การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา (D x P) และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
การผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมแก่เกษตรกร
The research on breeding of Tenera (DXP) oil palm and appropriate technology transfer
of oil palm production to the farmer.

                        จากวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำมันปาล์มเพื่อบริโภคในประเทศไทยในขณะนี้ ( ม.ค.2554 ) จนกระทั่งรัฐบาลประกาศขึ้นราคาน้ำมันปาล์ม  ขวดละ  9  บาท  เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของน้ำมันปาล์มที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนคนไทย  วิกฤตครั้งนี้สาเหตุหลักเกิดจากสภาวะฝนแล้งทำให้เกิดภาวะ “ ปาล์มขาดคอ ”  ตามภาษาชาวบ้าน  คือปาล์มไม่ติดผล  ทำให้วัตถุดิบป้อนโรงงานหีบน้ำมันมีไม่เพียงพอ  ถึงแม้โรงงานจะประกาศรับซื้อในราคาแพง  ถึงกิโลกรัมละ  8  บาท  ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่มีการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทยก็ยังไม่มีปาล์มเข้าโรงงานหีบอย่างเพียงพอกับความต้องการ  ดังนั้น  วันนี้บทบาทของปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเป็นอยู่  ความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจที่จะเป็นพืชน้ำมันส่งออก  เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร  และประเทศชาติ  จะว่าไปแล้วปาล์มน้ำมันเป็นพืชน้ำมันอันดับ  1  ของโลก  ในปริมาณการใช้และมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างมากมาย    ซึ่งน่าจะถึงเวลาแล้ว ( ยังไม่สายเกินไป ) ที่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ( โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย ) ควรหันมาให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง  งานวิจัยคือหัวใจที่จะช่วยเกษตรกรให้มีความรู้ในการปลูกปาล์มให้มีผลตอบแทนสูงสุดรวมทั้งการมีพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตสูงในสภาพแวดล้อมของไทยและลดการนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศที่ราคาแพงกว่าแต่คุณภาพไม่แตกต่างหรือน่าจากดีกว่าด้วยซ้ำไป  ดังนั้นคณะวิจัยจึงนำเสนอข้อมูล  งานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม  DxP  ของสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ในส่วนที่สามารถเผยแพร่ขั้นตอนงานวิจัยก่อนการประกาศพันธุ์เป็นทางการต่อไป

                        ปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacp.)  เป็นพืชน้ำมันที่สำคัญของประเทศไทย การทำสวนปาล์มน้ำมันเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรในภาคใต้       และเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคและบริโภค  ผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ      แนวโน้มในอนาคตปาล์มน้ำมันจะเข้ามามีบทบาทในการเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล   เพื่อทดแทนน้ำมันดีเซล  ซึ่งแนวโน้มมีราคาแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว  ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตน้ำมันต่อพื้นที่สูงสุด เมื่อเทียบกับพืชน้ำมันในกลุ่มพืชที่ให้น้ำมันที่สำคัญ  4  ชนิด คือ  ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง  Rapeseed  และทานตะวัน  พบว่าน้ำมันปาล์ม (crude palm oil) มีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดคือ กิโลกรัมละ  10  -  11.50  บาท  ในขณะที่น้ำมันถั่วเหลืองมีต้นทุนการผลิตกิโลกรัมละ  18  บาทซึ่งปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่ทนทานต่อผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากกว่าพืชอายุสั้นอื่นๆ ลงทุนเพียงครั้งเดียวก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน  25-30  ปี

                        จากวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำมันปาล์มเพื่อบริโภคในประเทศไทยในขณะนี้ ( ม.ค.2554 ) จนกระทั่งรัฐบาลประกาศขึ้นราคาน้ำมันปาล์ม  ขวดละ  9  บาท  เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของน้ำมันปาล์มที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนคนไทย  วิกฤตครั้งนี้สาเหตุหลักเกิดจากสภาวะฝนแล้งทำให้เกิดภาวะ “ ปาล์มขาดคอ ”  ตามภาษาชาวบ้าน  คือปาล์มไม่ติดผล  ทำให้วัตถุดิบป้อนโรงงานหีบน้ำมันมีไม่เพียงพอ  ถึงแม้โรงงานจะประกาศรับซื้อในราคาแพง  ถึงกิโลกรัมละ  8  บาท  ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่มีการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทยก็ยังไม่มีปาล์มเข้าโรงงานหีบอย่างเพียงพอกับความต้องการ  ดังนั้น  วันนี้บทบาทของปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเป็นอยู่  ความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจที่จะเป็นพืชน้ำมันส่งออก  เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร  และประเทศชาติ  จะว่าไปแล้วปาล์มน้ำมันเป็นพืชน้ำมันอันดับ  1  ของโลก  ในปริมาณการใช้และมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างมากมาย    ซึ่งน่าจะถึงเวลาแล้ว ( ยังไม่สายเกินไป ) ที่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ( โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย ) ควรหันมาให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง  งานวิจัยคือหัวใจที่จะช่วยเกษตรกรให้มีความรู้ในการปลูกปาล์มให้มีผลตอบแทนสูงสุดรวมทั้งการมีพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตสูงในสภาพแวดล้อมของไทยและลดการนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศที่ราคาแพงกว่าแต่คุณภาพไม่แตกต่างหรือน่าจากดีกว่าด้วยซ้ำไป  ดังนั้นคณะวิจัยจึงนำเสนอข้อมูล  งานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม  DxP  ของสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ในส่วนที่สามารถเผยแพร่ขั้นตอนงานวิจัยก่อนการประกาศพันธุ์เป็นทางการต่อไป

