การใช้ดินขาวเคโอลีน เป็นวัสดุเคลือบใบและผล เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต
ควบคุมโรคและแมลง ในพืชเศรษฐกิจ
Kaolin clay as leaf and fruit coating substances for increasing fruit quality controlling
deseaseand insect in economic fruit crops
  
            ดินขาวเคโอลีน (Kaolin) คือหินที่มีแร่ Kaolinite (Al2Si2O5(OH)4) พบได้ในประเทศจีน เม็กซิโก บลาซิล และประเทศ ไทย ดินขาวเคโอลีนถูกนำมาใช้เป็นสารที่ในอุตสาหกรรมเซรามิค เครื่องสำอางและยาสีฟัน สำหรับด้านการเกษตร มีพัฒนาดินขาวเคโอลีนให้อยู่ในรูปสารการค้า เมื่อนำมาพ่นให้กับพืช จะมีลักษณะเป็นฟิล์มเคลือบลำต้น ใบ และผลได้ สารเคโอลีนมีสีขาว จึงช่วยสะท้อนแสงที่มีความเข้มสูงออกไป อุณหภูมิใบลดลง ทำให้พืชมีประสิทธิภาพการสังเคราะห์ แสงสูงขึ้น พืชจึงมีการติดผลที่เพิ่มขึ้น การพ่นสารเคโอลีนในช่วงระหว่างการพัฒนาของผลไม้ ทำให้ผิวของผลมะม่วง ไม่ได้รับการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ดังนั้นจึงทำให้ผิวของพืชมีลักษณะสวยงามขึ้น นอกจากนี้สารนี้ยังมีผลทำให้แมลง ไม่สามารถเข้าไปทำลายผิวผลได้ จึงสามารถลดอาการผิวผลลายที่เกิดจากการเข้าทำลายโดยแมลงได้ นอกจากนี้สารเคโอ ลีน ยังป้องกันไม่ให้ผิวผลไม้สัมผัสกับน้ำจากการให้น้ำหรือฝนตกได้ จึงสามารถลดการแพร่ระบาดของโรคพืช ที่มีน้ำเป็น พาหะได้ ในประเทศไทยได้มีการทดลองพ่นดินขาวเคโอลีนจากมาเลเซีย 60 กรัมต่อลิตร จำนวน 1 - 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ให้กับมะม่วงพันธุ์มหาชนก ตั้งแต่เริ่มติดผล จนถึงระยะก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์ พบว่าต้นมะม่วงที่ได้รับสารมีอัตราการ สังเคราะห์แสงที่สูงขึ้น สามารถเก็บผลผลิตได้จำนวนมากขึ้น มะม่วงไม่ถูกแสงแดดโดยตรง ดังนั้นผลมะม่วงในระยะเก็บ เกี่ยวจึงมีสีแดงตรงตามลักษณะประจำพันธุ์ของมะม่วงมหาชนก และไม่พบการเกิดโรคแอนแทรกโนส และการทดลอง นำดินขาวเคโอลีนจากอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง พ่นให้กับต้นแก้วมังกร พบว่าสามารถลดอาการใบไหม้ เนื่องจากลด อุณหภูมิที่ใบพืชได้ และลดการแพร่ระบาดของเชื้อราบนกิ่งแก้วมังกรได้


ภาพที่ 1 การใช้ดินขาวเคโอลีนเป็นวัสดุเคลือบใบและผลมะม่วงพันธุ์มหาชนก และแก้วมังกร

ภาพที่ 2 ผลมะม่วงพันธุ์มหาชนกภายหลักการเก็บเกี่ยวและบ่มเป็นเวลา 4 วัน ในสภาพธรรมชาติ (A)
พบการระบาดของโรคแอนแทรกโนสบนผิว มากกว่าการพ่นสาร kaolin 1 ครั้ง/สัปดาห์ (B) และ 2 ครั้ง/สัปดาห์ (C)

ภาพที่ 3  การพ่นสาร kaolin สามารถลดอุณหภูมิใบจาก 42.4 C (ซ้าย) เป็น 35.0 C (ขวา)

 


คณะผู้วิจัย
รศ. ดร. คณพล จุฑามณี
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2562-5444 ต่อ 1321