โครงการอุดหนุนการจัดตั้งหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
Technology Licensing Office – TLO

เกี่ยวกับ TLOKU

             หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (TLOKU) ดำเนินการโดยงานทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานบริการวิชาการ สำนักงานอธิการบดี ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัยในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ การขอรับความคุ้มครอง การถ่ายทอดเทคโนโลยีและขยายผลเชิงพาณิชย์ รวมถึงการจัดการสิทธิประโยชน์จากการขยายผลเชิงพาณิชย์

วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน :

1.   เป็นหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัย ทำหน้าที่บริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการจัดการในเรื่องของสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากงานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี
2.   ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่พัฒนาและการเจรจาในเรื่องสิทธิประโยชน์รวมทั้งการนำผลงานวิจัย ไปขยายผลสู่ภาคเอกชนในเชิงพาณิชย์
3.   เป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา สร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
4.   พัฒนาและส่งเสริมบุคลากร ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่ยื่นขอรับความคุ้มครอง และ พร้อมขยายผลสู่เชิงพาณิชย์

สิทธิบัตร  จำนวน  14  ผลงาน

    • เครื่องขุดย้ายต้นไม้และขุดหลุมปลูก
    • การสังเคราะห์ซีโอไลต์ชนิด ZSM-5 จากเถ้าลอยของถ่านหินลิกไนต์
    • เครื่องเกี่ยวนวดข้าวโพดชนิดลากจูงโดยรถแทรกเตอร์ Tractor Pulled type Corn Combined Harvester
    • กรรมวิธีผลิตหนังไก่สดที่สะอาด ปลอดเชื้อและกรรมวิธีผลิตแคบไก่ที่สะอาด ปลอดภัยได้คุณภาพ
    • การทำปาท่องโก๋สำเร็จรูปแบบทอดครึ่งทางแช่แข็ง
    • การทำขนมปังอบไอน้ำจากแป้งผสมข้าวหอมมะลิกับแป้งสาลี
    • การทำให้วุ้นสวรรค์ที่ผลิตมีรูปร่างที่เฉพาะ
    • เครื่องปอกเปลือกมะพร้าว
    • เครื่องขัดผิวเมล็ดพริกไทยดำ
    • ชุดตรวจสอบเอ็นพีเคในดิน
    • เครื่องขัดผิวท่อนอ้อย
    • เครื่องปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อน
    • กรรมวิธีการคลี่ไม้ไผ่
    • เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ถั่วฮามาต้าแบบตาข่ายทรงกระบอก

    อนุสิทธิบัตร  จำนวน  21  ผลงาน

    • อุปกรณ์อุ่นอาหารจากไอน้ำของหม้อหุงข้าว
    • กรรมวิธีการผลิตแชมพูมะกรูดและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกรรมวิธีนี้
    • องค์ประกอบสารชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงศัตรูพืชและวิธีการเตรียมสารดังกล่าว
    • กรรมวิธีการผลิตเส้นขนมจีนกึ่งสำเร็จรูป
    • กรรมวิธีการผลิตฟิล์มรับประทานได้จากกล้วยน้ำว้าและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกรรมวิธีนั้น
    • กรรมวิธีการผลิตเส้นขนมจีนแห้งกึ่งสำเร็จรูปคืนรูปเร็ว
    • กรรมวิธีการผลิตมะนาวผง
    • การทำไข่เค็มโซเดียมต่ำ โดยการพอกด้วยเยื่อกระดาษจากเส้นใยธรรมชาติ
    • กิมจิเพสท์สำเร็จรูปและกรรมวิธีการผลิต
    • เครื่องปรุงรสห่อหมกสำเร็จรูป
    • ไส้กรอกปลาหมักและกรรมวิธีสำหรับการผลิต
    • เบนทอไนต์กำจัดสีและความขุ่นในกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย
    • เพอร์ไลต์กำจัดสีและความขุ่นในอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย
    • ไดอะทอไมต์กำจัดสีและความขุ่นในอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย
    • สิ่งประกอบเหลวสำหับใช้หุงข้าวพร้อมใช้บรรจุในภาชนะปิดสนิท
    • ซอสข้นและกรรมวิธีกากรผลิต
    • ลูกชิ้นที่มีวุ้นเป็นส่วนผสม
    • กรรมวิธีการผลิตน้ำนมถั่วเหลืองผสมน้ำผลไม้โปรตีนสูงและผลิตภัณฑ์ของกรรมวิธี
    • เครื่องกะเทาะผลหมาก
    • น้ำกะทิเพื่อสุขภาพ
    • สารผสมแป้งข้าวสำหรับอาหารกุ้ง


คณะผู้วิจัย
นางนวกมล  จีราคม
สำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2942-8925