โครงสร้างโฟโตนิกส์คริสตัลของปีกผีเสื้อไทย 2 ชนิด (ผีเสื้อจรกาเมียลายและผีเสื้อถุงทองธรรมดา)
Photonic crystal structure of wing scales in Thai butterflies, Euploea mulciber and Troides aeacus
ได้รับรางวัล 1st Prize Poster Presentation Award 2010
จากการประชุมวิชาการจุลทรรศน์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 ประจำปี 2553
                         

              ผีเสื้อเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่ปีกมีสีสันสดใสสวยงาม ปีกผีเสื้อที่เป็นเงาเหลือบระยับ (iridescence) นั้น จัดว่าเป็นโฟโตนิกส์คริสตัลทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นจากโครงสร้างระดับนาโน ด้วยเหตุนี้จึงมีความน่าสนใจในการศึกษาโครงสร้างทาง Biophysic ของปีกผีเสื้อ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำมาผลิตอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่สามารถสะท้อนแสงทำให้เกิดสีเช่นเดียวกับสีสันที่เราเห็นบนปีกผีเสื้อ มีการศึกษาวิจัยในผีเสื้อหลายชนิดมาแล้วก่อนหน้านี้ อาทิเช่น ผีเสื้อที่มีชื่อว่า The great purple emperor (Sasakia charonda)   ที่มีปีกสีม่วงน้ำเงิน พบว่าสีสันที่เห็นด้วยตาเปล่าดังกล่าวเกิดจากโครงสร้างทางกายภาพของเกล็ดบนปีกของผีเสื้อร่วมกับเม็ดสีกับเมลานิน (Matějková-Plskova et al., 2009) ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาโครงสร้างทางกายภาพของปีกผีเสื้อที่พบในประเทศไทย โดยเฉพาะเพศผู้ที่มีสีสันสวยงาม

              ในงานวิจัยนี้เราได้เลือกทำการศึกษาโครงสร้างทางกายภาพของเกล็ดปีกผีเสื้อเพศผู้ 2 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อจรกาเมียลาย (Euploea mulciber) และ ผีเสื้อถุงทองธรรมดา (Troides aeacus) ผีเสื้อทั้ง 2 ชนิด*ให้สีสันที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยผีเสื้อจรกาเมียลายจะให้สีน้ำเงินเหลือบระยับ (blue iridescent) ในขณะที่ผีเสื้อถุงทองธรรมดามีสีเหลืองสดใสแต่ไม่มีลักษณะเหลือบระยับ โดยทำการศึกษาโครงสร้างปีกภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดชนิด cold field-emission gun (FE-SEM)**

               พบว่า โครงสร้างปีกคู่หน้าของผีเสื้อจรกาเมียลายมีสีน้ำเงินเหลือบระยับ และมีจุดสีขาวกระจายอยู่บริเวณขอบปีก (White spot , W) (รูป 1a) ในบริเวณพื้นที่ B1 และ B2 ประกอบด้วยเกล็ดปีกสีน้ำตาลเข้ม 2 ชนิด คือ เกล็ดปีกชนิดกว้าง และเกล็ดปีกชนิดแคบ ที่เรียงตัวสลับกันไปบนปีก และเมื่อมีแสงมาตกกระทบบนบริเวณพื้นที่ดังกล่าว จะเกิดสีน้ำเงินเหลือบระยับ ซึ่งเกิดจากการสะท้อนแสงของเกล็ด (รูป 1b-e) และเมื่อดูโครงสร้างภายใต้กล้อง FE-SEM พบว่า บริเวณพื้นที่ B1, B2, W และ V มีโครงสร้างของเกล็ดค่อนข้างเหมือนกัน (รูป 2a-c) โดยที่บริเวณสันของเกล็ดปีกประกอบด้วยคิวติเคิล (cuticle) 3 ชั้นที่เรียงซ้อนกันอยู่บนสันและทำมุมเอียง 25 องศา ซึ่งสรุปว่าสาเหตุของการเกิดสีเหลือบระยับบนปีกคู่หน้าของผีเสื้อจรกาเมียลายนั้น เกิดเนื่องมาจาก multiple interference ของแสงที่ตกกระทบระหว่างชั้นของคิวติเคิลที่สะท้อนออกมา เป็นผลให้เราเห็นสีน้ำเงินเหลือบระยับ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพของเกล็ดที่พบบนปีกของผีเสื้อเพศผู้พันธุ์ Costa Rica (Ancyluris meliboeus) ซึ่งมีสีเหลือบระยับ (Vukusic et al., 2001) ส่วนปีกคู่หลังของผีเสื้อจรกาเมียลายนั้น ในพื้นที่ P ประกอบด้วยเส้นขนยาวสีขาวหม่น (รูป 3a) พื้นที่ B3 ถูกปกคลุมด้วยเส้นขนยาวสีน้ำตาล (รูป 3b) และพื้นที่ B4 ประกอบด้วยเกล็ดปีกสีน้ำตาลเข้ม (รูป 3c) โดยไม่ปรากฏมี               การเหลือบระยับของสีดังกล่าว

