รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
และคณะนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว
รางวัลที่ได้รับ นักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2553
จาก มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูถัมภ์
ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ประวัติ

ชื่อ (ภาษาไทย)      รองศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ  วรรณวิจิตร
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)  Assoc. Prof. Apichart Vanavichit

วันเดือนปีเกิด  22  สิงหาคม พ.ศ. 2500
อายุ  53  ปี

ที่อยู่อาศัย (ตามบัตรประชาชน)
เลขที่ 114 หมู่ที่ 15 ถนนมาลัยแมน ต.สระสี่มุม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140
โทรศัพท์มือถือ  081-5274070

สถานภาพการสมรส โสด

ตำแหน่งปัจจุบัน ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
ที่อยู่หน่วยงาน   หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว, ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จ.นครปฐม

ประวัติการศึกษา

ปริญญา

    สถานศึกษา

  เดือน/ปีที่จบการศึกษา

วท.บ. (เกษตรศาสตร์)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ไทย)

2521

วท.ม. (เกษตรศาสตร์)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ไทย)

2524

Ph. D. (CropScience)

Oregon State University (USA.)

2532

ประวัติการทำงานที่สำคัญ และ Professional Activities

ประวัติการทำงานที่ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร

ตำแหน่ง

      เดือน/ปีที่เริ่มครองตำแหน่ง

อาจารย์ 

        1 มิถุนายน 2526

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

        5 มกราคม 2538

รองศาสตราจารย์

        2 มกราคม 2545

ตำแหน่งบริหารและตำแหน่งพิเศษที่ได้รับแต่งตั้ง

ปี พ.ศ.

 ตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง

2537-ปัจจุบัน

หัวหน้าศูนย์พันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

2546-ปัจจุบัน

ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว

2548-ปัจจุบัน

ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว

2548-ปัจจุบัน

เลขานุการศูนย์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาติ

เกียรติประวัติ/รางวัลที่เคยได้รับ

           เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

            ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก        5 ธันวาคม พ.ศ. 2543      
ปรมาภรณ์มงกุฎไทย         5 ธันวาคม พ.ศ. 2546

รางวัลเชิดชูเกียรติที่เคยได้รับ

ชื่อรางวัล/เกียรติยศ

จากสถาบัน/สถานศึกษา/องค์กร

ปีที่ได้รับ

1)  นักวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระเฉลิมฉลองครบรอบ 25 งานวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2546

2)  รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 พัฒนาพันธุ์ข้าวปิ่นเกษตร

2nd World Rice Competition

2547

3) ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นสาขาเกษตรศาสตร์และชีวภาพ ประจำปี 2549

สภาวิจัยแห่งชาติ

2549

4) ได้รับรางวัลรางวัลเกียรติคุณ INVENTOR  AWARD ด้านเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

2550

5) ได้รับรางวัลเกียรติคุณบุคคลดีเด่นด้านการวิจัยการเกษตรเชิงพาณิชย์

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(องค์การมหาชน)

2551

6) ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี 2553

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

2553

7) ได้รับโล่รางวัลประกาศเชิดชูเกียรติ ผู้ที่นำชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2553

ผลงาน
เช่น  วารสารวิชาการระดับนานาชาติ, วารสารวิชาการระดับชาติ, หนังสือ สิทธิบัตร (ในประเทศและต่างประเทศ)
International Publications

