การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของนักเรียนในแต่ละคนนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขเพื่อการเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นคนเก่งและสำคัญที่สุดต้องเป็นคนดีของสังคม ผลจากการสังเกตในเบื้อต้นของผู้วิจัย พบว่านักเรียนมีปัญหาในการเรียนด้านวิชาการได้ในช่วงสั้นๆ หลังจากนั้นนักเรียนจะไม่ให้ความสนใจในการเรียนในด้านวิชาการ เช่น ประวัติ กติกา เป็นต้น และนักเรียนไม่สามารถจดจำกติกา ท่าทางผู้ตัดสินได้ เป็นต้นหลักจากเรียนผ่านพ้นไปแล้ว โดยพิจารณาจาการทบทวนความรู้ที่ได้ทำการเรียนการสอนไปของนักเรียน นอกจากนี้นักเรียนและครูผู้สอนได้ทำการเสนอแนะ คือ อยากให้มีการจัดกิจกรรมจิตตปัญญาเพิ่ม มีการจัดกิจกรรมแอโรบิกในตอนเช้าหน้าแถว และเป็นกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดจากเรียนในรายวิชาต่างๆ รวมเป็นหลักสูตรที่ดีในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและควรมีการส่งเสริมทางด้านวิชาการทางพลศึกษา
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่านักเรียนมีสมาธิในการเรียนช่วงสั้นๆ ความสนใจในการเรียนน้อย พัฒนาการด้านสมองของนักเรียนไม่ดีเท่าที่ควร รวมถึงครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน และนักเรียนต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดเพื่อที่จะได้พัฒนาสมอง สมาธิ และนำไปบูรณาการในรายวิชาอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการให้นักเรียนได้มีการพัฒนากระบวนการคิดและสติปัญญาในทั้งสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะกีฬาตะกร้อ โดยใช้แนวคิดฐานปัญญา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- เพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการคิด การเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในโดยใช้แนวคิดฐานปัญญา
- เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาตะกร้อเรื่องทักษะการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในเพื่อให้เกิดความสนุกสนานในการเรียน
ขอบเขตการทำวิจัย
กลุ่มประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2553 จำนวน 154 คนโรงเรียนสองพี่น้องวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี
กลุ่มตัวอย่าง เป็นการสุ่มอย่างง่ายในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 4/1 ที่ทำการเรียนรายวิชาตะกร้อประจำปีการศึกษา 2553 จำนวน 41 คนโรงเรียนสองพี่น้องวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี
วิธีการดำเนินการวิจัย
- ทำการสำรวจปัญหาการเรียนการสอนในเบื้องต้นและความต้องการเรียนการสอนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดฐานปัญญา เพื่อเป็นการนำไปพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา
- ทำการทดสอบก่อนเรียนในด้านทักษะการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน ของ สมประสงค์ มณฑลผลิน(2546) และการสอบอัตนัยวัดความรู้ทางการเรียน 4 ข้อ ในเรื่องทักษะการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน โดยทำการหาค่าค่าอำนาจจำแนกและความยากง่าย (Sabers, 1970)
- ดำเนินการเรียนการสอนจำนวน 3 แผน เรื่องทักษะการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสองพี่น้องวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โดยการประเมินการสอนระหว่างเรียน จากใบงาน แบบประเมินงานกลุ่ม สมุดประเมินตนเอง ในแต่ละชั่วโมง
- หลังจากการสิ้นสุดการเรียนการสอนทำการทดสอบหลังเรียน ทั้งทักษะปฏิบัติและวัดความรู้จากการสอบอัตนัยโดยการสอบวิธีเดิมข้อสอบชุดเดิมรวมทั้งสำรวจความพึงพอใจในการเรียนการสอนทักษะการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน
