มก. สู่มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
                                      KU. from Agricultural Research College to National Research University
สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(Kasetsart University Institute for Advanced Studies, KUIAS)

          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรบุคคลระดับสูง เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันในเวทีนานาชาติ และจรรโลงความเป็นผู้นำด้านสินค้าเกษตรและอาหารของโลก โดยคำนึงถึงความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเขตร้อนและศักยภาพเชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรชีวภาพ พร้อมทั้งนำวิทยาการสมัยใหม่ ซึ่งครอบคลุม ถึงความก้าวหน้าของนาโนเทคโนโลยี และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมาสร้างนวัตกรรม เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน อีกทั้งเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศโลกและวิกฤตการณ์ด้าน อาหาร ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ดังนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำทางด้านการวิจัยและการศึกษาระดับสูงในภูมิภาค เพื่อตอบสนองความต้องการประเทศและภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ และมุ่งสร้างความพร้อมให้กับประเทศไทยในการเข้าร่วมตามข้อตกลงเขตเศรษฐกิจอาเซียน ตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศเพื่อรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

          ด้วยวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่ "มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของโลกด้านการเกษตร อาหาร เทคโนโลยี และ นวัตกรรม" มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินการจัดตั้ง “สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินภารกิจโครงการ "มหาวิทยาลัยแห่งชาติ" โดยระดมทรัพยากรจากหน่วงานต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติงานร่วมกันที่มีกลไกบริหารเป็นการเฉพาะและมีความอิสระ โดยส่งเสริมการสร้างสภาวะการมีส่วนร่วมระหว่างนักวิจัยและภาคการผลิต (Real Sector) ในการพัฒนาโครงการวิจัยต่างๆ ที่มีความชัดเจนในเป้าหมาย เป้าประสงค์ ผลผลิต และผลลัพธ์

          สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีการบริหารจัดการในรูปของคณะกรรมการบริหารระดับมหาวิทยาลัยซึ่งมีอธิการบดี เป็นประธาน เพื่อกำกับและดำเนินนโยบายการขับเคลื่อนโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติใน ส่วนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ทั้งนี้ โดยมีคณะที่ปรึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยซึ่งประกอบด้วยนักวิจัยและนักวิชาการมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่ยอมรับในระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่ตรงกับทิศทางและอัตลักษณ์ (Direction and Identity) ของมหาวิทยาลัย สถาบันนี้ ประกอบด้วยศูนย์วิทยาการขั้นสูง 4 ศูนย์ ได้แก่

          1.ศูนย์วิทยาการขั้นสูงเพื่อเกษตรและอาหาร(Center for Advanced Studies for Agriculture and Food, CASAF)
          2.ศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านทรัพยากรธรรมชาติเขตร้อน (Center for Advanced Studies in Tropical Natural Resources)
          3.ศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมเคมี อาหารและการเกษตร (Center for Advance Studies in Nanotechnology for Chemical,           Food and Agricultural Industries)
          4.ศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Center for Advanced Studies in Industrial Technology)

          สถาบันฯ มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินโครงการวิจัยริเริ่มแบบมุ่งเป้า (Targeted Research Initiatives) โดยมีคณะกรรมการประจำศูนย์ฯ ทำหน้าที่กำกับการดำเนินงานของศูนย์ฯ ให้บรรลุเป้าหมาย ในแต่ละศูนย์ฯ ประกอบด้วยศูนย์วิจัย และ/หรือ หน่วยวิจัยเฉพาะทาง ซึ่งดำเนินงานในลักษณะทีมนักวิจัยร่วมระหว่างหน่วยงาน (Inter-Department / Inter-Faculty) และใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั้งอาคาร สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ และทรัพยากรบุคคล ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

วิสัยทัศน์ (Vision) ของการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          “มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของโลก ด้านการเกษตร อาหาร เทคโนโลยี และนวัตกรรม”

พันธกิจ (Mission)

  • พัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติที่มีคุณภาพระดับโลก (World-Class University) ด้านการเกษตร อาหาร และเทค โนโลยี
  • พัฒนาศูนย์วิจัยแห่งชาติ (National Research Center) ที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง ด้านการเกษตร อาหาร ทรัพยากร และเ ทคโนโลยี
  • สร้างทรัพยากรบุคคลระดับสูงให้กับประเทศ และพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาระดับสูงด้านการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีในภูมิภาค (Regional Education Hub)

วัตถุประสงค์ (Objectives) เชิงกลยุทธ์

  • ยกระดับความเข้มแข็งด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการเกษตร อาหาร ทรัพยากร และเทคโนโลยี เพื่อการเป็นมหาวิท ยาลัยวิจัยแห่งชาติที่มีคุณภาพระดับโลกอย่างมีทิศทาง และสอดคล้องกับอัตลักษณ์ ศักยภาพและความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัย
  • พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศให้เป็นศูนย์วิจัยแห่งชาติด้านการเกษตร อาหาร ทรัพยากร และเทคโนโลยี และมีเครือข่ายวิจัยระดับนา นาชาติ
  • สร้างกำลังคนระดับสูงในระดับปริญญาเอกและหลังปริญญาเอก สาขาการเกษตร อาหาร ทรัพยากร และเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีระดับนานาชาติ และการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึ กษา การวิจัยพัฒนาและการฝึกอบรมนานาชาติในภูมิภาคด้านการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยี



คณะผู้วิจัย
รศ.ดร.ศรปราชญ์ ธไนศวรรยางกูร และคณะ
สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2579-0113 ต่อ 224