โครงการคลังพันธุกรรมของนกล่าเหยื่อในประเทศไทย
Genetic Archive of Endangered Raptor Species in Thailand
            

          1. พัฒนาการแยกเพศนกล่าเหยื่อด้วยวิธีชีวโมเลกุล ด้านการศึกษาระดับหน่วยพันธุกรรมดีเอ็นเอ  ส่วนใหญ่นกล่าเหยื่อมีลักษณะภายนอกของทั้งสองเพศไม่แตกต่างกันชัดเจน  จึงมีความจำเป็นในการใช้เทคนิคด้านชีวโมเลกุล ในการแยกเพศ  ปัจจุบันประสบผลสำเร็จการใช้วิธีการดังกล่าวในการแยกเพศในกลุ่มนกแร้ง  นกเหยี่ยว  นกฮูก  นกแสก

          2.ดำเนินการตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมระดับดีเอ็นเอ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลด้านคลังพันธุกรรม ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มประชากรของนกล่าเหยื่อที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในกรงเลี้ยง (ex-situ captive breeding)  และทราบสถานภาพทางความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกล่าเหยื่อในธรรมชาติ

          3.จัดทำธนาคารเซลล์ไฟโบรบลาสต์ชนิดมีชีวิตในนกล่าเหยื่อ ดำเนินการเก็บเซลล์นกล่าเหยื่อโดยเฉพาะชนิดใกล้สูญพันธ์  ธนาคารเซลล์ดังกล่าว จะมีประโยชน์ในการจัดการในระดับห้องปฏิบัติการการโคลนนกล่าเหยื่อในอนาคต ปัจจุบันได้เก็บเซลล์ของอีแร้งดำหิมาลัย “อนาคิน”    และนกล่าเหยื่อที่ปล่อยสู่ธรรมชาติไปแล้ว เช่น อีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย นกอินทรีหัวไหล่ขาว เหยี่ยวรุ้ง เป็นต้น




คณะผู้วิจัย
รศ.ดร.วรวิทย์ วัชชวัลคุ1 นางวิไลลักษณ์  ฉ่ำสิงห์1 นางสาวอรวรรณ บุตรดี1 นางสาวน้องนิด เก้าลิ้ม1 นางสาวจิระนันท์ อินทรีย์1 น.สพ.มานะกร สุขมาก1
น.สพ.เบญจพล หล่อสัญญลักษณ์1 น.สพ.ดร.พรชัย สัญฐิติเสรี1 น.สพ.ดร.สิทธวีร์ ทองทิพย์ศิริเดช1 นางตวงรัตน์ โพธิ์เที่ยง 2
และผศ.ดร.น.สพ.ไชยยันต์ เกษรดอกบัว1
1หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
2กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
02-5790058-9 ต่อ 6606