เว็บไซต์สังคมแห่งการออมเงินสาหรับเด็ก
Social Network for Children Saving Online

ความสำคัญและที่มาของงานวิจัย
             ในสังคมปัจจุบันเด็กๆ มีสิ่งยั่วยุเป็นจำนวนมาก พ่อแม่ยุคปัจจุบันก็ต้องทำงานมากขึ้น ทำให้มีเวลาอยู่กับลูกน้อยลง จึงเลือกใช้วิธีการจ่ายเงินเพื่อซื้อของให้ลูกเป็นการทดแทนที่มีเวลาอยู่กับลูกน้อยลง ทำให้ลูกไม่รู้จักคุณค่าของเงินและใช้จ่ายอย่างไม่ระมัดระวัง และจะก่อให้เกิดปัญหาด้านการเงินในอนาคต แต่ถ้าแต่ละครอบครัวช่วยกันปลูกฝังนิสัยการออมและการใช้เงินอย่างรู้คุณค่าอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เด็ก เชื่อว่าเมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นก็จะไม่ประสบปัญหาเรื่องการเงินจากความไม่มีวินัยด้านการใช้จ่าย
             ดังนั้น การสอนให้ลูกรู้จักการออมและรู้จักการใช้เงินตั้งแต่ลูกยังเล็กจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น วิธีการสอนลูกดังกล่าวข้างต้นอาจปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละครอบครัว แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกครอบครัวจะต้องชี้ให้ลูกเห็นก็คือคุณประโยชน์ที่ได้จากการออมและการเลือกใช้เงินอย่างชาญฉลาด โดยยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมให้ลูกของตนได้เห็นถึงข้อดีของการออมเงินและรู้จักใช้เงิน ในเวลาเดียวกันพ่อแม่ก็ควรจะแสดงให้เห็นตัวอย่างของคนรอบๆ ตัวที่ไม่รู้จักการบริหารเงินของตนเองและในที่สุดบุคคลเหล่านั้นก็มีปัญหาทางการเงิน หรือทุกข์ที่เกิดจากการมีหนี้สินล้นพ้นตัว เพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่รู้จักการบริหารจัดการเงินของตนเองที่ดี จากตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเหล่านั้นจะทำให้ลูกตระหนักถึงคุณค่าของเงินและรู้จักการออมเงินมากขึ้น
             ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ผู้จัดทำจึงมองเห็นช่องทางที่จะใช้สื่อด้านนี้ กระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กหันมาสนใจในเรื่องของการออมเงิน ด้วยความสำคัญดังกล่าวจึงเกิดระบบเว็บไซต์สังคมแห่งการออมเงินสำหรับเด็กขึ้น โดยระบบเว็บไซต์จะนำหลักการทางานของ Social Network มาใช้ ซึ่งเป็นรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคมสำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต ทำให้เด็กสามารถติดต่อกับเพื่อนๆ ได้ในโลกของสังคมออนไลน์

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
             เพื่อส่งเสริมนิสัยการออมเงินให้แก่เด็ก โดยนำเอาหลักการของ Social Network มาปรับใช้เพื่อให้เด็กมีแรงกระตุ้นในการออมเงินมากขึ้น และทาให้การออมเงินเป็นเรื่องสนุก เพราะเด็กๆ ได้มีการแข่งขันออมเงินกับเพื่อนๆ ได้มีการเก็บแต้มสะสม เพื่อนำไปใช้แลกเล่นเกมส์ที่มีในระบบ

ผลการวิจัย
             ระบบเว็บไซต์สังคมแห่งการออมเงินสำหรับเด็ก พัฒนาขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายสาคัญคือ เพื่อส่งเสริมนิสัยการออมเงินสาหรับเด็ก โดยนำหลักการของ Social Network มาปรับใช้ เพื่อให้เด็กมีแรงกระตุ้นในการออมเงินมากขึ้น และทำให้การออมเงินเป็นเรื่องสนุก เพราะเด็กๆ ได้มีการแข่งขันออมเงินกับเพื่อนๆ ได้มีการเก็บแต้มสะสม เพื่อนำไปใช้แลกเล่นเกมส์ที่มีในระบบ

             สำหรับการพัฒนาระบบนั้น ผู้จัดทำโครงการได้แบ่งแนวทางการพัฒนาออกเป็นส่วนหลัก 5 ส่วน ดังนี้