                        ปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacp.)  เป็นพืชน้ำมันที่สำคัญของประเทศไทย การทำสวนปาล์มน้ำมันเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรในภาคใต้       และเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคและบริโภค  ผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ      แนวโน้มในอนาคตปาล์มน้ำมันจะเข้ามามีบทบาทในการเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล   เพื่อทดแทนน้ำมันดีเซล  ซึ่งแนวโน้มมีราคาแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว  ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตน้ำมันต่อพื้นที่สูงสุด เมื่อเทียบกับพืชน้ำมันในกลุ่มพืชที่ให้น้ำมันที่สำคัญ  4  ชนิด คือ  ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง  Rapeseed  และทานตะวัน  พบว่าน้ำมันปาล์ม (crude palm oil) มีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดคือ กิโลกรัมละ  10  -  11.50  บาท  ในขณะที่น้ำมันถั่วเหลืองมีต้นทุนการผลิตกิโลกรัมละ  18  บาทซึ่งปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่ทนทานต่อผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากกว่าพืชอายุสั้นอื่นๆ ลงทุนเพียงครั้งเดียวก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน  25-30  ปี

                       พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในโลกจะอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่  20  องศาเหนือ – ใต้    ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาค  ที่ได้เปรียบและสามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้ดี และยังมีโอกาสขยายพื้นที่ปลูกได้ไม่ต่ำกว่า  5 ล้านไร่ เนื่องจากมีพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น  พื้นที่นาร้าง    และพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่อนุรักษ์สภาพแวดล้อม (eco-friendly crop) เมื่อปลูกปาล์มน้ำมันเป็นระยะเวลายาวนานจะทำให้สภาพนิเวศน์ที่เสียหายไปกลับคืนสู่สภาพธรรมชาติ    นอกจากนี้  ยังสามารถสกัดองค์ประกอบจากน้ำมันปาล์ม ได้แก่   กรดไขมันหลายชนิด  วิตามินอี  และวิตามินเอ นำมาใช้ประโยชน์และใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมอาหาร   อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง  อุตสาหกรรม Oleochemical  และพลังงานทดแทน    รวมทั้งเป็นพืชที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคเพราะไม่มีการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs)  สรุปได้ว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีโอกาสและมีศักยภาพสูงมากสำหรับประเทศไทย

                        ประเทศไทยมีพื้นที่บางส่วนที่เหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมันได้ดีให้ผลผลิตสูง  แต่ยังปัญหาหลายอย่างโดยเฉพาะในเรื่องของพันธุ์ที่มีคุณภาพ  การจัดการสวนปาล์มอย่างถูกต้องและข้อจำกัดของเกษตรกรเองในเรื่องความรู้เรื่องการปลูกปาล์มที่ถูกต้องเหมาะสม  ดังนั้นการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวจึงมีความจำเป็นสำหรับพืชเศรษฐกิจอย่างปาล์มน้ำมัน ซึ่งนับว่ามีบทบาทและมีความสำคัญต่อประเทศไทยในแง่ของพืช ที่ให้น้ำมันที่มีศักยภาพสูงในการให้ผลผลิต และการขยายพื้นที่ปลูกตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ดังนั้นในปี 2547 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับบริษัทเกษตร 23ร่วมกันจัดทำโครงการพัฒนาวิชาการ เพื่อวิจัยและผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา (D x P) ที่ให้ผลผลิตสูงในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โดยใช้ต้นแม่พันธุ์ดูร่าที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์มาตรฐานลักษณะแม่พันธุ์ที่ดี โดยมีการคัดสายพันธุ์จากต้นดูร่าดั้งเดิม ที่หม่อมเจ้าสิทธิพร  กฤดากรนำเข้ามาปลูกที่ฟาร์มบางเบิดเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ซึ่งมีเกษตรกรบริเวณใกล้เคียงฟาร์มบางเบิดนำเมล็ดไปปลูกแพร่กระจายไม่ต่ำกว่า 20,000 ต้น โดยมีการปลูกจากเมล็ดต้นดูร่าไม่ต่ำกว่า 2 -3 รุ่น ทำให้มีการปรับตัวในสภาพแวดล้อมของประเทศไทยกว่า 80 ปีทั้งนี้มีการตรวจสอบสายพันธุ์จากDNA เปรียบเทียบกับต้นดั้งเดิมที่เหลืออยู่ ในปัจจุบัน

