มะขาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tamarindus indica Linn. เป็นพืชทนแล้ง สามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิดทั่วทุกภาคของประเทศ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสามารถส่งเป็นสินค้าออกทำรายได้ให้กับประเทศปีละหลายล้านบาท ในปี พ.ศ. 2546 พบว่ามีพื้นที่ปลูกมะขามอยู่ประมาณ 571,491 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกมะขามหวาน ส่วนมะขามเปรี้ยวมีการปลูกเป็นการค้าน้อยมาก ในขณะที่ความต้องบริโภคมะขามเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น สามารถใช้ประโยชน์จากฝักได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะเนื้อมะขามเปียกมีความต้องการเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล แต่ผลผลิตขาดแคลนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในด้านปรุงรสอาหาร การแปรรูปเช่นใช้ฝักแก่สำหรับการดอง การแช่อิ่ม ใช้เนื้อของฝักสุกเป็นส่วนผสมที่สำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์เสริมความงามเช่น ครีมล้างหน้าจากมะขามซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างยิ่ง พบว่าในปี พ.ศ. 2547 มีเนื้อมะขามเปรี้ยวส่งออกในรูปของมะขามเปียกจำนวน26,182 ตัน คิดเป็นมูลค่า 422.96 ล้านบาท และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆเนื่องจากความต้องการในประเทศมีเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ แต่ผลิตผลในประเทศกลับลดลงเนื่องจากที่ผ่านมาพึ่งพาผลิตผลที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นหลัก ในปัจจุบันมีพันธุ์มะขามเปรี้ยวเกิดขึ้นโดยการกลายพันธุ์จากธรรมชาติหลายพันธุ์กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่ยังไม่มีการศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ถูกต้องและเหมาะสมตามคุณสมบัติของพันธุ์
ด้วยปัญหาการมีพันธุ์จำนวนมาก ทำให้ผลผลิตมีหลายมาตรฐาน พันธุ์ที่ปลูกไม่ตรงกับความต้องการของตลาดหรือวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ ขาดการส่งเสริมแนะนำพันธุ์ดีและเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสำหรับการปลูกเป็นการค้า ทำให้ผลผลิตขาดแคลนแต่มีความต้องการนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจ รวบรวมพันธุ์ดีที่มีอยู่ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศนำมาขยายพันธุ์ด้ายวิธีการไม่ใช้เพศ แล้วปลูกลงแปลงรวมพันธุ์ในสถานีวิจัยปากช่อง เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมไว้ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ประเมินและทดสอบพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ดีที่ตรงตามความต้องการของตลาดและการใช้ประโยชน์ รวมทั้งศึกษาเทคโนโลยีการผลิตดีที่เหมาะสมให้ได้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ สำหรับเป็นข้อแนะนำให้เกษตรกรปลูกต่อไปในอนาคต
รายละเอียดของพันธุ์:
