ที่มาของการจัดตั้ง
จากความห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้หลายประเทศพัฒนา ข้อกำหนด กฎระเบียบ และมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ที่ใช้เป็นเงื่อนไขสำหรับการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเป็นกลไกกระตุ้น ขับเคลื่อน และควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้เล็งเห็นความสำคัญในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการค้าและสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัยต่อสถานการณ์ รวมทั้งองค์ความรู้และความเข้าใจเชิงปฏิบัติของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย อันเป็นการเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อความต้องการของประเทศคู่ค้า ตลอดจนรักษาความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดในระดับสากล ตลอดจนเป็นการสร้างความเป็นผู้นำความเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
วิสัยทัศน์
ผู้นำกลยุทธ์ธุรกิจ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมนำอุตสาหกรรมไทย ก้าวไกลสู่มาตรฐานสากล มุ่งเป้าดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
เป้าหมาย
พัฒนานวัตกรรมองค์ความรู้ และความเข้าใจเชิงปฏิบัติ ตลอดจนให้บริการวิชาการและคำปรึกษาทางเทคนิค กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด หรือมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ที่เป็นเงื่อนไขสำหรับการค้าระหว่างประเทศ
พันธกิจ
-
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
-
ศูนย์บริการวิชาการกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับข้อกำหนด กฎระเบียบ และ มาตรฐานสิ่งแวดล้อม ที่ใช้เป็นเงื่อนไขสำหรับการค้าระหว่างประเทศ
-
ศูนย์จัดอบรมหลักสูตรเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการ แนวทาง และวิธีการเชิงปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อกำหนด กฎระเบียบ และมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ที่ใช้เป็นเงื่อนไขสำหรับการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการเรียนการสอน ด้านการค้าและสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี โท และเอก ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
-
กลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตและการจัดการโดยตลอดห่วงโซ่การผลิตและบริโภค โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร สิ่งทอ และ วัสดุก่อสร้าง
-
ข้อกำหนด กฎระเบียบ มาตรฐานสิ่งแวดล้อม ตลอดจนระบบรับรองและฉลากสิ่งแวดล้อมที่ใช้เป็นข้อกำหนดทางการค้าระหว่างประเทศ
-
ที่ปรึกษาในการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ และผู้ทวนสอบผลการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
-
ที่ปรึกษาขึ้นทะเบียนในการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ Carbon Trust, UK
-
ที่ปรึกษาในการขอรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมสหภาพยุโรป EU Flower
-
ผู้ทวนสอบระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001
-
ผู้ทวนสอบระบบรับรองกุ้ง Aquaculture Certification Council (ACC) ของสหรัฐอเมริกา
-
ผู้ทวนสอบระบบรับรองสัตว์น้ำ The Global Partnership for Good Agriculture Practice (GLOBALG.A.P.) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Euro Retailer produce Working Group of good Agriculture Practice (EUREPGAP) ของสหภาพยุโรป
-
นักวิชาการที่ร่วมให้ข้อคิดเห็นในการพัฒนามาตรฐาน Shrimp Aquaculture Dialogue (ShaD) โดย World Wildlife Fund (WWF)
ผลงานเด่น
-
คณะกรรมการเทคนิคคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ประเทศไทย
-
คณะทำงานทางเทคนิคมาตรฐาน ThaiGAP ระดับชาติ สาขาสินค้ากุ้ง
-
โครงการวิจัย เรื่อง “Food Footprint Calculator to enhance carbon footprint measurement and management in Thai food industry to promote low-carbon economy for climate change mitigation” แหล่งทุนจาก European Commission, Thailand-EC Cooperation Facility Phase II
-
โครงการวิจัย เรื่อง “Capacity building of Thai food industries on "carbon footprint labelling" to promote the development of low-carbon trade between EU and Thailand for climate change mitigation” แหล่งทุนจาก European Commission, Thailand-EC Cooperation Facility Phase I
-
โครงการวิจัย เรื่อง “Sustaining Ethical Aquaculture Trade (SEAT)” แหล่งทุนจาก European Commission, FP7
-
โครงการวิจัย เรื่อง “คาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากคาร์บอนของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร” แหล่งทุนจาก สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
-
โครงการวิจัย เรื่อง “การส่งเสริมการใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม” แหล่งทุนจาก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
-
โครงการวิจัย เรื่อง “การวิเคราะห์และจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ข้าวสำหรับการติดฉลากคาร์บอน เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำในการบรรเทาภาวะโลกร้อน” แหล่งทุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่าย 3
-
โครงการวิจัย เรื่อง “เครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์บนเว็บของไทย” แหล่งทุนจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
-
โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยเครือข่ายการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-textile Product Networking) ของสหภาพยุโรป” แหล่งทุนจาก สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
หลักสูตรอบรมทางเทคนิคเชิงปฏิบัติการ
-
การประเมินวัฏจักรชีวิต (ISO 14040/44, LCA: Life Cycle Assessment)
-
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (ISO 14067 Carbon Footprint, PAS 2050, National Guideline of Product Carbon Footprinting)
-
ระบบการจัดการพลังงาน (ISO 50001: Energy Management System)
-
ฉลากสิ่งแวดล้อมสหภาพยุโรป (EU Flower)
-
ระบบรับรองสัตว์น้ำ (GAP, COC, ACC, GLOBALG.A.P., ShaD – WWF)
-
การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR: Corporate Social Responsibility)