เทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ: แรงขับเคลื่อนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศไทย
Packaging and materials technology (PKMT): Empowering our country

                        ปัจจุบันเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุมีบทบาทสำคัญสำหรับหลายอุตสาหกรรม ทั้งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและไม่ใช่อาหาร โดยเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุเป็นแกนกลางสำคัญในการผลักดันประเทศสู่ความเป็นผู้นำ และแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ บรรจุภัณฑ์ไม่เพียงแต่มีหน้าที่ในการห่อหุ้มสินค้าเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สำคัญในการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดจากการเคลื่อนย้ายหรือการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ยังช่วยรักษาคุณภาพของสินค้า ช่วยยืดอายุการเก็บ อำนวยความสะดวกในการขนส่งและใช้งานให้กับผู้บริโภค เช่น ช่วยอำนวยความสะดวกในการเปิดใช้ เป็นต้น นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ยังมีหน้าที่สำคัญในการสื่อข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าภายในให้แก่ผู้บริโภค และที่ขาดไม่ได้จะพบว่าบรรจุภัณฑ์นั้นสามารถช่วยในการส่งเสริมการขาย โดยเป็นตัวกลางในการสื่อถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าให้กับผู้บริโภค

                        เราจะเห็นได้ว่าสินค้าแทบทุกชนิดจำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง และรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมาจากการส่งออกสินค้า จำพวกอาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง สินค้าสิ่งทอหรืออื่นๆ ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยไม่ปลดปล่อยสารที่เป็นอันตรายสู่อาหารหรือผลิตภัณฑ์ สามารถปกป้องรักษาคุณภาพสินค้าไปยังประเทศปลายทางและแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

                        เทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุเป็นศาสตร์ที่สำคัญซึ่งมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน สร้างความมั่นคงและปลอดภัยต่อประชากร รวมทั้งสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  ซึ่งสามารถสรุปพอสังเขปได้ดังนี้

1. ด้านการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic growth)

                    ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีส่วนช่วยในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยสร้างนวัตกรรมและพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ วัสดุชีวฐาน และวัสดุย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการบรรจุและอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    นอกจากการพัฒนาวัสดุทางการบรรจุที่มีศักยภาพแล้ว  การเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้ายังสามารถพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ ซึ่งสามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย


Bio-based and biodegradable materials:
Dr. Rangrong Yoksan, Dr. Amporn Sane and Asst. Prof.  Namfone Lumdubwong

3bt
Distribution packaging structural design:
Asst. Prof.Tunyarut Jinkarn

 

  


Asia Star 2009 Award: Undergraduate student

 

untreat-50mTorr 50W 10min เทา
Coating and surface modification research:
Asst. Prof. Tunyarut Jinkarn

 

Sample3
Packaging and consumer behavior :
Asst.Prof. Pinya Silayoi

 


Distribution packaging and system research:
Assoc.Prof. Vanee Chonhenchop

2. ด้านการสร้างสังคมที่ยั่งยืน

                    ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ ของคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีส่วนช่วยในการสนับสนุนการสร้างสังคมที่ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนากระบวนการขึ้นรูปสำหรับวัสดุทางการบรรจุ และการให้ความรู้ทางด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น บรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ


 
KU Green:
Assoc. Prof. Ngamtip Poovarodom



Bio-based and biodegradable packaging:
Dr. Rangrong Yoksan, Dr. Amporn Sane and Asst. Prof.  Namfone Lumdubwong

 


Converting technology optimization of biodegrable plastic: National Research Unit of Bio-Based and Smart Materials for Packaging Industry

 

DSCF6097
Environmentally packaging from Agricultural and industrial waste: Dr. Lerpong Jarupan



3. ด้านความมั่นคงและความปลอดภัย

               ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีส่วนช่วยในการสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและประชากร ด้วยการให้ความสำคัญในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ศึกษาและหามาตรการป้องกันสำหรับวัสดุที่อาจปลดปล่อยสารที่เป็นอันตรายสู่อาหารและผลิตภัณฑ์  รวมทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์แอคทีฟและบรรจุภัณฑ์ฉลาดที่สามารถบ่งชี้คุณภาพหรือให้ข้อมูลด้านต่างๆเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจซึ่งรวมถึงการลดความสูญเสียโดยการใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาของอาหารและผลิตผลสดทางการเกษตร


Migration and safety of packaging materials: Assoc. Prof. Ngamtip Poovarodom


Intelligent packaging:
Asst. Prof. Panuwat Supakul

 


Active packaging film for fresh produce:
Assoc. Prof. Vanee Chonhenchop

 

02_CheeseApplication
Active packaging:
Asst. Prof. Panuwat Supakul


4. ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคลากร

                   ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ  คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีส่วนช่วยในการพัฒนาความสามารถของบุคลากร ด้วยการสร้างผู้เชี่ยวชาญในสายวิชาชีพด้านการบรรจุและวัสดุ   ทางภาควิชาฯได้เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยภาควิชาฯมุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอนและงานวิจัยในระดับสากล   นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ความรู้ และประสบการณ์สู่ภาคอุตสาหกรรมและผู้สนใจทั่วไปอีกด้วย


คณะผู้วิจัย
อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ
ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 02-526-5045