ประวัติการพัฒนาพันธุ์: มะขามเปรี้ยวฝักใหญ่พันธุ์ “ปากช่อง 1” เป็นพันธุ์คัดเลือกดีเด่น จากโครงการรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์มะขามเปรี้ยวฝักใหญ่ สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539-2545 โดยทำการสำรวจ รวบรวมพันธุ์จากแหล่งพื้นที่ธรรมชาติใกล้เคียงสถานีวิจัยปากช่องคือ ในเขตอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ในปี 2539 แล้วขยายพันธุ์โดยการต่อกิ่งบนต้นที่ให้ผลผลิตแล้วอายุ 15 ปี ทำการเปรียบเทียบลักษณะประจำพันธุ์ ผลผลิตและคุณภาพของผล ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2545 แล้วคัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตของกิ่งดีและให้ผลผลิตและคุณภาพของผลสูง โดยคัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดีเด่นมากที่สุดเป็นพันธุ์ดีเด่น เดิมเรียกชื่อพันธุ์ตามแหล่งค้นพบว่า “พันธุ์โชคชัยพัฒนา” เนื่องจากมีต้นกำ
ลักษณะประจำพันธุ์
ต้น(Tree) ทรงพุ่มเป็นรูปโดมแผ่กว้าง แตกกิ่งมาก ผิวเปลือกของลำต้นเป็นร่องตื้น สีเปลือกด้านนอกมีสีน้ำตาลออกขาว(G-WG 156B)และด้านในมีสีขาว(WG 155A) เนิดจากบริเวณภูเขาหินปูนในพื้นที่ใกล้หมู่บ้านโชคชัยพัฒนา อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
ใบ(Leaf) เป็นใบประกอบ ขนาดยาว 12.0 ซม. กว้าง 3.9 ซม. มีใบย่อยเรียงตัวกันแบบ opposite จำนวน 15 คู่ แผ่นใบเป็นแบบ oblong ลักษณะใบเรียวปลายมน ฐานใบหยักโค้งไม่เท่ากัน ก้านใบสั้น ขอบใบเรียบ ด้านบนของใบมีสีเขียวเข้ม(GG 144A)มากกว่าด้านล่าง ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อนออกเหลือง(Y-GG 144A) เส้นกลางใบประกอบสีเหลืองอ่อน(YG 3B) เส้นกลางใบย่อยสีเขียวอ่อน(Y-GG 141C)
ดอก(Flower) ออกดอกเป็นช่อดอก ขนาดยาว 10 ซม. กว้าง 8 ซม. มีดอกย่อยเรียงตัวกันแบบเกลียววนรอบก้านช่อดอกจำนวน 15 ดอก/ช่อ ดอกบานขนาดกว้าง 2.7 ซม. ยาว 2.0 ซม. ก้านดอกยาว 0.9 ซม. กลีบดอกพื้นสีเหลืองอมชมพูมีลายเส้นสีชมพู
ฝัก(Fruit) ฝักส่วนมากมีรูปทรงครึ่งวงกลมหรือรูปกึ่งฆ้อง ขนาดยาว 25.4 ซม. กว้าง 3.8 ซม. หนา 2.1 ซม. เปลือกฝักสุกสีน้ำตาลอมเทา(G-OG 165B) หนา 0.74 ซม. น้ำหนักฝักเฉลี่ย 53.5 กรัมหรือจำนวนฝัก 25 ฝัก/กก.
เนื้อ(Texture) เนื้อฝักสุกเหนียวละลายน้ำได้ เนื้อมากมีปริมาณเนื้อที่รับประทานได้ 46.88 % สีน้ำตาลเข้ม(G-PG 183A) รสเปรี้ยวจัด มีเปอร์เซ็นต์กรดทาร์ทาริค 19.95 %
เมล็ด(Seed) รูปทรงเมล็ดส่วนมากมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วขอบฐานมนด้านปลายมีจุกแหลม สีน้ำตาลอมม่วง(G-OG 166A) มีขนาดเล็ก กว้าง 1.3 ซม. ยาว 1.7 ซม. หนา 0.6 ซม. จำนวนเมล็ดเฉลี่ย 7 เมล็ด/ฝัก
ลักษณะทางการเกษตร เป็นพันธุ์ออกดอกง่ายและติดฝักดกเป็นพวง เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนมกราคม ลักษณะดีเด่น มีฝักขนาดใหญ่อ้วน เปลือกหนา ปริมาณเนื้อที่รับประทานได้สูง รสเปรี้ยวจัด และเมล็ดเล็ก
ข้อจำกัดและขอบเขตการใช้ประโยชน์: เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่มีเนื้อมากและเปรี้ยวจัดจึงเหมาะสำหรับการใช้เนื้อฝักสุกในการบริโภคและแปรรูปมากที่สุด ไม่เหมาะสำหรับแปรรูปฝักดิบเนื่องจากมีฝักโค้งงอทำให้แกะเปลือกยาก
ตารางที่ 1 แสดงลักษณะประจำพันธุ์เปรียบเทียบกับพันธุ์คัดเลือก 4 พันธุ์
ภาพที่ 1 แสดงลักษณะคุณภาพของฝักพันธุ์ปากช่อง 1
|