“นาโน ไบโอ โฮม” บ้านปลอดปลวกในอนาคต
“Nano Bio-Home” The future generation of termite free home

              การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (climatic changes) โดยเฉพาะระดับน้ำเค็มใต้ดิน (ground salt water levels) และความร้อนของพื้นพิภพ (global warming) ประสานกับการแผ่ขยายพื้นที่เมือง (urbanization) ที่รวมไปถึงโครงสร้างของเมืองนับตั้งแต่การออกแบบที่อยู่อาศัยไปจนถึงการกำหนดอาคารต่างๆในเมือง โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อปัจจัยที่มีชีวิต (biotic factors) และปัจจัยที่ไม่มีชีวิต (abiotic factors) ที่เป็นพื้นฐานของระบบนิเวศ นำไปสู่ปัญหาต่างๆมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปลวกเข้ามาทำรังภายในบ้าน              งานวิจัยนี้เป็นการผสมผสานนำสารจากพืชที่มีศักยภาพในการกำจัดแมลง (potential botanical pesticides) มาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง วัสดุที่ใช้ประกอบเป็นบ้านไม่ว่าจะเป็นปูน ทราย ฝ้า ผนัง พื้นไม้ แท้หรือเทียม บัวล่างและบน วัสดุตกแต่งอื่นๆ โดยระบบที่ทำให้สารสกัดจากพืชทั้งหลายเหล่านั้นเข้าไปเป็นส่วนประกอบของวัสดุที่ประกอบขึ้นมาเป็นบ้าน พร้อมๆกับการวางระบบโครงสร้างบ้านให้เป็นที่ไม่พึงประสงของปลวกโดยคำนึงถึงความสวยงาม ความสะดวกสบาย การระบายอากาศ และทัศนียภาพให้ผู้อยู่อาศัยเป็นเกณฑ์

              ระบบนี้เป็นการนำสารจากพืชข้างต้น เข้าไปเป็นองค์ประกอบของ ไฟเบอร์ และวัสดุที่อัดประกอบขึ้นเป็นชิ้นส่วนของการสร้างบ้าน โดยทำให้ โมเลกุลของสาระสำคัญในพืชเหล่านั้นอยู่ในปริมาณระดับ 10-6 แทรกตัวอยู่ในวัสดุต่างๆ โดยใช้ระบบ electromagnatic force เข้ากระทำกับมวลโมเลกุลของสาระสำคัญ ก่อนกระจายเข้าสู่ fiber และ particles ของวัสดุปูน หรือสีต่างๆ เมื่อวัสดุเหล่านั้นเสร็จพร้อมใช้งาน ก็จะมีโมเลกุลของสารสำคัญเข้าไปอยู่ทุกๆ particles ของเนื้องาน เป็นการป้องกันปลวกอย่างถาวร โดยไม่ต้องพึงสารเคมีตลอดอายุของ วัสดุเหล่านั้น สาระสำคัญเหล่านี้คือสาร azadirachtin จากเมล็ดในสะเดา สาร citronellal จากตะไคร้หอม  สาร eupathal จากสาบเสือ สาร saponin จากกากเมล็ดชา และสาร volatile oil จากใบยูคาลิปตัส    ผู้สนใจกรุณาติดต่อขอความรู้เพิ่มเติมได้ที่ WWW.SURAPHON.COM หรือ  WWW..VISETSON.COM หรือ WWW.SURAPHONHERBS.COM หรือ ติดต่อโทรศัพท์ 089-980-4983; 089-2609725; 083-1236234;089-6184723

สรุปปัจจัย 7 ประการที่เป็นเหตุทำให้มีปลวกในที่อยู่อาศัย

  1. วัสดุตกแต่งบ้านมาจากวัสดุมาตรฐานต่ำ เช่นทำจากกระดาษ ไม้อัดชานอ้อย ไม้เนื้ออ่อน เปลือกไม้
  2. สะสมอาหารปลวกในที่พักอาศัย เช่นหนังสือ กล่องกระดาษ ฝ้ายิบซั่ม
  3. บริเวณบ้านมีที่มืด ทึบ แสงสว่างเข้าไม่ถึง การระบายอากาศไม่ดี หรือมีร่องรอยรั่ว น้ำซึมของน้ำ
  4. บ้านปลูกติดพื้นดิน หรือส่วนขอโครงสร้างบ้านมีมุมอับ อยู่ในที่เงียบ หรือห่างไกลจากชุมชน
  5. มีรอยแตกของพื้นปูนรอบบ้าน และในตัวบ้าน รวมถึงมีการเชื่อมต่อระหว่างพื้นดินกับวัสดุภายในบ้าน และโครงสร้างการต่อขยายที่มีระบบฐานรากไม่สัมพันธ์กัน
  6. วัสดุไม้หรือกระดาษสัมผัสหรือเชื่อมต่อกับผนังและพื้น  
  7. ไม่มีการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่เป็นกระดาษ และหรือไม้เป็นเวลานาน

