ผลของคาร์บอนอินทรีย์ต่อประสิทธิภาพการบำบัดไนโตรเจนด้วย กระบวนการอนามอกซ์
Effect of Organic Carbon on the Efficiency of Anaerobic Ammonium Oxidation
Process (ANAMMOX)
             ในปัจจุบันกฎหมายของประเทศไทยได้ทวีความเข้มงวดของกฎหมายมากขึ้นในเรื่องของน้ำทิ้งโดยเฉพาะเรื่องของธาตุอาหารจำพวกไนโตรเจน เพราะธาตุอาหารเหล่านั้นทำให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งน้ำหลายประการ เช่นการเกิดยูโทรฟิเคชั่นทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางการคมนาคม ทำให้เกิดโรคเด็กตัวเขียว (Blue Baby) ซึ่งอาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้เนื่องจากการได้รับไนเตรต การทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย นอกจากนี้ธาตุอาหารที่อยู่ในน้ำยังเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำโดยตรงทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำน้ำตายได้

            จากปัญหาต่างๆจึงมีการคิดค้นวิธีการบำบัดไนโตรเจนในแหล่งน้ำซึ่งวิธีการก็มีทั้งวิธีการทางฟิสิกส์ กระบวนการทางเคมี และสุดท้ายคือกระบวนการทางชีววิทยาซึ่งในปัจจุบันเป็นที่แพร่หลายเป็นอย่างมากเพราะเป็นวิธีที่ราคาถูก

          แต่ถึงกระนั้นก็ตามวิธีการบำบัดไนโตรเจนโดยกระบวนการทางชีววิทยาแบบดั้งเดิมก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ จึงมีผู้คิดค้นวิธีการบำบัดไนโตรเจนโดยกระบวนการทางชีววิทยาแบบใหม่ๆ ออกมาซึ่งก็มีมากมายหลายกระบวนการ แต่ในที่นี้จะขอพูดถึงแต่กระบวนการอนามอกซ์ (ANAMMOX) เท่านั้น

วิธีการทดลอง
            ทำการทดลองศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้ถังปฏิกิริยาสองถังโดยที่ถังปฏิกิริยาแรกจะไม่มีการใส่คาร์บอนอินทรีย์ลงไปแต่ในถังปฏิกิริยาที่สองจะมีการเติมคาร์บอนอินทรีย์ลงไป หลังจากนั้นดูผลจากประสิทธิภาพการบำบัดไนโตรเจนในน้ำเสียสังเคราะห์ที่เติมเข้าไปในถังปฏิกิริยา




ภาพที่ 1 แผนภาพแสดงวิธีการทดลอง

ภาพที่ 2 ถังปฏิกิริยาที่ใช้ในการทดลอง

ภาพที่ 3 ลักษณะจุลินทรีย์อนามอกซ์

ภาพที่ 4 ประสิทธิภาพการบำบัดไนโตรเจน

ผลการวิจัย
              จากวิจัยพบว่าจุลินทรีย์อนามอกซ์สามารถบำบัดไนโตรเจนในน้ำได้เป็นอย่างดี (จากประสิทธิภาพในการบำบัด) ซึ่งงานวิจัยที่จะทำต่อไปคือ การเติมคาร์บอนอินทรีย์ลงในระบบเพื่อศึกษาการ   ผลของคาร์บอนอินทรีย์ต่อการบำบัดไนโตรเจนของจุลินทรีย์อนามอกซ์เมื่อมีการเติมคาร์บอนอินทรีย์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทราบประสิทธิภาพ และกลไกในการบำบัดไนโตรเจนโดยจุลินทรีย์กลุ่มอนามอกซ์(ANAMMOX) โดยใช้อะซิเตตเป็นแหล่งคาร์บอน
  2. ทราบความเข้มข้นที่เหมาะสมของอะซิเตต และโพรพิโอเนตที่ใช้ในการบำบัดไนโตรเจน

 

คณะผู้วิจัย
นายธนฉัตร ชิตโสภณดิลก และผศ.ดร.สัญญา สิริวิทยาปกรณ์
ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 089-687-8813