               โครงสร้างปีกคู่หลังของผีเสื้อถุงทองธรรมดา (รูป 4a) เมื่อดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ พบว่า พื้นที่ Y1 ประกอบไปด้วยเกล็ดปีกสีเหลืองโปร่งแสง พื้นที่ Y2 ประกอบด้วยเกล็ดปีกสีเหลืองกับสีดำที่เรียงตัวสลับกันไปอยู่ด้านในขอบปีก (รูป 4b-c) และเมื่อดูโครงสร้างของปีกผีเสื้อภายใต้กล้อง FE-SEM พบว่า คิวติเคิลที่อยู่บนสันของเกล็ดปีกตั้งฉากกับ substrate frame (รูป 5a-b) ดังนั้น สีเหลืองที่เห็นบนเกล็ดปีกของผีเสื้อถุงทองธรรมดาอาจเกิดจากการกระจายของแสงที่ตกกระทบบนสารร่วมกับเม็ดสีสีเหลืองที่เรียกว่า papiliochrome ซึ่งเมื่อแสงส่องทะลุผ่านปีกคู่หลังของผีเสื้อถุงทองธรรมดาจะเห็นเงาสีเหลืองที่สะท้อนออกมา นอกจากนี้ผีเสื้อถุงทองธรรมดาไม่พบการเหลือบระยับบนปีกคู่หลัง เมื่อดูจากมุมเอียง             

                (รูป 5c) ซึ่งแตกต่างจากผีเสื้อพันธุ์ Troides magellanus ที่พบสีน้ำเงินเขียวเหลือบระยับบนปีกคู่หลังเมื่อมองจากมุมเอียง (รูป 5d) ซึ่งเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ของการหักเหและการเรืองแสงของแสงที่สะท้อนออกมา โดยสาเหตุของการเหลือบระยับดังกล่าวเกิดจากคิวติเคิลที่ยื่นออกมาบนสันของเกล็ดปีก ที่เรียกว่า microribs ที่วางตัวเอียงอยู่บนสันของเกล็ดปีก (รูป 5e) (Vigneron et al., 2008) ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่าสาเหตุที่ผีเสื้อถุงทองธรรมดาไม่พบการเหลือบระยับบนปีกคู่หลัง เนื่องมาจาก microribs ของผีเสื้อถุงทองธรรมดาเรียงตัวตั้งฉากกับปีก จึงสรุปได้ว่าการเอียงของ microribs มีความสำคัญต่อการเหลือบระยับบนปีกของผีเสื้อถุงทองธรรมดา


หมายเหตุ * ผีเสื้อทั้ง 2 ชนิด ได้มาจากการเพาะเลี้ยงที่ศูนย์วิจัยและพัฒนากีฏวิทยาสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ** กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดชนิด cold field-emission gun (FE-SEM) รุ่น JEOL JSM-6335F

 

1a.jpg


รูป 1 แสดงภาพที่ศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ, ผีเสื้อจรกาเมียลาย (Euploea mulciber) (a), ลักษณะเกล็ดปีกผีเสื้อบริเวณที่เกิดสีน้ำเงินเหลือบระยับ (b, c), ลักษณะเกล็ดปีกผีเสื้อบริเวณจุดสีขาว (d) และ บริเวณเส้นปีกของผีเสื้อ (e)

 

2a.gif 2b.gif 2c.gif

รูป 2 แสดงภาพที่ศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดชนิด cold field-emission gun (FE-SEM), เกล็ดปีกผีเสื้อในพื้นที่ B1 (a-b) และ โครงสร้างของเกล็ดปีกผีเสื้อบริเวณพื้นที่ W ที่กำลังขยายสูง (c)

 

3a.jpg 3b.jpg 3c.jpg

รูป 3 แสดงภาพที่ศึกษาปีกคู่หลังของผีเสื้อจรกาเมียลายภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ (a), ลักษณะเกล็ดปีกผีเสื้อบริเวณพื้นที่ B3 (b) และ ลักษณะเกล็ดปีกผีเสื้อบริเวณพื้นที่ B4 (c)

 

4a.jpg 4b.jpg
4c.jpg


รูป 4 แสดงภาพที่ศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ, ผีเสื้อถุงทองธรรมดา (Troides aeacus) (a), ลักษณะเกล็ดปีกผีเสื้อบริเวณ Y1 (b) และ ลักษณะเกล็ดปีกผีเสื้อบริเวณ Y2 (c)

 

5a.gif 5b.gif 5c.jpg


รูป 5 แสดงภาพที่ศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดชนิด cold field-emission gun (FE-SEM), โครงสร้างของเกล็ดปีกผีเสื้อบริเวณพื้นที่ Y1 ที่กำลังขยายสูง (a), microrids ที่เรียงตัวตั้งฉากอยู่บนสันของเกล็ดปีก (b) และภาพมุมเอียงของผีเสื้อถุงทองธรรมดา (c)

 

5d.jpg 5e.gif


รูป 5 (ต่อ) ผีเสื้อ Troides magellanus แสดงสีน้ำเงินเขียวเหลือบระยับบนปีกคู่หลัง เมื่อมองจากมุมเอียง (d) และ microribs ที่วางตัวเอียงอยู่บนสันของเกล็ดปีก (e) (Vigneron et al., 2008)


 

คณะผู้วิจัย
น.ส.ปุณยวีร์ เดชครอง1 นายณัฐพล ชมแสง2 นายมงคล กองทุ่งมน3 นายภราดร ดอกจันทร์4 ดร.สุรัตน์วดี จิวะจินดา1 นายสิทธิศักดิ์ แสไพศาล5 รศ.ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี6 และ Prof.Makoto Shiojiri7    
1ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
2ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3ศูนย์วิจัยและบริการจุลทรรศนศาสตร์อิเล็กตรอน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4ศูนย์วิจัยและพัฒนากีฏวิทยาสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
5สำ นักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
6ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7Professor Emeritus of Kyoto Institute of Technology, Japan.     
โทร.
034-351399