การวิจัยและพัฒนามะขามป้อม: พันธุกรรม การขยายพันธุ์และผลิตภัณฑ์
Emblic Research and Development : Variety, Propagation and Products

                       ประเทศไทยยังไม่มีพันธุ์มะขามป้อมที่ชัดเจนเป็นของตัวเองและยังไม่มีการคัดเลือกและการปรับปรุงพันธุ์เพื่อสร้างพันธุ์ที่ดีตามหลักวิชาการเพื่อเป็นพันธุ์มาตรฐานสำหรับส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้า จะมีบ้างที่เกษตรกรและผู้สนใจจริงได้คัดเลือกพันธุ์จากธรรมชาติด้วยตัวเองโดยคัดเลือกผลมะขามป้อมที่มีขนาดใหญ่มาบริโภคแล้วนำเมล็ดไปเพาะและเมื่อปลูกได้ผลดีก็นำไปเผยแพร่ ปัจจุบันมีผู้นำพันธุ์จากประเทศอินเดียมาปลูกและขยายพันธุ์ขายแต่จะมีราคาสูงมากเนื่องจากพันธุ์จากอินเดียจะมีผลขนาดใหญ่มีวิตามินซีสูง  

                       ในปัจจุบันก็เริ่มมีการปลูกมะขามป้อมเป็นการค้ากันบ้างแล้วในเขตท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี  ราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์แต่ยังมีพื้นที่ไม่มากนัก ในการคัดเลือกพันธุ์โดยทั่วไปของเกษตรกรจะพิจารณาจากขนาดของผลเป็นประการสำคัญ โดยจะคัดเลือกเฉพาะต้นที่ให้ผลที่มีขนาดใหญ่ไว้ขยายพันธุ์ปลูกและจำหน่าย โดยยังไม่สามารถวิเคราะห์คุณภาพของผลหรือองค์ ประกอบทางเคมีที่สำคัญของผลได้ คุณค่าที่สำคัญของผลมะขามป้อมอยู่ที่ปริมาณสารสำคัญในผลไม่ว่าจะเป็นปริมาณวิตามินซี แทนนิน น้ำตาล กรดและอื่นๆ  อย่างไรก็ตามนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เริ่มงานวิจัยในการค้นหาสายพันธุ์ที่ดี ทำการศึกษาการเขตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะขามป้อม โดยได้สำรวจและเก็บตัวอย่างมะขามป้อมจากแหล่งธรรมชาติที่มีมะขามป้อมขึ้นกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆทุกภาคของประทศไทย   นำตัวอย่างผลไปวิเคราะห์คุณภาพพร้อมกับนำกิ่งไปขยายพันธุ์ปลูกรวมไว้ที่สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร(แปลงรวมพันธุ์ฯ)  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  อำเภอบางสะพานน้อย  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   

การพัฒนาพันธุ์

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ.2553ได้


Diameter  2.80 cm.    Weight  11.14 gm.
Vitamin C  245.55 *  Phenolic 380.14 **
TSS  15.8 °B             Acid  3.60 %
Fiber   2.65 %  


Diameter  2.93 cm.    Weight  12.95 gm.
Vitamin C  373.94 *  Phenolic 367.48 **
TSS  13.4 °B            Acid  3.39 %
Fiber   1.57 %


Diameter   2.96 cm.    Weight  10.39 gm.
Vitamin C  26.20 *     Phenolic 246.49 **
TSS  11.0 °B              Acid  2.75 %
Fiber  2.13 %


Diameter  3.51 cm.   Weight  22.43 gm.
Vitamin C  37.34 *     Phenolic 134.90 **
TSS  8.4 °B               Acid  1.98 %
Fiber  1.77 %


Diameter   2.06 cm.   Weight  4.71 gm.
Vitamin C  9.88 *       Phenolic 369.10
TSS   6.55 °B             Acid  3.07 %
Fiber  1.96 % 


Diameter   2.36 cm.  Weight  6.94 gm.
Vitamin C  341.44 *   Phenolic 351.27 **
TSS  7.95 °B            Acid 3.07 %
Fiber  2.73 %

                       ดำเนินการสำรวจและคัดเลือกสายพันธุ์มะขามป้อมจากธรรมชาติและแหล่งปลูกต่างๆที่มีลักษณะดีเด่นไว้จำนวน 10 สายพันธุ์คือ N-17, C-18, K-27, K-28, B-29, B-30, B-33, Lo-36, La-38 และ K-39


Diameter  2.70 cm.    Weight  11.02 gm.
Vitamin C  76.03 *     Phenolic 462.85
TSS  9.0 °B             Acid  3.18 %
Fiber  2.50 %