สรุปปัจจัย 7 ประการในการควบคุมปลวกในบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ปรับปรุงบ้านทุกๆ 5 ปี เปลี่ยนวัสดุไม้ที่หมดอายุ ซ่อมรอยรั่วซึมของเพดาน หลังคา ห้องน้ำ
  2. ปรับปรุงทางระบายอากาศ และแสงแดด ให้มีอากาศถ่ายเทในทุกพื้นที่ของบ้าน เปิด ประตู หน้าต่าง เป็นประจำ อาทิตย์ละครั้งเป็นอย่างน้อย ปรับปรุงพื้นที่ใต้หลังคาและใต้พื้นบ้านให้มีแสงส่วางเข้าถึง
  3. ม่นำสิ่งของ เช่นตู้  กระดาษ กล่อง วัสดุเหลือใช้วางในพื้นที่รอบบ้าน หมั่นเช็ครอยร้าว แตกของปูนซีเมนรอบบ้าน พื้นบ้าน และในบ้าน ถ้าพบให้ซ่อมทันที
  4. ไม่สะสมวัสดุเหลือใช้ในรูปหนังสือ กระดาษ กล่อง วัสดุไม้เนื้ออ่อน ซึ่งรวมถึงวัสดุตกแต่งผิว ถ้ามีความจำเป็นต้องสะสม ให้ใส่กล่องพลาสติกปิดฝา หรือวางในชั้นเหล็กที่มีล้อเลื่อน ห่างจากผนังและสูงจากพื้น 10 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย
  5. เทพื้นซีเมนต์ ก่อนทำคานคอดิน เสาบ้านสูง 1.20 ม. อย่างน้อย พื้นดิน อัดแน่นด้วยหินสอง รอบโคนเสาทำอ่างบรรจุน้ำสูง 3-4 นิ้ว ปริมาตรน้ำ 5 ลิตร ถ่ายน้ำทุก 6 เดือน
  6. ตรวจสอบด้วยตนเอง เดือนละครั้ง โดยเน้นที่ใต้ตู้ต่างๆในห้องครัว ห้องน้ำ ห้องใต้บันได ห้องเก็บของ ตู้ที่วางสัมผัสพื้น ขอบบัวและวงกบรวมถึงวัสดุ Built in ต่างๆ
  7. ใช้วัสดุที่ปรุงแต่งมาจากกระบวนการ Nano Bio Home ตามการบรรยายข้างต้น

ภาพบ้านที่ใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรในการก่อสร้าง และโครงสร้างที่อยู่อาศัยที่มีการจัดระบบของการป้องกันปลวก แมลง และการระบายอากาศที่ดีอย่างถาวร
Front View อัตราส่วน 1:100

House Draft Specification:
ฐานราก ทำคานระดับดิน เทซีเมนต์สมุนไพรทับ หนา 7 เซนติเมตร
เสา เสาคอนกรีตสมุนไพรทุกต้น สูงจากพื้นซีเมนต์ไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร รอบเสาบุด้วยหินสอง กว้าง 25 เซนติเมตร ลึก 30 เซนติเมตร
คาน วางคานที่ระดับเสาสูงอย่างน้อย 1.20 เมตร  จากนั้นวางแผ่นพื้นปูน วัสดุภายในบ้านเป็นไม้เคลือบสมุนไพ ที่มีอายุได้ขนาด ไม่มีกระพี้ หรือเป็นปีกไม้
ฝ้า  ทำจากกระเบื้องแผ่นเรียบ แผ่นปูนพลาสเตอร์สมุนไพร ใช้วัสดุโลหะทำโครง กลางบ้านใช้กระจกใสสะท้อนแสงลงสู่ชั้นล่าง ตรงทางเดินบันได
หลังคา ดั้ง จั่ว สูงจากขื่อ แป มากกว่า 2.00 เมตร  วางกระเบื้องแก้วโปร่งแสง ทางด้านตะวันตก และตะวันออกเนื้อที่ 10% ของพื้นที่หลังคา พร้อมบุฉนวนความร้อน เว้นว่างในส่วนกระเบื้องแก้วโปร่งแสง
วัสดุ ตกแต่ง ไม่มีไม้อัดชานอ้อยเป็นวัสดุตกแต่ง  ไม้ยางอายุต่ำ  ปีก กระพี้ไม้ โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นกล่อง มืด ทึบ การระบายอากาศไม่ดี ไม่ต่อท่อไฟฟ้าใต้ดิน
ความชื้น ระบบท่อที่ผ่านพื้นดินบุด้วยหินสอง โดยรอบ ลึก 30 เซนติเมตร ก่อนขึ้นสู่ตัวบ้าน ทางห้องน้ำเพียงจุดเดียว ติดบล๊อกแก้ว เรียงกัน 3 ก้อน เป็นระยะๆ เพื่อให้แสงผ่านเข้า พร้อมทำช่องกระจกเพื่อเปิดดูภายในได้ ทุกที่ในช่องท่อต้องแห้งและเย็น
ห้องใต้บันได ติดกับผนังด้านนอก โล่ง ไม่ใช้เป็นห้องเก็บของ  โล่ง และติดบล็อกแก้ว 9 ก้อน ต่อพื้นที่ผนัง 3 ตารางเมตร ถ้าไม่ติดผนังด้านนอกต้องปล่อยโล่ง ใช้วัสดุตกแต่งที่อัดด้วยสมุนไพรบุฝ้า
ห้องเก็บของ  วัสดุที่เป็นกระดาษ หนังสือ ใส่กล่องพล๊าสติกปิดแน่น วางวัสดุกลางห้อง ผนังด้านทิศตะวันตกต้องติดด้านนอกบ้าน พร้อมติดบล็อกแก้ว 9 ก้อน ต่อพื้นที่ฝา 12 ตารางเมตร ถ้าเป็นไปได้ต้องแยกห้องเก็บของออกจากตัวบ้าน

 




คณะผู้วิจัย
รศ.ดร.สุรพล วิเศษสรรค์ และคณะวิจัย  
ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 089-980-4983; 089-2609725; 083-1236234;089-6184723