ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทวัน เทอดไทย
ได้รับรางวัล TRF-CHE-SCOPUS Young Researcher Award
ประจำปี พ.ศ. 2552 สาขา Agricultural Sciences and Technology
จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ร่วมกับ
สำนักพิมพ์ Elsevier ผูัจัดทำฐานข้อมูลวารสารวิชาการ ระดับนานาชาติ Scopus
  

ประวัติส่วนตัว

            ผศ.ดร. นันทวัน เทอดไทย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับ 1) และปริญญาโท สาขาวิชา พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2540 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จาก University of Western Sydney ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2547

ทุนการศึกษา

  1. ทุนรัฐบาลออสเตรเลีย (AusAID) ปี พ.ศ. 2542-2543
  2. ทุนรัฐบาลไทย ปี พ.ศ. 2543-2546
  3. Research Publication Fellow จาก University of Western Sydney พ.ศ. 2546

ประวัติการทำงาน

  • พ.ศ.2548- ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ.2547- 2548  อาจารย์ ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2537-2538  QC. Supervisor, Thai Agri Foods Ltd.

ผลงานวิจัยโดยสรุป

            การออกแบบกระบวนการที่ทำในปัจจุบันมักใช้การลองผิดลองถูก ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง งานวิจัยนี้จึงเสนอการออกแบบกระบวนการโดยใช้แบบจำลองที่พัฒนาจากพื้นฐานความรู้ และความเข้าใจในกลไกที่เกิด ขึ้นระหว่างการแปรรูป เพื่อทำให้การออกแบบกระบวนการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการวิจัยนี้ได้พัฒนา และใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการออกแบบสภาวะของสองกระบวนการแปรรูป  กระบวนการแรก คือ การพักโด ขนมปังจากแป้งข้าวปราศจากกลูเตน พบว่า แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สามารถเลียนแบบความสัมพันธ์ และทำนายอิทธิพลของความชื้นสัมพัทธ์ (70 - 90%) และอุณหภูมิ (30 - 550C) ที่มีต่อการขยายตัวของก้อนโดระหว่าง การพักได้อย่างดี จากการทำนายของแบบจำลองดังกล่าว พบว่า สภาวะการพักโดขนมปังจากแป้งข้าวปราศจากกลูเตนที่ เหมาะสม คือ ความชื้นสัมพัทธ์ 90% และอุณหภูมิ 46.30C ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาการพักโด และไม่กระทบต่อคุณภาพ ของโด สำหรับอีก กระบวนการหนึ่งที่ได้ศึกษา คือ การอบแห้งใบสะระแหน่โดยใช้คลื่นไมโครเวฟภายใต้สภาวะ สุญญากาศ ซึ่งใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงของปริมาณความชื้นตลอดระยะเวลา การ อบแห้งในแต่ละสภาวะ ทำให้สามารถทำนายค่าคงที่อัตราการอบแห้งได้ พบว่า การใช้ความเข้มของไมโครเวฟสูงขึ้น สามารถเพิ่มค่าคงที่อัตราการอบแห้ง และค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของความชื้นของใบสะระแหน่ได้ ส่งผลให้เวลา การอบแห้งลดลงร้อยละ 85 - 95 เมื่อเปรียบเทียบกับการอบแห้งทั่วไปที่ใช้ลมร้อน นอกจากนี้ใบสะระแหน่อบแห้ง ที่ได้มีค่าความสว่าง (L*-value) สูงกว่าใบสะระแหน่ที่ได้จากการอบแห้งแบบลมร้อน และ a*-value อยู่ในช่วงสีเขียว ขณะที่ a*-value ของใบสะระแหน่ที่ได้ จากการอบแห้งแบบลมร้อนในช่วงสีแดง ดังนั้น การอบแห้งด้วยไมโครเวฟ สามารถรักษาสีเขียวตามธรรมชาติได้ดี นอกจากนี้การใช้ไมโครเวฟร่วมกับสุญญากาศทำให้ได้โครงสร้างที่มีรูพรุน ซึ่งส่งผลต่อการคืนรูปที่เร็วขึ้น โดยการเพิ่มความเข้มไมโครเวฟจาก 8.0 W.g-1 เป็น 11.2 W.g-1 ทำให้ค่าคงที่อัตราการคืนตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) จากผลการศึกษาทั้งสองกระบวนการ แสดงให้เห็นว่า การใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สามารถประเมินและออกแบบสภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการทางอุตสาหกรรม อาหารได้ ซึ่งทำให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงได้

ผลงานจากงานวิจัยนี้

  • Therdthai, N. and Zhou, W.  2009. Characterization of microwave vacuum drying and hot air drying of mint leaves (Mentha cordifolia Opiz ex Fresen). Journal of Food Engineering. 91(3):482-489.
  • Therdthai, N., Zhou, W. and Jangchud, K. 2007. Modeling of the effect of relative humidity and temperature on proving rate of rice-flour based dough. LWT-Food Science and Technology. 40(6):1036-1040.
  • Zhou, W. and Therdthai, N. 2008. Heat and mass transfer during baking of sweet goods. In Sumnu,H. ed. Food Engineering Aspects of Baking Sweet Goods. Taylor and Francis, LLC.
  • Zhou, W. and Therdthai, N. 2007. Manufacturing of bread and bakery products. In Hui, Y.H. ed.    Handbook of Food Products  Manufacturing. John Wiley & Sons, Inc.
  • Zhou, W. and Therdthai, N. 2007. Three-dimensional CFD modeling of a continuous industrial baking process. In Sun, D-W. ed. Computational Fluid Dynamics in Food Processing. Taylor and Francis, LLC.
  • Zhou, W. and Therdthai, N. 2006. Bread manufacture. In Hui, Y.H., Corke, H., De Leyn, I., Nip, W-K. and Swanson, R.B. eds. Bakery Products: Science and Technology. Blackwell Publishing.
หน่วยงาน : ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2562-5010