  1. International Rice Genome Sequencing Project* 2005. The map-based sequence of the rice genome. Nature 436: 793-800.Impact Factor 29.273
  2. Toojinda T., Tragoonrung S., Vanavichit A., Siangliw J.L., Pa-In N., Jantaboon J., Siangliw M. and Fukai S. 2005. Molecular breeding for rainfed lowland rice in the Mekong Region. Plant Production Science, 8(3): 330-333.       Impact Factor 0.626
  3. Romruensukharom P., Tragoonrung S., Vanavichit A. and Toojinda T. 2005. Genetic Variability of Corynespora cassiicola Populations in Thailand. J.Rubb.Res., 8(1) :38-49.
  4. Wanchana S., Kamolsukyungyong W., Ruengphayak S., Toojinda T., Tragoonrung S. and Vanavichit A. 2005. A Rapid Construction of a Contig across a 4.5 cM Region for Rice Grain Aroma Facilitates Marker Enrichment for Positional Cloning. ScienceAsia 31: 299-306.
  5. Wuthisuthimethaveea S., Lumubol P., Vanavichit A. and Tragoonrung S. 2005. EST-based identification of genes expressed in the branchiae of black tiger shrimp (Penaeus monodon Fabricius). ScienceAsia 31: 137-144.
  6. Jairin J., Toojinda T., Tragoonrung S., Tayapat S. and Vanavichit A. 2005. Mutiple Genes Determining Brown Planthopper (Nilaparvata lugens Stal) Resistance in Backcross Introgressed Lines of Thai Jasmine Rice ‘KDML105’. ScienceAsia. 31: 129-135.
  7. Wuthisuthimethaveea S., Lumubol P., Toojinda T., Tragoonrung S. and Vanavichit A. 2005. SSLP-based Linkage Map Construction in Black Tiger Shrimp (Penaeus monodon Fabricius). ScienceAsia 31: 91-97.
  8. Suriya-arunroj, D., Supapoj N, Toojinda T and Vanavichit A. 2004. Relative leaf water content as an efficient method for evaluating rice cultivars for tolerance to salt stress. ScienceAsia. 30: 411-415.
  9. Uyprasert S., Toojinda T, Udomprasert N, Tragoonrung S and Vanavichit, A. 2004. Proline Accumulation and Rooting Patterns in Rice Responses to Water Deficit under Rainfed Lowlands ScienceAsia 30: 301-311.
  10. Sanitchon J., Vanavichit A., Chanprame S., Toojinda T., Triwitayakorn K., Njiti V.N. and Srinives P. 2004. Identification of simple sequence repeat markers linked to sudden death syndrome reisitance in soybean. ScienceAsia. 30: 205-209.
  11. Ruanjaichon, V., Sangsrakru D, Kamolsukyunyong, W., Siangliw, M., Toojinda, T., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. 2004. Small GTP-binding Protein Gene is Associated with QTL for Submergence Tolerance in Rice (Oryza sativa L.) Rus J of Plant Physio 51 (5): 721 – 731. Impact Factor 0.277
  12. Lopez, M. T., Toojinda, T., Vanavichit, A., and Tragoonrung, S. 2003. Microsatellite markers flanking the tms2 gene facilitated tropical TGMS rice line development. Crop Science 43 (6): 2267 – 2271.  Impact Factor 0.925
  13. Siangliw M, Toojinda T, Tragoonrung S and Vanavichit A. 2003. Thai Jasmine Rice Carrying QTLch9 is Submergence Tolerance. Annals of Botany 91: 255-261.

Impact Factor 2.665

  1. Wanchana, S. Toojinda, T. Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. 2003. Duplicated coding sequence in the waxy allele of tropical glutinous rice (Oryza sativa L.) Plant Sc. 165 (6): 1193 – 1199.  Impact Factor 1.605
  2. Sirithunya, P., Tragoonrung, S., Vanavichit, A., Pa-In, N., Vongsaprom, C. and Toojinda, T. (2002) Quantitative trait loci associated with leaf and neck blast resistance in recombinant inbred line population of rice (Oryza sativa L). DNA Research 9(3): 79-88.                                                    Impact Factor 3.896
  3. Toojinda T, Siangliw M, Tragoonrung S, Vanavichit A. 2002. Molecular genetics of submergence tolerance in rice: quantitative traits loci (QTLs) analysis of traits associated with submergence tolerance. Annals of Botany 91: 243-253.            

Impact Factor 2.665

  1. Kamolsukyunyong W, Ruanjaichon V, Siangliw M, Kawasaki S, Sasaki T, Vanavichit A, Tragoonrung S. 2001. Mapping of Quantitative Trait Locus Related to Submergence Tolerance in Rice with Aid of Chromosome Walking.  DNA Research 8 (4): 163 – 171.  Impact Factor 3.896
  2. Lanceras, J.C., Huang, Z., Naivikul, O., Vanavichit, A., Ruanjaichon, V. and Tragoonrung, S. 2000. Mapping of genes for cooking and eating qualities in Thai Jasmine Rice (KDML105). DNA Research 7 (2): 93-101.  Impact Factor 3.896
  3. Tanya, P. Srinives, P., Toojinda, T., Vanavichit, A. and Lee, S.H. 2005. Identification of SSR markers associated with N2-fixation components in soybean (Glycine max L. Merr.). Korean J. Genetics 27: 351-359.   Impact Factor 0.333
  4. Toojinda, T., Tragoonrung, S., Vanavichit, A., Siangliw, J.L., Pa-In, N., Jantaboon, J., Siangliw, M. and Fukai, S. 2005. Molecular Breeding for Rainfed Lowland Rice in the Mekong Region. Plant Production Science 8 (3): 330-333. Impact Factor 0.626