- นำผลข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบก่อนเรียนกับหลังเรียนทางสถิติ หาค่าความต่างของสถิติ ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน
ภาพที่ 1 บรรยากาศการเรียนการสอน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการดำเนินการสร้างแบบฝึกทักษะกีฬาเซปักตะกร้อสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย 6 รายการดังนี้ 1) แผนการการจัดการเรียนรู้ทักษะการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในตามแนวคิดฐานปัญญา 2) แบบทดสอบวัดความรู้การเดาะตะกร้อข้างเท้าด้านใน 3) แบบทดสอบทักษะปฏิบัติการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน 4) แบบสำรวจความพึงพอใจในการเรียนการสอน 5) สมุดประเมินตนเอง 6) แบบสอบถามความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดฐานปัญญา
การวิเคราะห์ข้อมูล
- แผนการการจัดการเรียนรู้ทักษะการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในตามแนวคิดฐานปัญญา ทำการหาประสิทธิภาพในการเรียนการสอน E1และ E2
- แบบทดสอบอัตนัยวัดความรู้เดาะตะกร้อข้างเท้าด้านในและทดสอบปฏิบัติทักษะการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในหาค่าร้อยละและทำการแบ่งกลุ่มของข้อมูล
- แบบสำรวจความพึงพอใจในการเรียนการสอน หาค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. )
สรุปผลการวิจัย
จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนทักษะตะกร้อการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในตามแนวคิดฐานปัญญา มีข้อสรุปดังนี้
- ผลการทดสอบหาประสิทธิภาพ เปรียบเทียบ E1 และ E2ของแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในตามแนวคิดฐานปัญญา อยู่ในเกณฑ์ 90 / 90 ของ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2550) ผลการทดลองนักเรียนสามารถทำคะแนนแบฝึกหัดของแผนการจัดการเรียนรู้ได้ 92.98 และคะแนนการสอบหลังเรียนได้ 90.25 มีประสิทธิภาพ 92.98 / 90.25
- ผลการทดสอบก่อนกับหลังเรียนนั้นมีการพัฒนาขึ้นทั้งด้านทักษะการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในก่อนเรียนค่าเฉลี่ยจำนวนลูกตะกร้อที่เดาะได้คือ7.37 หลังเรียนได้ 11.12 และการสอบอัตนัยก่อนเรียนได้ 21.15 หลังเรียนได้ 36.10
- อัตราเพิ่มขึ้นของผลการสอบอัตนัยวัดความรู้ทางการเรียนการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในตามแนวคิดฐานปัญญาโดยแบ่งกลุ่มโดยใช้ทฤษฎีการแบ่งกลุ่มทางสังคม (Social Categories Theory)
ตารางที่ 1 แสดงอัตราเพิ่มขึ้นของผลการสอบอัตนัยวัดความรู้ทางการเรียนการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในโดยวิธีการแบ่งกลุ่ม
กลุ่มที่ |
กลุ่มของอัตราของคะแนนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียน (ร้อยละ) |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
50 – 59 |
1 |
2.44 |
2 |
40 – 49 |
15 |
36.59 |
3 |
30 – 39 |
21 |
51.22 |
4 |
20 – 29 |
4 |
9.76 |
- อัตราเพิ่มขึ้นของผลการสอบปฏิบัติทักษะเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในตามแนวคิดฐานปัญญาโดยแบ่งกลุ่มโดยใช้ทฤษฎีการแบ่งกลุ่มทางสังคม (Social Categories Theory)
ตารางที่ 2 แสดงอัตราเพิ่มขึ้นของผลการสอบทักษะปฏิบัติทางการเรียนการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในโดยวิธีการแบ่งกลุ่ม
กลุ่มที่ |
กลุ่มของอัตราของจำนวนลูกที่เพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบจำนวนลูกก่อนเรียนกับหลังเรียน |
จำนวน |
ร้อยละ |
1 |
9 – 11 |
2 |
4.88 |
2 |
6 – 8 |
6 |
14.63 |
3 |
3 – 5 |
16 |
39.02 |
4 |
0 – 2 |
17 |
41.46 |
-
ความพึงพอใจในเชิงบวก จำนวน 5 ข้อพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจ () เท่ากับ 4.69 อยู่ในเกณฑ์มากที่สุดของของลิเคิร์ท เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ 3 อันดับแรกพบว่า 1)นักเรียนมีความคิดเห็นว่าเนื้อหารายวิชาตะกร้อมีการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียน () เท่ากับ4.85 2)นักเรียนสามารถนำความรู้ทักษะการเดาะลูกข้างเท้าด้านในไปใช้ในการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย () เท่ากับ 4.63 3)ผู้เรียนได้เทคนิค ความรู้ ทักษะการเดาะลูกข้างเท้าด้านใน วิชาตะกร้อ () เท่ากับ 3.63 ตามลำดับ
- ความพึงพอใจในเชิงลบ จำนวน 5 ข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอในเชิงลบ () เท่ากับ 2.85 อยู่ในเกณฑ์ปานกลางของลิเคิร์ท เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ 3 อันดับแรกพบว่า 1)เนื้อหารายวิชาตะกร้อที่ทำการสอนเป็นวิชาทีน่าเบื่อ () เท่ากับ3.51 2)ข้อสอบในการประเมินยากเกินไป เท่ากับ 3.12 3)ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมการเรียนการสอนตะกร้อไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ () เท่ากับ 2.85 ตามลำดับ
การอภิปรายผล
จากผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีพัฒนาเรื่องความรู้และทักษะการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน โดยดูจากค่าสถิติทางคณิตศาสตร์อัตราค่าร้อยละที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มใหญ่ที่สุด คือนักเรียนส่วนใหญ่มีอัตราของกลุ่มคะแนนเพิ่มขึ้นจำนวน 21 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 51.22 ซึ่งอยู่ในช่วงของกลุ่มคะแนนที่เพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 30 – 39 และนักเรียนส่วนใหญ่ที่สุดมีอัตราของกลุ่มจำนวนการเดาะตะกร้อที่เพิ่มขึ้นจำนวน 17 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 41.46 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งอยู่ในช่วงของกลุ่มจำนวนการเดาะตะกร้อที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 0 – 2 โดยใช้ ทฤษฎีการแบ่งกลุ่มทางสังคม (Social Categories Theory) อย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะปฏิบัติ ความคิดรวบยอด ใบงาน ในการเรียนการสอนทำให้นักเรียนได้เกิดการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด
ภาพที่ 2 บรรยากาศการเรียนการสอนการเดาะตะกร้อวง
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
- จากผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดฐานปัญญาสามารถช่วยให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์เป็นพร้อมปฏิบัติทักษะไปด้วย ดังนั้นครูผู้สอนควร นำกิจกรรมรูปแบบการสอนแนวคิดฐานปัญญานำไปใช้ในการเรียนการสอนในวิชาต่างๆเพื่อสามารถพัฒนาด้านสมองและทักษะปฏิบัติไปพร้อมๆกัน
- จากผลการเก็บข้อมูลงานวิจัย พบว่า นักเรียนหญิงชอบเรียนกีฬาตะกร้อน้อยกว่านักเรียนชาย ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาจึงควรคำนึงถึงเพศของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้มีความเหมาะสมกับนักเรียนมากที่สุด เช่น นักเรียนหญิงควรที่ให้มีการเรียนการสอน กีฬาวอลเล่ย์บอล ลีลาศ กิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นต้น
- จากการทดลองพบว่านักเรียนไม่ชอบการสอบที่เป็นอัตนัย ดังนั้นครูผู้สอนควรชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการสอบข้อสอบอัตนัย ความจำเป็นโดยให้เหตุผลกับนักเรียนจนเกิดความเข้าใจ
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
- ควรมีการศึกษาการจัดทำการวิจัยโดยใช้ในแนวคิดฐานปัญญาทั้งหลักสูตรในรายวิชาทางพลศึกษา
- ควรศึกษาในปัจจัยด้าน สถานที่ บรรยากาศ ปัญหาการเรียนการสอน เพศ หรือปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการเรียนการสอน
|