วิธีวิจัยและผลการวิจัย

  1. การรวบรวมสายพันธุ์แม่ ดูร่า จากแหล่งพันธุ์ที่ทราบพันธุ์ประวัติชัดเจน  เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์แม่ที่มีลักษณะตรงตามต้องการ โดยจัดทำแปลงรวบรวมสายพันธุ์ดูร่า ภายในพื้นที่ สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร  ส่วนสายพันธุ์คัดเลือกสายพันธุ์พิซิเฟอร่า จากประชากรปาล์มน้ำมันที่มีการถ่ายทอดมาหลายชั่วรุ่น(จาก แหล่งคัดเลือกสายพันธุ์พิซิเฟอร่าของบริษัทเอกชน)จากนั้นนำมาทดสอบคู่ผสมและคัดเลือกพันธุ์ที่ดีเด่น ตามคุณสมบัติ ที่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมเทเนอร่า ของกรมวิชาการเกษตร
  2. คัดเลือกต้นพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่(Individual Selection) ที่เป็นพ่อและแม่พันธุ์ของลูกผสมที่ดีเด่น จากประชากรสายพันธุ์พ่อและสายพันธุ์แม่ (Family Selection) ที่ผ่านการผสมตัวเองหรือผสมข้ามต้นในสายพันธุ์พ่อ และพันธุ์แม่ในแปลงพ่อและแม่พันธุ์ (seed garden)   นำไปปลูกในแปลงผลิตพ่อแม่พันธุ์   และคิดค้นที่จะใช้เป็นพ่อ – แม่ พันธุ์   โดยพิจารณาต้นพันธุ์ที่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน เป็นต้นที่ใช้สำหรับผลิตเมล็ดลูกผสม (D x P) ต่อไป
  3. นำเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการจับคู่ผสมแม่และพ่อพันธุ์ D x P มาผ่านขบวนการเพื่อให้เมล็ดงอกแล้วปลูกทดสอบในแปลงทดลองของสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากรเพื่อทดสอบผลผลิตแต่ละคู่ผสม เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ข้อมูลผลผลิต   องค์ประกอบผลผลิต   เพื่อใช้เปรียบเทียบหาคู่ผสมที่ต้องการ

สรุป

  1. จากขั้นตอนและขบวนการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม เทเนอร่า  (DxP = T)   ทำให้ได้คู่ผสม  จำนวน  16   คู่ผสม
  2. ปลูกทดสอบคู่ผสม 16 คู่ผสม ภายในสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากรและพื้นที่อื่นๆของประเทศไทยโดยคัดเลือกคู่ผสมที่มีศักยภาพสูง 6 คู่ผสม
  3. จัดสร้างแปลงแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ที่ปลูกภายในพื้นที่สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร รวม   25  ไร่

                จากการปลูกทดสอบคู่ผสมในแปลงทดสอบที่มีการให้ระบบน้ำชลประทานพบว่าคู่ผสม number 17/2 เริ่มออกดอกช่อแรกเมื่อต้นปาล์มอายุ 12 เดือนหลังปลูก และทุกคู่ผสม(ที่มีการให้น้ำ)จะออกดอกเมื่อต้นปาล์มอายุ 18-20 เดือน  ( นับจากเพาะเมล็ด )  สำหรับแปลงทดสอบคู่ผสมที่ไม่มีการให้น้ำยังไม่เริ่มออกดอกเมื่อต้นปาล์มอายุ 18 เดือน แต่จะเริ่มออกดอกเมื่อต้นปาล์มอายุ  24  เดือน ขณะนี้อยู่ในช่วงการเก็บข้อมูลผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต ผลผลิตน้ำมันในทะลายต่อพื้นที่  เพื่อใช้เป็นเกณฑ์คัดเลือกคู่ผสมดีเด่นต่อไปและคาดว่าจะสามารถเผยแพร่เมล็ดพันธุ์อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2554