ook Chapters

  1. Vanavichit, A. Tragoonrung, S. and Toojinda, T. 2005 Chapter 5: Mapping and Positional Cloning with Emphasis on Plant Science. Handbook of Genome Research (Volume 1), Sensen, C.W. (ed),. Wiley-VCH pp. 105-123.
  2. Vanavichit, A. Tragoonrung, S. and Toojinda, T. 2005.  Chapter 7: Molecular Genetics and Breeding for Flooding Tolerance. In H. Ashraf and P.J.C. Harris (eds) Abiotic stresses: Plant Resistance Through Breeding and Molecular Approaches. Harworth Press, 2005, 177-207.
  3. Vanavichit, A. Tragoonrung, S. and Toojinda, T. 2001. Chapter 7: Genomic Mapping and Positional Cloning, with Emphasis on Plant Science. In Biotechnology Vol. 5b: Genomics and Bioinformatics, Sensen, C.W. (ed), Wiley-VCH, 165-182.
  4. อภิชาติ  วรรณวิจิตร,   สมวงษ์   ตระกูลรุ่ง และธีรยุทธ ตู้จินดา.  2548. บทที่ 4 ข้าว-มัน-กุ้ง ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับข้าวไทย, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ISBN 974-93224-1-X, หน้า 61-78.
  5. อภิชาติ วรรณวิจิตร, ศิริพัฒน์ เรืองพยัคฆ์, สมศักดิ์ แซ่ซู้, อนุชา พลับพลา, นงนาถ พ่อค้า, สุพัฒน์ ทองเจือ, ธีรยุทธ ตู้จินดา. 2547. Nutritional genomics จีโนมิกส์ด้านโภชนาการข้าว. Science Today ฉบับที่ 6 : 2 – 10.
  6. วินธัย กมลสุขยืนยง, สามารถ วันชะนะ, ศิริพัฒน์ เรืองพยัคฆ์, สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง, อภิชาติ วรรณวิจิตร. 2546. ยีนความหอมของข้าวหอมมะลิ. Lab Today ฉบับที่ 9 : 66 – 69.
  7. วินิตชาญ รื่นใจชน, มีชัย เซี่ยงหลิว, ดวงใจ แสงสระคู, เอกภพ นิ่มเล็ก, สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง, อภิชาติ วรรณวิจิตร. 2546. ข้าวทนน้ำท่วม…ความฝันของชาวนาไทย. Lab Today ฉบับที่ 8 : 62 – 65.
  8. อภิชาติ วรรณวิจิตร. 2545. 5 ปี ของการเข้าร่วมโครงการวิจัยจีโนมข้าวนานาชาติ ประเทศไทยได้อะไร. Lab Today ฉบับที่ 7: 12 – 18.
  9. อภิชาติ  วรรณวิจิตร  2544 บทที่ 6 การค้นหายีนทั้งหมดในข้าวไทย ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับข้าวไทย, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ISBN 974-7360-54-3, หน้า 133-143
  10. สมวงษ์  ตระกูลรุ่ง,  อภิชาติ   วรรณวิจิตร.  2544.  บทที่ 5 เทคโนโลยีดีเอนเอกับการควบคุมคุณภาพข้าว ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับข้าวไทย, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ISBN 974-7360-54-3, หน้า 122-132
  11. อภิชาติ  วรรณวิจิตร,   สมวงษ์   ตระกูลรุ่ง และธีรยุทธ ตู้จินดา.  2544 บทที่ 2 เทคโนโลยีชีวภาพกับ การปรับปรุงพันธุ์ข้าว ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับข้าวไทย, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ISBN 974-7360-54-3, หน้า 79-121

Oral Presentations at International Symposiums

  1. Vanavichit, A., Yoshihashi, T., Wanchana, S., Areekit, S., Saengsraku, D., Kamolsukyunyong, W., Lanceras, J., Toojinda, T. and Tragoonrung, S. 2005. Positional Cloning of Os2AP, the aromatic gene controlling the biosynthetic switch of 2-acetyl-1-pyrroline and gamma aminobutyric acid (GABA) in rice. The 5th International Rice Genetic Symposium, Manila, the Phillipines, p 44.
  2. Vanavichit, A. 2005. TILLING: Where Functional Genomics Meets Conventional Breeding. The 10th International Congress of SABRAO, Tsukuba, Japan, S1-7.
  3. Vanavichit A., Sasoo S., Amorn T., Wanchana S., Kamolsukyungyoung W., Ruengphayak S., Siangliw M., Ruangjaichon V., Toojinda T. and Tragoonrung S. 2004. Integrated Functional Genomics in Breeding Rice for High Quality and Enriched Nutrition. 2nd International Symposium of Rice Functional Genomics. 15-17 November 2004. The University of Arizona, Arizona, USA.

