นวัตกรรมการผลิตไม้กินแมลงสายพันธุ์ลูกผสมใหม่แบบครบวงจร เพื่อการส่งออกเชิงพาณิชย์
และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไม้กินแมลงสู่เกษตรกร

ประเภทของไม้กินแมลงชนิดต่าง ๆ แบ่งได้ดังนี้

  • หม้อข้าวหม้อแกงลิงสายพันธุ์แท้ [Nepenthes Species] ได้แก่
    • Nepenthes Ampullaria
    • Nepenthes Mirabilis
    • Nepenthes Gracilis
    • Nepenthes Bicalcarata  
    • ฯลฯ
  • หม้อข้าวหม้อแกงลิงสายพันธุ์ลูกผสม [Nepenthes Hybrids] ได้แก่
    • Nepenthes  Ampullaria x Ventricosa
    • Nepenthes  Bicalcarata x Ampullaria
    • Nepenthes Viking x  Rafflsiana
    • Nepenthes Viking x Ampullaria
      -  ฯลฯ
  • ไม้กินแมลงอื่น ๆ
    • กาบหอยแครง (Venus Fly Trap)
    • ซาราซีเนีย (Sarracenia)
    • พิงกุย (Pinguicula
    • หยาดน้ำค้าง (Drosera)
    • อื่น ๆ

การเพิ่มผลผลิตของสายพันธุ์

                 การเพิ่มผลผลิตให้กับไม้กินแมลง โดยการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture) ดังภาพด้านล่าง

                  การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture) เป็นศาสตร์ด้าน biotechnology สาขาหนึ่งโดยนำเซลล์เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญของพืชมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ (synthetic medium) ในสภาพปราศจากเชื้อ (aseptic condition) ภายใต้การควบคุมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ได้แก่ อุณหภูมิ แสงสว่าง และความชื้นเป็นต้น โดยทั่วไปการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนิยมเนื้อเยื่อจากต้นอ่อนที่ได้จากการเพาะเม็ดแบบปราศจากเชื้อ (aseptic technique) เพราะทุกชิ้นส่วนของต้นอ่อนสามารถนำมาใช้เป็นเนื้อเยื่อตั้งต้นในการเพาะเลี้ยงส่วนเนื้อเยื่อหรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ได้จากพืชต้องนำมาฆ่าเชื้อที่บริเวณผิว (surface sterilization) ก่อนนำไปใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช สามารถทำได้บนอาหารวุ้นกึ่งแข็ง (agar medium) และในอาหารเหลว (liquid medium) ซึ่งอย่างหลังนิยมทำบนเครื่องเขย่า (shaker) เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่เซลล์ หลังจากเลี้ยงเนื้อเยื่อไปได้สักระยะเวลาหนึ่ง ต้องมีการถ่ายเนื้อเยื่อลงอาหารใหม่ (subculturing) เนื่องจากอาหารเดิมลดน้อยลง และของเสียที่เซลล์ขับออกมาเพิ่มมากขึ้น

                  การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกำเนิดมาจากหลักการ totipotency ที่ว่า "เซลล์พืชเดี่ยว ๆ (single cells) ทุกเซลล์มีลักษณะและองค์ประกอบทางพันธุกรรมสมบรูณ์เหมือนต้นแม่ ซึ่งสามารถเจริญและพัฒนาเป็นต้นพืชทั้งต้น (whole plant) ได้" เซลล์พืชเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ที่เจริญเต็มที่ (nature cell) หรือเนื้อเยื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะอย่าง (differentiated tissue)ได้แก่ เนื้อเยื่อใบ สามารถเจริญและแบ่งตัวเป็น callus หรือพัฒนาเป็นอวัยวะ (organ) เช่น ยอดอ่อน (shoot) และราก (root) ซึ่งสามารถเจริญต่อไปเป็นต้นพืชทั้งต้นได้ ในทางเดียวกัน callus ซึ่งเป็นก้อนของกลุ่ม parenchyma cells ซึ่งยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง (undifferentiated cells) สามารถเจริญและแบ่งตัวเป็น callus หรือพัฒนาเป็นยอดอ่อน และ ราก ขึ้นกับการกระตุ้นของ plant growth regulator ที่เหมาะสม

                 จากหลักการนี้ได้มีการประยุกต์เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชไปใช้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรมต่าง ๆ อาทิเช่น

  • ใช้ในการขยายพันธุ์พืช (micro propagation) โดยเฉพาะพืชที่มีค่าทางเศรษฐกิจ พืชที่มีปัญหาด้านการเพาะปลูกเนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม และพืชสมุนไพรที่หายาก
  • การเลี้ยงเนื้อเยื่อสามารถทำให้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง (high yield) เพิ่มความต้านทานหรือเพิ่มความ ทนทานต่อความแห้งแล้ง จึงนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช (plant breeding)
  • ต้นพืชที่พัฒนาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเจริญในสภาพปราศจากเชื้อ จึงใช้ในการแยกและเลี้ยงพืช ปลอดโรคได้ ได้แก่ การกำจัดโรคไวรัสในพืช
  • การผสม protoplast (เซลล์พืชที่ถูกย่อย cell wall ออก เหลือแต่ cell membrane บาง ๆ) ของพืชสอง
    ชนิดเข้าด้วยกัน ทำให้ได้พืชพันธุ์ใหม่ที่รวมคุณลักษณะดีของพืชสองชนิดไว้ด้วยกัน
  • การเก็บรักษาพันธุ์ (germplasm) ไว้ได้เป็นระยะเวลานาน โดยเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ   
    ต่ำ ๆ เมื่อต้องการนำมาใช้ จึงทำการถ่ายเนื้อเยื่อลงสู่อาหารสังเคราะห์

 

คณะผู้วิจัย
นายปฐมะ  ตั้งประดิษฐ์
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 086-6241868