาน ในภาคนั้นๆ ซึ่งในความเป็นจริง ผักหลายๆชนิดจะรับประทานกันในภาคอื่นด้วย |
||||||||||||||||
จำนวนและชนิดของผักพื้นบ้านจำแนกตามปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ | ||||||||||||||||
ต่ำกว่า 5 มก. BHA เทียบเท่า |
ปานกลาง 5-25 มก. BHA เทียบเท่า |
|||||||||||||||
สูง 26-100 มก. BHA เทียบเท่า |
สูงมาก สูงกว่า 100 มก. BHA เทียบเท่า |
|||||||||||||||
จะเห็นได้ว่าผักพื้นบ้านไทยที่มีสารมีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระสูงและสูงมากนั้นมีมากถึง
๘๗% โดยเฉลี่ย หรือ ๙๗ ชนิดจาก ๑๑๑ ชนิด การรับประทานผักพื้นบ้านเป็นประจำน่าจะเป็นวิธีการที่ใช้เงินน้อยและเป็นธรรมชาติ ในการป้องกันไม่ให้สุขภาพร่างกายเสื่อมลงเร็วกว่าที่ควร ฉะนั้นการบริโภคผักพื้นบ้านควรได้รับการรณรงค์อย่างต่อ เนื่อง เพื่อจะได้สืบทอดเยาวชนรุ่นต่อๆไป |
||||||||||||||||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |