โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตรเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
Agricultural Electronic Book for Commemorating the 84th Birthday Anniversary
of His Majesty the King
             หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (electronic book หรือ eBook) หมายถึง หนังสือที่ถูกสร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอ่านได้โดยผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และโปรแกรมแสดงผล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book reader) ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีหลายรูปแบบ เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประเภท .doc, .txt, .pdf , html หรือ ในรูปของ Multimedia ที่มีลักษณะเสมือนการเปิดอ่านหนังสือจริง และสามารถที่เชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ หรือไปยังเว็บไซต์ และแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ เช่น .swf, .dnl

องค์ประกอบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ประกอบด้วย

 

  • Hardware ที่ใช้ในการสร้างหรืออ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Computer desktop, Notebook, Tablet
  • Software เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างหรืออ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีหลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้และเป็นที่รู้จักได้แก่ Flip Album, DeskTop Author, Flash Album Deluxe เป็นต้น
  • Content  หมายถึง หนังสือหรือเอกสารที่อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์


ภาพที่ 1 องค์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                 เป็นการดำเนินงานของสำนักหอสมุด โดยศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์ร่วมกับสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหน่วยงานความร่วมมือในเครือข่ายสารสนเทศเกษตรไทย รวมทั้งหน่วยงานและเจ้าของผลงานที่ยินดีเผยแพร่ผลงานเพื่อให้เป็นคลังความรู้สนับสนุนการเรียน การสอน ของมูลนิธิพระดาบส ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสาขาวิชาเกษตรของสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งเกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป นอกจากนี้ ยังเป็นการอนุรักษ์องค์ความรู้ที่มีการสร้างและสั่งสมมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอันยาวนานของการเกษตรไทย ให้คงอยู่เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตรของประเทศ

การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                 เป็นการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบเสมือนจริง 3 มิติ (3D Page Turning) สามารถเปิดหรือพลิกหน้าเหมือนกับการอ่านจากหนังสือจริง ซึ่งจากการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้นพบว่าส่วนที่สำคัญและใช้เวลามากที่สุด คือ การจัดเตรียม Content ต้นฉบับ ซึ่งหากต้นฉบับ content มีความชัดเจนสมบูรณ์ ก็จะทำให้ได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพและสวยงาม 

กระบวนการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร มี 2 รูปแบบ



ลักษณะรูปแบบของ Content ต้นฉบับ
ลักษณะของ eBook ที่ได้
เอกสารอยู่ในรูปแบบตัวเล่มหนังสือ
  • ไม่สามารถค้นหาเนื้อหา ในตัวเล่มได้ เนื่องจากไฟล์ที่ได้จากการสแกนจะเป็นรูปภาพ
  • ความคมชัดของเนื้อหา น้อยกว่า eBook ที่มาจากไฟล์ .doc
  • เสียเวลาไปในการ scan ทำให้ใช้เวลาในการสร้าง eBook  ค่อนมาก
  • ต้องทำ bookmark เพิ่มเติมเอง
  • ข้อผิดพลาดมากกว่า เช่น Scan ได้ไม่ครบทุกหน้า  ขนาดเอกสารที่ได้มีขนาดไม่เท่ากัน ตัวหนังสือ Scan ได้ไม่ชัด หรือ ไม่ครบ  หน้าหนังสือเรียงสลับกัน เป็นต้น
เอกสารอยู่ในรูปของไฟล์ .doc
  • สามารถค้นหาเนื้อหาที่อยู่ในตัวเล่มได้
  • เนื้อหามีความคมชัด
  • ใช้เวลาน้อยในการสร้าง eBook
  • หากไฟล์ .doc มีการทำ bookmark ไว้แล้ว ก็ไม่ต้องทำ bookmark ใหม่ เพราะ bookmark จะถูกเพิ่มไปพร้อมกับการแปลงไฟล์ให้เป็น pdf
  • ข้อผิดพลาดน้อย

ปัจจัยที่สำคัญในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร มีปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

  1. มาตรฐานของ content ต้นฉบับ ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้  อาทิเช่น resolution ของเอกสารจากการสแกน ขนาดของไฟล์เอกสาร ชนิดหรือรูปแบบของไฟล์รูปภาพ  หรือไฟล์เสียงที่ใช้ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เช่น หากขนาดไฟล์มีขนาดใหญ่มากก็จะทำให้ต้องใช้เวลาในการเปิดอ่านหนังสือ หรือหากใช้ต้นฉบับที่มี resolution ต่ำ ก็จะได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่คมชัด ซึ่งควรจะมีการศึกษาและกำหนดมาตรฐานของ content ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และลักษณะการใช้  รวมไปถึงมาตรฐานการตั้งชื่อไฟล์ ซึ่งไม่ควรตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาไทย
  2. โปรแกรมที่ใช้การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ละโปรแกรมจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน จะต้องเลือกใช้โปรแกรมที่ตรงกับความต้องการ เช่น สามารถสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ในหลายรูปแบบ เช่น เป็นไฟล์ html, exe หรือ ไฟล์ flash เป็นต้น หรือ สามารถที่จะสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย และใช้เวลาน้อย  สามารถกำหนดรูปแบบการแสดงผลหรือใช้งานได้ เช่น อ่านได้อย่างเดียว หรือ สามารถที่จะ print หรือ save ได้หรือไม่ สามารถที่จะค้นหาเนื้อหาในหนังสือได้  และสนับสนุนภาษาไทยหรือไม่ รวมไปถึงราคาของโปรแกรมการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  3. ลิขสิทธิ์ ของหนังสือที่นำมาทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งจะต้องเป็นหนังสือที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับสิทธิ์จากเจ้าของผลงานหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ให้สามารถทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ได้เท่านั้น รวมไปถึงสิทธิในการเข้าถึงหรือใช้หนังสืออิเล็กอิเล็กทรอนิกส์
  4. ารตรวจสอบคุณภาพต้นฉบับ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเอกสารที่มาจากการสแกน โดยจะต้องมีการตรวจทั้งความคมชัดของเนื้อหา จำนวนหน้าเอกสารครบถ้วน ขนาดของหน้าเอกสารที่ควรจะเท่ากันทั้งเล่ม ความถูกต้องของการจัดเรียงหน้าเอกสาร การเชื่อมโยง Bookmark เป็นต้น

การให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร

               หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์และเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งได้ให้บริการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ผู้สนใจสามารถเข้าใช้ได้ที่


คณะผู้วิจัย
ดร.อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ และคณะ
สำนักหอสมุด ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ และศูนย์ประสานงานสารนิเทศ สาขาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร.   0-2942-8616 ต่อ 331-7, 344 – 6