Diameter  3.20 cm.   Weight  16.80 gm.
Vitamin C 263.50 *    Phenolic 398.95 **
TSS  9.1 °B             Acid  2.66 %
Fiber  1.56 %


Diameter  2.27 cm.    Weight  5.63 gm.
Vitamin C  256.73 *   Phenolic 457.66 **
TSS 13.0 °B              Acid  3.30 %
Fiber  2.79 % 


Diameter  2.62 cm.    Weight  10.01 gm.
Vitamin C 64.34 *      Phenolic 278.28 **
TSS  12.0 °B            Acid  2.55 %
Fiber  2.34 %             

*  mg./100 pulp          **  mg. GAE/100gm. extract

                  ประเทศอินเดียซึ่งมีการปลูกมะขามป้อมเป็นการค้าอย่างกว้างขวาง  มีพันธุ์ปลูกที่สำคัญเป็นหลักอยู่ 3 พันธุ์คือ  พานาราสี(Banarasi)    ฟรานซิส(Francis) และชาไคยา(Chakaiya)    ทั้ง 3 พันธุ์มีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกัน    นอกจากพันธุ์ที่นิยมปลูกทั้ง 3 พันธุ์ดังกล่าวแล้วก็ยังมีพันธุ์อื่นๆอีกเช่น      คานจัน(Kanchan)   กฤษณา(Krishna)   เดชิ(Deshi)   อนันต์-1  อนันต์- 2 และ อนันต์- 3    เป็นต้น   ภาพรวมของผลผลิตในอุตตรประเทศในอินเดียอยู่ที่ประมาณ 10-15 ตันต่อเฮกตาร์ต่อปี(1.6-2.4 ตันต่อไร่ต่อปี) ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากที่สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากรที่ให้ผลผลิตได้เฉลี่ย 20 ถึง 50 กิโลกรัมต่อต้นต่อปีที่อายุต้น 10 ปีโดยปลูกไร่ละ 100 ต้น(ระยะปลูก 4x4 เมตร)

                  จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้ทราบว่ามะขามป้อมในธรรมชาติแต่ละต้นจะมีคุณภาพที่แตกต่างกันมากมิใช่ขึ้นชื่อว่าเป็นมะขามป้อมแล้วจะต้องมีแทนนินสูงหรือวิตามินซีสูงเสมอไป    จึงควรจะต้องทำการสำรวจเพื่อค้นหาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีเหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์แต่ละด้าน เช่นถ้าเป็นต้นที่มีผลขนาดใหญ่ก็เน้นการทำขนมหรืออาหารที่คงสภาพขนาดผลใหญ่เพื่อให้ดูดึงดูดสายตา  ถ้าเป็นต้นที่ผลมีแทนนินหรือวิตามินซีสูงก็เน้นการใช้ประโยชน์ด้านสกัดสารเป็นยาหรือเป็นอาหารเพื่อสุขภาพเป็นต้น    โดยในที่สุดก็คงจะต้องมีการผสมพันธุ์หรือปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้ต้นที่มีคุณภาพดีเด่นในด้านต่างๆรวมอยู่ในต้นเดี่ยวกัน

การขยายพันธุ์                   

                   ในอดีตการขยายพันธุ์มะขามป้อมใช้การเพาะเมล็ดโดยนำเมล็ดจากผลที่แก่เต็มที่มาแกะเนื้อผลออกแล้วตากแดดเพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ด(endocarp)แตก    การตากแดดควรใส่ในถุงตาข่ายที่มีตาถี่เพื่อป้องกันเมล็ดกระเด็นหายเนื่องจากแรงดีดของเปลือกหุ้มเมล็ด    ภายในเปลือกหุ้มเมล็ดของแต่ละผลจะมีเมล็ด 6 เมล็ดแต่อาจไม่สมบูรณ์ครบทั้ง 6 เมล็ด

                    ใการปลูกด้วยต้นเพาะเมล็ดจะทำให้ได้ผลผลิตช้าอาจใช้เวลานาน 5 ถึง 8 ปีขึ้นอยู่กับคุณภาพของต้นและสภาพแวดล้อมของการเจริญเติบโตและอาจได้ต้นที่คุณภาพต่างไปจากต้นเดิม  สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร  อำเภอบางสะพานน้อย  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทำการเพาะเมล็ดในตะกร้าแล้วย้ายลงปลูกในถุง ต้นกล้าจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้นประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตรเมื่ออายุ 1 ปี การปลูกมะขามป้อมจากต้นเพาะเมล็ดมีความเสี่ยงต่อความแปรปรวนทางพันธุกรรม อาจได้ต้นที่มีคุณภาพไม่เหมือนต้นเดิมจะทำให้มีปัญหาด้านคุณภาพของผลในกรณีปลูกเป็นการค้า    ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนลำต้นมากขึ้นเพราะจะทำให้ได้ต้นที่มีลักษณะดีเด่นเหมือนต้นเดิมทุกประการ    วิธีการที่เหมาะสมในการติดตาและต่อกิ่งสำหรับต้นในถุงชำมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของต้นตอและฤดูกาลที่ทำการเปลี่ยนยอดพันธุ์   วิธีการที่แนะนำเช่นการติดตาแบบ  chip หรือการเสียบกิ่งแบบ cleft หรือ side grafting ก็ได้