Poster Presentations at International Symposiums

  1. Toojinda T, Siangliw M, Amornsilpa S, Jaturapahu T, Pa-In N, Tragoonrung S, Vanavichit A and Wanachana S. 2001. Introgression of genes conditioning submergence tolerance in rice. Plant & Animal Genome IX Conference, January 13-17, 2001, San Diego, CA, USA.
  2. Vanavichit A., Ruanjaichon V., Tachayingpaiboon D., Kamolsuyunyong W., Jamparuang M., Jaturapahu T., Nimlek E., Wanchana S, Toojinda T. and Tragoonrung S. 2001. Sequencing rice chromosome 9: Platform for understanding structure and functional genomics. Plant & Animal Genome IX. Abstract
  3. Toojinda T, Lanceras J, Huang ZL, Naivikul A, Sirithunya P, Tragoonrung S, Vanavichit A. 2000. Thai jasmine rice ‘KDML105’; Genome regions affecting cooking quality, aroma and photosensitivity.  Plant & Animal Genome VII. P.167. Town & Country Hotel, San Diego, CA, January 9-12
  4. Toojinda T, Sirithunya P, Tragoonrung S, Vanavichit A. 2000. Mapping QTLs for broad-spectrum leaf and neck blast resistance using recombinant inbred lines. Plant & Animal Genome VII. P.180. Town & Country Hotel, San Diego, CA, January 9-12
  5. Krutto P, Champaruang M, Rattanamahavichai N, Toojinda T, Vanavichit A.  2000. SUWANbase: An information resource for allelic classification of maize microsattelite markers. Plant & Animal Genome VII. P.4. Town & Country Hotel, San Diego, CA, January 9-12
  6. Wuthisuthmethavee S, Lumubol P, Rattanamahavichai N, Toojinda T, Tragoonrung S, Vanavichit A. 2000. Development of microsatellite markers and comparison of PCR-based markers for diversification in shrimps. Plant & Animal Genome VII. W22. Town & Country Hotel, San Diego, CA, January 9-12
Oral Presentation at Local Conferences (Thailand)
  1. A. Plabpla., S. Wongpornchai., T. Toojinda., S. Tragoonrung and A. Vanavichit. 2004. Expression of Genes In Carotenoid Biosynthesis in Developing Rice Grains (O. Sativa L.). pp. 112. Proceedings The 1st International Conference on Rice for the Future. 31 August – 3 September, 2004. Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
  2. Sangsrakru, D. and A. Vanavichit 2004 SNP Markers for Submergence Tolerance Candidate Genes Selection in Rice pp. 116 Proceedings The 1st International Conference on Rice for the Future. 31 August – 3 September, 2004. Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
  3. Jutarut Jantaboon., Meechai Siangliw., Chanakarn Wongsaprom., Theerayut Toojinda and Apichart Vanavichit. 2004. Discovery of New Bacterial Blight Resistance Genes in Backcross Introgressed Line of KDML105. pp. 118. Proceedings The 1st International Conference on Rice for the Future. 31 August – 3 September, 2004. Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
  4. W. Konggarean., T. Toojinda and  A. Vanavichit. 2004. SSSIIa, a Candidate Gene Determining Alkali Spreading Value in Rice. pp. 138. Proceedings The 1st International Conference on Rice for the Future. 31 August – 3 September, 2004. Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
  5. Pattama Sirithunya., Saengchai Sriprakhon., Chanakarn Wongsaprom., Tanee Sreewongchai., Apichart Vanavichit and Theerayut Toojinda. 2004. Discovery of Broad Spectrum Blast Resistance in Rice. pp. 160. Proceedings The 1st International Conference on Rice for the Future. 31 August – 3 September, 2004. Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
  6. Tanee Sreewongchai., Pattama Sirithunya., Apichart Vanavichit and Theerayut Toojinda. 2004. QTL Mapping of Avr Gene, Mating Type and Melanin Formation in Magnaporth grisea. pp. 162. Proceedings The 1st International Conference on Rice for the Future. 31 August – 3 September, 2004. Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
  7. Jirapong Jairin., Kittiphong Phengrat., Apichart Vanavichit and Theerayut Toojinda. 2004. Bph3, a Durable and Broad spectrum Brown Planthopper Resistance. pp. 163. Proceedings The 1st International Conference on Rice for the Future. 31 August – 3 September, 2004. Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
  8. Duangjai Suriya-arunroj., Nopporn Supapoj., Somdej Immark., Apichart Vanavichit and Theerayut Toojinda. 2004. Development of Salt Tolrance-High Cooking Quality Rice by Molecular Breeding. pp. 164. Proceedings The 1st International Conference on Rice for the Future. 31 August – 3 September, 2004. Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
  9. Yeetoh Chaweewan, Jutarut Jantaboon., Chanakarn Wongsaprom., Theerayut Toojinda. and Apichart Vanavichit. 2004. Marker-assisted Selection and Anther Culture Generate Genetically Fixed Lines for Rice Breeding Program. pp. 183. Proceedings The 1st International Conference on Rice for the Future. 31 August – 3 September, 2004. Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