แปลงเพาะกล้าน้ำมันต้องมีการคัดเลือกต้นที่มีลักษณะไม่ดีทิ้งไป ประมาณ  15 -20 %  ในช่วงอายุ 
3 -  8  เดือน  เช่น  ต้นแคระแกรน  ใบบิด  ใบไม่คลี่เป็นขนรก  เมื่อได้อายุ  8  เดือน  ใบด่าง  ต้นตัวผู้  เป็นต้น

 


เมื่อผ่านการคัดเลือกต้นกล้าปาล์มที่ปลูกต้องถูกต้องตามลักษณะจะเลี้ยงอยู่ในถุงดำ  ขนาด 
8    x  16  นิ้ว  จนเมื่ออายุได้  10-14  เดือน  ก็พร้อมลงปลูกในแปลงได้ 

                     
               ต้น  No. B 17  และ  C 13  ที่ผ่านการคัดเลือกมีลักษณะเด่นคือ  มีปริมาณน้ำมันในส่วนเนื้อใน 
( KPO  )  สูงเป็นพิเศษ  ประมาณ  40 – 42  %  ปริมาณน้ำมันในส่วนเปลือก  ( CPO )  35- 40 %  ( วิเคราะห์ปริมาณน้ำมันโดยใช้ตัวทำละลาย )  โดยมีลักษณะทางพฤษศาสตร์ของลำต้น  ทางใบ  ใบย่อย  ทรงพุ่ม  ที่เหมาะสมผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและให้ผลผลิตปาล์มทะลายต่อต้นมากกว่า  200  กิโลกรัม  / ต้น / ปี  หรือ   4.4  ตัน / ไร่ / ปี

             

                    ต้น  No.C16  ที่ผ่านการคัดเลือกมีลักษณะเด่นคือให้จำนวนทางใบ  หรือทะลายต่อปีสูง  ลักษณะทางพฤษศาสตร์เหมาะสม  ผลผลิตปาล์มทะลายมากกว่า  200 กิโลกรัม / ต้น / ปี  หรือ  4.4  ตัน / ไร่ / ปี  การออกดอกชุดแรกเร็ว ( หลังปลูก  12  เดือน )  เปอร์เซ็นต์น้ำมัน  ( CPO )  50 – 54 %   และ   ( KPO ) 
40 – 44 %  ( วิเคราะห์โดยใช้ตัวทำละลาย )

                       ต้น  No. H10  ที่ผ่านการคัดเลือกมีลักษณะเด่นคือ  มีปริมาณน้ำมันในส่วนเนื้อใน  ( KPO  )  สูงเป็นพิเศษ  ประมาณ  44.70 %  ปริมาณน้ำมันในส่วนเปลือก  ( CPO )  64.82 %  ( วิเคราะห์ปริมาณน้ำมันโดยใช้ตัวทำละลาย )  โดยมีลักษณะทางพฤษศาสตร์ของลำต้น  ทางใบ  ใบย่อย  ทรงพุ่ม  ที่เหมาะสมผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและให้ผลผลิตปาล์มทะลายต่อต้นมากกว่า  210  กิโลกรัม  / ต้น / ปี  หรือ  4.6  ตัน / ไร่ / ปี
ต้น  No. H10  ที่ผ่านการคัดเลือกมีลักษณะเด่นคือ  มีปริมาณน้ำมันในส่วนเนื้อใน  ( KPO  )  สูงเป็นพิเศษ  ประมาณ  44.70 %  ปริมาณน้ำมันในส่วนเปลือก  ( CPO )  64.82 %  ( วิเคราะห์ปริมาณน้ำมันโดยใช้ตัวทำละลาย )  โดยมีลักษณะทางพฤษศาสตร์ของลำต้น  ทางใบ  ใบย่อย  ทรงพุ่ม  ที่เหมาะสมผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและให้ผลผลิตปาล์มทะลายต่อต้นมากกว่า  210  กิโลกรัม  / ต้น / ปี  หรือ  4.6  ตัน / ไร่ / ปี
คณะผู้วิจัย
นายสุดประสงค์  สุวรรณเลิศ1  นายสกล  ฉายศรี2 นายประภาส  ช่างเหล็ก3  น.ส.นิภา เขื่อนควบ1  น.ส.ระวิวรรณ  โชติพันธ์ 1 และนายเจษฎายุทธ  ไชยบุรี1
1สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร  สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2สถานีวิจัยลพบุรี   สถาบันอินทรียจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาด้านพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3สถานีวิจัยเพชรบูรณ์   สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 08 1868 2022