Chip budding

cleft grafting

side grafting

                  นอกจากนี้การเปลี่ยนยอดพันธุ์(top working)บนต้นตอที่มีกิ่งขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0 ถึง 2.5 นิ้วก็สามารถทำได้  โดยได้ทดลองติดตาและต่อกิ่งบนกิ่งขนาดดังกล่าวแล้ว พบว่าการเสียบกิ่งแบบเสียบเปลือก( bark grafting) ให้ผลการติด 90 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์  ส่วนการติดตาแบบเพลท(budding)บนกิ่งขนาดใหญ่จะให้เปอร์เซ็นต์การติดประมาณ 60 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์

การเสียบกิ่ง(side grafting)บนกิ่งขนาดใหญ่

ต้นตอขนาดใหญ่หลังเปลี่ยนยอด 5 เดือน

เครื่องสำอางเพื่อผิวขาวผสมสารสกัดจากผลมะขามป้อม

                 ปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับเครื่องสำอางที่ส่วนผสมของสารสกัดจากธรรมชาติ โดยเฉพาะประเภทผลิตภัณฑ์เพื่อลดการเกิดฝ้า กระ หรือริ้วรอยหมองคล้ำ ส่งผลให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวจากสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติได้รับความสนใจมากขึ้น  สารทำให้ผิวขาวหลายชนิดมักมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) และ/หรือฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน จึงส่งผลให้การสร้างเมลานินในผิวหนังลดลงและผิวพรรณขาวสดใสขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะสารสกัดจากผลมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) พบว่าสามารถออกฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และฤทธิ์ต้านเอนไซม์ tyrosinase  ถึงแม้จะใช้ความร้อนและตัวทำละลายเอธิลอะซีเตดก็ยังออกฤทธิ์ต้านเอนไซม์ tyrosinase สูงกว่าตัวทำละลายประเภทอื่นๆและพบว่าสารสกัดมะขามป้อมมีความคงตัวดีในการต้านออกซิเดชัน ช่วยป้องกันผิวหนังจากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ และ tyrosinase ดังนั้นมะขามป้อมจึงมีประโยชน์ในเชิงนำมาพัฒนาในผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวขาวได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากอุดมด้วยวิตามินซี gallic acid และ emblicanin ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดการถูกทำลายของผิวจากแสงแดดและอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ จึงนับได้ว่าเป็นสารต้านออกซิเดชันที่ดี ดังนั้นทีมคณะนักวิจัยจึงได้นำสารสกัดผลมะขามป้อมมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวในสูตรตำรับโลชันบำรุงผิว (แสดงดังภาพ) เรียกว่า Emblica KU ซึ่งสามารถต้านออกซิเดชั่นได้ดีขึ้นตามความเข้มข้นของสาร gallic acid และตรวจไม่พบอาการแพ้เมื่อทดสอบความระคายเคืองต่อผิว การทดสอบในอาสาสมัครพบว่าสารสกัดผลมะขามป้อมสารมารถเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิวหนังและทำให้ผิวขาวขึ้นได้เมื่อใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง เมื่อนำไปใส่ในอิมัลชันเบสพบว่าไม่พบการเปลี่ยนแปลงหลังผ่านการทดสอบความคงตัว สารสกัดผลมะขามป้อมจึงจัดได้ว่าเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำให้หน้าขาว การใช้สารสกัดที่ได้มาจากพืชพื้นเมืองของไทย จึงนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยกันพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำให้หน้าขาวสำหรับคนไทย    และเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อลดการขาดดุลทางการค้า และยังสามารถช่วยสนับสนุนผลิตผลทางการเกษตรของเกษตรกรไทยได้ทางหนึ่ง

โลชันปรับสภาพผิวขาวผสมสารสกัดหยาบจากผลมะขามป้อม

 

 

คณะผู้วิจัย
นายนคร เหลืองประเสริฐ นายสุดประสงค์ สุวรรณเลิศ  น.ส.นิภา เขื่อนควบ และนางนวลปรางค์  ไชยตะขบ
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
น.ส.สุพนิดา วินิจฉัย
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
น.ส.พิศมัย ศรีชาเยช
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 081-850-7706