  10. Kanchana Punyawaew., Jonaliza L. Sianagliw., Natthaporn Veanngam., Theerayut Toojinda and Apichart Vanavichit. 2004. Quantitative Trait Loci (QTL) for Drought Tolerance in Rice. pp. 210. Proceedings The 1st International Conference on Rice for the Future. 31 August – 3 September, 2004. Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
  11. Kanchana Punyawaew., Natthaporn Veanngam., Nathinee Pa-In., Surakit Pakdee., Theerayut Toojinda and Apichart Vanavichit. 2004. Molecular Breeding in Rainfed Lowland Rice Breeding Program. pp. 211. Proceedings The 1st International Conference on Rice for the Future. 31 August – 3 September, 2004. Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
  12. Thongjua S., Kamolsukyunyong B., Plabpla A., Toojinda T. and Vanavichit A. 2004. RiceGeneThresher: a genome browser for positional cloning in rice. Proceedings JSPS-NRCT Symposium on The Forefront of Bioinformatics Applications. 5 February 2004. , Pang Suan Kaew Hotel, Chiang Mai, Thailand.
  13. Jantaboon, J., Siangliw, M., Toojinda, T., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. Evaluation of backcross introgressed lines of KDML105 for submergence tolerance. Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  14. Kamolsukyunyong, W., Wanchana, S., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. Positional cloning for genes involved in grain aroma. Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  15. Kamolsukyunyong, W., Wanchana, S., Ruengphayak, S., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. Isogenic Lines Carrying the 150.6 kb from KDML105 Produce 2-Acetyle-1-Pyrroline. Poster presentation at Rice Biotec Day 2002, BIOTEC, Science Park, 28 Octerber 2002, Pathumthani, Thailand.
  16. Krutto, P., Walayaporn, K., Ruengphayak, S. and Vanavichit, A. Molecular breeding for glutinous QPM (high quality protein maize). Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  17. Krutto, P., Walayaporn, K., Ruengphayak, S., Tragoonrung, T. and Vanavichit, A. Genome Mapping for Earliness in Maize. Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  18. Kuadkhuntod, S., Kamolsukyunyong, W., Pa- in, N., Tragoonrung, S., Lertsilapamonkol, P., Sirithunya, P., Vanavichit, A. and Toojinda. T. Molecular mapping of genes for grain protein content and major seed storage protein in rice. Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  19. Phoka, N. , Sangsrakru, D., Ruanjaichon, V., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. Development of  ESTs from Different Developmental Stages of Rice Endosperm. Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  20. Pimprapan, P., Sianglew, M., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. Sequence variation of genes determining heading date and their relationship to photoperiod sensitivity in rice (Oryza sativa L). Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  21. Ruanjaichon, V., Tragoonrung, S., Toojinda, T., and Vanavichit A., 2002. A novel small GTP-binding protein gene is associated with QTL for submergence tolerant in rice (Oryza sativa), Oral presentation, The 3rd national symposium on Graduate research, Suranaree University, Thailand.
  22. Siangliw, M., Ruanjaichon, V., Kamolsukyunyong, W., Sangsrakru, D., Toojinda, T., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. Development of Single Gene Recombinant Line for Functional Analysis of Genes Involved in Submergence Tolerance. Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  23. Sirithunya, P., Nuan-Plab, A., Sriprakhon, S., Vongsaprom, C., Vanavichit, A., Tragoonrung, S. and Toojinda, T. Mapping of QTL (quantitative trait loci) conferring resistance to a broad-spectrum of blast isolates in high nutrition rice cultivar Jao Hom Nin. Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  24. Sirithunya, P., Tragoonrung, S., Vanavichit, A., Pa-In, N., Vongsaprom, C. and Toojinda, T. Quantitative trait loci associated with leaf and neck blast resistance in recombinant inbred line population of rice (Oryza sativa.). Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  25. Thongjua, S., Kamolsukyunyong, B., Plabpla, A., Kamolsukyunyong, W., Siangliw, M., Rangsarityothin, W., Uthayopas, P., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. RiceGeneThresher: A genomic browser for positional cloning and molecular breeding. Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  26. Vanavichit A., Ruanjaichon V., Siangliw, M., Sangsrakru D., Kamolsuyunyong W., Nimlek E., Toojinda T. and Tragoonrung S. 2002. Positional cloning of submergence tolerant in rice. Poster presentation at Rice Biotec Day 2002, BIOTEC, Science Park, 28 Octerber 2002, Pathumthani, Thailand.