  1. ระบบสมาชิก โดยจะให้ผู้ปกครองสมัครสมาชิกของผู้ปกครองเองก่อน หลังจากนั้นจึงจะสามารถสมัครสมาชิกให้กับเด็กได้ และผู้ปกครองหนึ่งคนสามารถสมัครสมาชิกให้เด็กได้หลายคน
  2. ระบบการสร้างเครือข่าย โดยเด็กสามารถจะสร้างเครือข่ายของตนเองได้โดยการไปขอเพิ่มเป็นเพื่อนและจะต้องรอการตอบรับจากเพื่อนก่อนโดยเพื่อนสามารถที่จะยอมรับหรือปฏิเสธการขอเพิ่มเป็นเพื่อนได้ ในกรณีที่เป็นเพื่อนที่กันแล้ว เด็กสามารถที่จะเห็นสถานะการออมเงิน และแต้มสะสม ของเพื่อนที่อยู่ในเครือข่ายของเราได้ และผู้ปกครองสามารถดูรายชื่อเพื่อนของเด็กได้ด้วย
  3. ระบบบัญชีรายรับ – รายจ่าย เด็กจะบัญทึกบันชีรายรับ-รายจ่ายของตนเอง และผู้ปกครองสามารถเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของการลงบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่ายของเด็กได้
  4. ระบบแต้มสะสม เด็กสามารถสะสมแต้มสะสมได้จากการที่ผู้ปกครองเป็นผู้ให้ รวมทั้งจากระบบเมื่อเด็กบันทึกบัญชีได้ถูกต้อง และแต้มสะสมของเด็กจะถูกหักในกรณีที่เด็กนำแต้มสะสมไปแลกเล่นเกมส์ที่มีในระบบ รวมทั้งจากในระบบในกรณีที่เด็กบันทึกบัญชีไม่ถูกต้อง และจากการที่เด็กไม่เข้ามาบันทึกบัญชีตามระยะเวลาที่ระบบกำหนด
  5. ระบบเกมส์ โดยในระบบจะมี flash game ที่ผู้ดูแลระบบอัพโหลดเข้าไป ซึ่งเด็กจะนำแต้มสะสมไปแลกเล่นเกมส์ที่มีอยู่ในระบบ แต่ในกรณีของผู้ปกครองสามารถทดลองเล่นเกมส์ได้เลยโดยไม่ต้องใช้แต้มสะสมเพื่อแลกเล่นเกมส์

             ระบบหลักทั้ง 5 ส่วนนี้ถูกใช้งานโดยสมาชิกและผู้ดูแลระบบผ่านทาง Interface ที่พัฒนาให้มีความสวยงามและง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งมีแนวทางในการพัฒนาระบบ ดังต่อไปนี้
  1. พัฒนาให้ระบบสามารถใช้หลักการทางานของ Social Network ได้ เช่น การให้เด็กสามารถเพิ่มเพื่อนในเครือข่ายของตนเอง
  2. พัฒนาให้ระบบสามารถเก็บบันทึกบัญชีรายรับ – รายจ่าย ได้โดยอัตโนมัติ
  3. พัฒนาให้ระบบมีเกมส์ เพื่อฝึกทักษะของเด็ก โดยมีการเก็บแต้มสะสม เพื่อให้เด็กนามาแลกเล่นเกมส์ที่มีในระบบ

ตัวอย่างหน้าเว็บบางส่วนของระบบ

รูปที่ 1 หน้าแรกของเว็บ   
รูปที่ 2 การสมัครสมาชิก
รูปที่ 3 การค้นหาเพื่อนในเครือข่าย
รูปที่ 4 การบันทึกบัญชี
รูปที่ 5 การเรียกดูประวัติแต้มสะสม
รูปที่ 6 การเลือกเล่นเกมส์ที่มีในระบบ
   

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยต่อไป
           เนื่องจากโครงงานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมานั้นยังขาดการพัฒนาในส่วนที่จำเป็นอีกหลายส่วน ดังนั้นถ้าโครงงานนี้ได้รับการพัฒนาต่อ ควรจะมีการพัฒนาในส่วนต่างๆดังต่อไปนี้

  1. พัฒนาให้ระบบสามารถส่งข้อความถึงเพื่อนที่อยู่กลุ่มเดียวกันได้
  2. พัฒนาให้ระบบสามารถที่จะให้เด็กที่เป็นสมาชิกเขียน Blog เพื่อเผยแพร่เทคนิคเกี่ยวกับการออมเงินที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆที่อยู่ในระบบ
เอกสารอ้างอิง
  1. โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. ระบบฐานข้อมูล . กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น , 2551
  2. โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น , 2551
  3. Web 2.0 Compact Definition: Trying Again . เข้าถึงจาก http://radar.oreilly.com/2006/12/web-20-compact-       definition-tryi.html.
  4. Stephen Fry: Web 2.0 . เข้าถึงจาก http://www.bexno.com/vshoal/Web20WikipediaDefinition.html.
  5. Web 2.0คืออะไร? . เข้าถึงได้ http://www.narisa.com/blog/bomber/index.php?showentry=91.
  6. Social Network ทาลายสถิติการใช้งานนานกว่า Email . เข้าถึงจาก       http://www.marketingoops.com/digital/social-media/social-network-5/
  7. Difference between Web 2.0 vs Web 1.0 . เข้าถึงจากhttp://www.prlog.org/10707745-difference-between-          web-20-vs-web-10.html.
  8. Web 2.0 คืออะไร.เข้าถึงจาก http://www.skunttz.com/2010/01/web-2-0-คืออะไร/.
  9. เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online social network) คืออะไร . เข้าถึงจาก               http://stbuschool.wordpress.com/2010/02/20/เครือข่ายสังคมออนไลน์-online-so/.

คณะผู้วิจัย
ดร.เสฎฐวิทย์ เกิดผล และนางสาวชนกพร  ขันติวิริยะกุล
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 086-2251052