สมุนไพรไล่ยุง
ในปัจจุบันประเทศไทยมีมูลค่าการจำหน่ายยาจุดกันยุงมากกว่าปีละ 2,000 ล้านบาท มีผู้ผลิตมากกว่า 12 บริษัท ผลิตภัณฑ์มีจำหน่ายมากกว่า 13 ตรา มีทั้งแบบขดและแบบแท่ง ใช้สารในกลุ่มของไพรีธริน, ไพรีธรอยด์ และสารสังเคราะห์อื่นๆ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้ได้ ดังนั้นในปัจจุบันได้มีการนำพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์และประสิทธิภาพไล่ยุงได้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ธูปไล่ยุงกันมากขึ้น โดยเน้นความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นสิ่งสำคัญ พืชสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ได้เช่น เสม็ดขาว, กฤษณา, ตะไคร้หอม, มะกรูด, ส้ม และอื่นๆ การนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ดังกล่าวสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกและช่วยทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย
ยาจุดกันยุง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นเพื่อใช้ไล่ยุงให้สารออกฤทธิ์ระเหยออกมาขับไล่ หรือ ทำให้ยุงตกลงมาหงายท้อง
สารออกฤทธิ์ หมายถึง สารที่มีสมบัติในการไล่ยุง หรือ ทำให้ยุงตกลงมาหงายท้อง
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยาจุดกันยุง (2525)
ทั้งแบบขด หรือแท่ง แตกหรือหักได้ไม่เกิน 5% ความแข็ง เมื่อทดสอบจะแตก หรือร้าวไม่เกิน 20% แบบขด และ 15% แบบแท่ง ใช้สารไพรีธริน, สารไพรีธรอยด์ และสารสังเคราะห์อื่น ๆ ปริมาณสารคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 20% ห้ามผสมยาทำลายแมลงชนิดสังเคราะห์อื่น ๆ ควันจะไม่เป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง ต้องทำให้ยุงลายตัวมีย (Aedes aegypti) ตกลงมาหงายท้อง 90% ใน 20 นาที อัตราการเผาไหม้มากกว่า 6 ชม./ขดเดี่ยว และ 2 ชม.แท่ง มีความชื้นไม่เกิน 14% น้ำหนักไม่น้อยกว่า 12 ก./ 1 ขดเดี่ยว และ 5.50 ก./แท่ง
ยุงที่เป็นพาหนะนำโรค
1. ยุงก้นปล่อง (Anopheles spp.)
นำโรคไข้มาลาเรีย |
2. ยุงเสือ (Mansonia spp.)
นำโรคเท้าช้าง |
|
|
3. ยุงลาย (Aedes spp.)
นำโรคไข้เลือดออก |
4. ยุงรำคาญ (Culex spp.)
นำโรคไข้สมองอักเสบ |
|
|
สมุนไพรไล่ยุง หมายถึง พืชที่มีสารออกฤทธิ์สามารถไล่ยุงได้ โดยสารออกฤทธิ์จะอยู่ในส่วนของน้ำมันหอมระเหย เมื่อสารหอมถูกปล่อยออกมา สารหอมดังกล่าวมีฤทธิ์ที่สามารถไล่ยุงให้หนีไป พืชที่มีสารออกฤทธิ์ดังกล่าวมีหลายชนิดเช่น
ธูปสมุนไพรไล่ยุง เป็นการนำเอาส่วนของพืชที่มีสารออกฤทธิ์ที่สามารถไล่ยุงได้มาทำเป็นธูปไล่ยุง โดยเน้นความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นสิ่งสำคัญ ประสิทธิภาพการไล่ยุงจะน้อยกว่ายาจุดกันยุงที่ใช้สารสังเคราะห์ สารจากพืชสมุนไพรเพียงแต่ไล่ยุงให้หนีไปแต่จะไม่ทำให้ยุงตกลงมาหงายท้องตายเหมือนกับสารสังเคราะห์
ธูปสมุนไพรไล่ยุง |