  27. Wanchana, S., Wuthisuthimethavee, S., Tragoonrung, S., Toojinda, T. and Vanavichit, A. Fluorescent-based markers quantifying glutinous from non-glutinous rice. Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  28. Wiriyasuk, K., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. molecular genetic analysis of the anthocyanin pigmentation pathway in black rice. Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  29. Jairin, J., Toojinda, T., Tragoonrung, S., Amornsilpa, S., Sarkarung, S., Wanchana, S., Tayapat, S. and Vanavichit, A. Mapping multiple QTLs conferring brown planthopper resistance using advance introgressed lines. Queen Sirikit national convention center. 7-10 November 2001, Bangkok, Thailand.
  30. Kamolsukyunyong, W., Wanchana, S., Ruanjaichon, V., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. Construction of Two Bacterial Artificial Chromosome Libraries from Thai Fragrant KDML105, and Submergence Tolerance, FR13A, Rice. BioThailand 2001. Queen Sirikit national convention center. 7-10 November 2001, Bangkok, Thailand.
  31. Krutto, P, Theerayut, T., Tragoonrung, S. and  Vanavichit, A. mapping genes controlling downy mildew resistance in maize. Research and project 2001. National center for genetic engineering and biotechnology.
  32. Lopez, MT. Vanavichit, A., Toojinda, T. and Tragoonrung, S. Microsatellite Markers Flanking the Thermosensitive Male Sterility Gene Facilitating the Development of Tropical TGMS Rice Lines. Research and project 2001. National center for genetic engineering and biotechnology.
  33. Ruanjaichon, V., Sangsrakru, D., Kamolsukyunyong, W., Siangliw, M., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. A Novel Putative Transmembrane Receptor Protein and Its Role in Submergence Tolerance in Rice. Queen Sirikit national convention center. 7-10 November 2001, Bangkok, Thailand.
  34. Ruanjaichon, V., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. 2001. A Novel Putative Transmembrane Receptor Protein and Its Role in Submergence Tolerance in Rice. Oral presentation, RGJ seminar series: AggieNet I plant science, The Thailand research fund, Kasetsart university, Thailand.
  35. Ruanjaichon, V., Sangsrakru, D., Kamolsukyunyong, W., Siangliw, M., Nimlek, E., Toojinda, T., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. A novel small GTP-binding protein plays roles in signal transduction in submergence tolerance rice (Oryza sativa L.). Research and project 2002. National center for genetic engineering and biotechnology.
  36. Sangsrakru, D., Kamolsukyunyong, W., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A.  Comparing Direct cDNA Selection and Shotgun Sequencing as Effective Means for Discovering Genes Using a Rice P1-derived Artificial Chromosome. Queen Sirikit national convention center. 7-10 November 2001, Bangkok, Thailand.
  37. Sangsrakru, D., Kamolsukyunyong, W., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. simple sequence repeat content on selected regions on the rice genome. Queen Sirikit national convention center. 7-10 November 2001, Bangkok, Thailand.
  38. Siangliw, M., Ruanjaichon, V., Kamolsukyunyong, W., Toojinda, T., Tragoonrung, S. and Vanavichit, A. Ultra fine-scale mapping to dissect quantitative trait loci by selective backcrossing. Queen Sirikit national convention center. 7-10 November 2001, Bangkok, Thailand.
  39. Toojinda, T., Jairin, J., Pa-In, N., Amornsilpa, S., Siangliw, M., Tragoonrung, S., Vanavichit, A. and Wanachana, S. Identification of genes conferring resistance to brown planthopper and striped rice borer (Chilo suppressalis Walker) in rice. Research and project 2001. National center for genetic engineering and biotechnology.
  40. Tragoonrung, S.,  Siangliw, M., Amornsilpa, S., Wanachana, S., Jaturapahu, T., Thongdeetae, S., Tayapata, S., Jairin, J., Pa-In, N.,  Toojinda, T., Vanavichit, A. Attempts to Pyramiding of Genes Conditioning Submergence Tolerance, Bacterial Leaf Blight Resistance (Xa-21) and Brown Planthopper Resistance in KDML105. Research and project 2001. National center for genetic engineering and biotechnology.
  41. Vanavichit, A. Post-genomics era and application in Thailand. Queen Sirikit National Convention Center. 7-10 November 2001, Bangkok, Thailand
  42. Wanchana, S., Toojinda, T., Tragoonrung, S., and Vanavichit, A. Regulation Of Amylose Content In Rice Endosperm. Research and project 2001. National center for genetic engineering and biotechnology.

สิทธิบัตร (ในประเทศและต่างประเทศ)

Vanavichit, A., Tragoonrung, S., Theerayut, T., Wanchana, S., Kamolsukyunyong, W. January 15th, 2008. Transgenic Rice Plants with Reduced Expression of OS2AP and Elevated Levels of 2-acetyl-1-Pyrroline. USPTO, U.S. Cl. 800-285 (US 7,319,181 B2)


ผลงานที่สร้างชื่อเสียงโดยสรุป

  1. ค้นพบยีนความหอมและเข้าใจหน้าที่ของยีนในการกำหนดปริมาณสารหอมในข้าว (อยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตรใน 7 ประเทศ)
  2. เป็นผู้ที่ทำงานวิจัย และมีผลงานตีพิมพ์มากที่สุดคนหนึ่งในสาขาเกษตรศาสตร์ของประเทศไทย โดยตีพิมพ์เอกสารวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุศาสตร์ สถิติ และพืชไร่ทั่วไป ในวารสารต่าง ๆ ทั้งในประเทศและนานาชาติกว่า 60 เรื่อง
  3. ตีพิมพ์ผลงานในรายงานการประชุม (Proceedings) ทั้งในประเทศและนานาชาติกว่า 100 เรื่อง 
  4. เรียบเรียงเอกสารประกอบการฝึกอบรม ทั้งในประเทศและนานาชาติ กว่า 2 5 เรื่อง
  5. เรียบเรียงตำราและเอกสารคำสอน ทั้งเรียบเรียงผู้เดียวและร่วมกับผู้อื่น ประมาณ  12 เล่ม
  6. เป็นประธานที่ปรึกษาและกรรมการที่ปรึกษาของนิสิตปริญญาเอกและโท ทั้งในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่จบการศึกษาไปแล้วกว่า 100 คน และเป็นกรรมการในปัจจุบันอีกกว่า 30 คน ผู้ที่จบการศึกษาไปแล้ว เป็นกำลังสำคัญในวงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวของไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน อยู่ในปัจจุบัน
  7. สามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ที่เป็นที่ต้องการและเป็นที่นิยมทังในระดับชาติและในระดับนานาชาติ ได้อย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 สายพันธุ์

ทุนวิจัยที่เคยได้รับ

ทุนวิจัยในปัจจุบัน

  1. ชื่อโครงการ การค้นหาหน้าที่ยีนทั้งจีโนมข้าว: การก่อการกลายพันธุ์ทั้งจีโนม
    แหล่งทุน   สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
  2. ชื่อโครงการ บูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพในการสร้างพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าสูง
    แหล่งทุน  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  3. ชื่อโครงการ การพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก
    แหล่งทุน    สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

 

 

สารวิทยานิพนธ์สู่นวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมเอกลักษณ์ไทย

การเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมเอกลักษณ์ไทย 

                การค้นพบยีนความหอม เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2547 นับเป็นครั้งแรกของโลก ได้เพิ่มขีดความสามารถในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมให้มีความแม่นยำมา ยิ่งขึ้น หน่วยค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวได้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมให้หอม ขึ้นและมีความต้านทานมากขึ้น เป็นจำนวนกว่า 10 พันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่ง ได้ เป็น 2 แบบ คือ แบบเพิ่มความต้านทานลงไปในข้าวหอมโดยเฉพาะ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เช่น ข้าวหอมมะลิ ๘๐ ข้าวหอมมะลิต้านทานเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง และทนน้ำท่วม ข้าวเหนียวหอมมะลิ ๘๐ ส่วนพันธุ์ข้าวกลุ่มที่สอง เป็นการใช้เพิ่มผลผลิตข้าวหอมโดย Functional marker ‘Aromarker’ ช่วยถ่ายทอดลักษณะความหอมไปสู่พันธุ์ที่ผลผลิตสูง แต่ไม่หอม เช่น ข้าวหอมชลสิทธิ์, ข้าวปิ่นเกษตร2,3 เป็นต้น ข้าวหอม เหล่านี้ให้ผลผลิตมากกว่า 1 ตัน/ไร่  ในนาชลประทาน

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

                ตลาดข้าวหอมโลกมีมูลค่าอยู่ไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท ครึ่งหนึ่งเป็นข้าวหอมจากประเทศไทย หากคิดเป็นปริมาณการส่งออกข้าวจากประเทศไทย 9 ล้านตันข้าวสารแล้ว หรือประมาณ 180,000 ล้านบาท  มูลค่าส่งออกข้าวหอมของไทยอยู่ในสัดส่วนครึ่งหนึ่งของมูลค่าส่งออกทั้งหมด  ดังนั้นการรักษาขีดความสามารถของข้าวหอมไทยในตลาดโลกจึงมีความสำคัญต่อการปรับปรับปรุงพันธุ์                     เทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอมในข้าวจึงเป็นหัวใจในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมให้มีผลผลิตสูง, ต้านทานโรค-แมลง หรือสิ่งแวดล้อมจำกัด การตรวจสอบความหอมของข้าวในระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเป็นกิจกรรมยุ่งยากทีเดียว เนื่องจากกลิ่นหอมของข้าวมีจุดระเหยต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง การคัดเลือกโดยใช้ยีนความหอม (Aromarker) ทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ไม่ต้องกังวลกับการทดสอบความหอม ทำให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมทำได้ง่ายขึ้น ดังจะเห็นได้จากจำนวนพันธุ์ข้าวหอมใหม่ๆ ที่มีผลผลิตสูงและต้านทานโรคแมลงมีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิที่เป็นข้าวส่งออกที่สำคัญที่สุดของไทย ปัจจุบันเรามีข้าวหอมมะลิ ๘๐ (ทนน้ำท่วม),หอมมะลิ ๘๑ (ทนเค็ม), หอมมะลิ ๘๒ (ทนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล), หอมมะลิ ๘๓ (ทนน้ำท่วม + ขอบใบแห้ง) และหอมมะลิ ๘๔ (ทนน้ำท่วม + ขอบใบแห้ง + เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล)  ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต  เพราะข้าวขาวดอกมะลิและข้าวเหนียวกข 6 เดิมเป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง จึงถูกจำกัดการออกดอกอยู่ในช่วงวันสั้น ดังนั้นการสูญเสียข้าวจากการระบาดของโรคจะทำให้ชาวนาไม่มีโอกาสผลิตข้าวหอมมะลิไปทั้งปี การส่งออกของไทยจะถูกกระทบอย่างใหญ่หลวง

ผลกระทบทางวิทยาศาสตร์

                                                                           การค้นพบยีนความหอมของข้าว นับว่าเป็นความภูมิใจของคนไทยเพราะเป็นการพบครั้งแรกในโลก ทำให้เกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าว การค้นพบยีนความหอมได้กระตุ้นให้นักวิจัยทั่วโลกกลับมาศึกษาการทำงานและควบคุมความหอมในข้าวและพืชอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ทำให้ประชาชนและนักการเมืองได้ตระหนักถึงความสำคัญทางวิทยาศาสตร์ ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ให้คงคุณภาพเดิมแต่เติมความต้านทานที่ขาดหายไปจนสามารถดำรงพันธุ์ให้คงอยู่ในระบบเกษตรยุคใหม่ได้

พันธุ์ข้าวหอมที่ได้รับการพัฒนา
หอมมะลิ ๘๐

                ลักษณะประจำพันธุ์  เป็นข้าวที่เกิดจากการผสมกลับของข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ กับข้าวเจ้าทนน้ำท่วม FR13A ในปี 2550 เมื่อไบโอเทค/มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรมการข้าว ได้ร่วมกันน้อมเกล้าถวายข้าวขาวดอกมะลิทนน้ำท่วม แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งในเวลาต่อมาเรียกว่า หอมมะลิ ๘๐ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชันษาครบ 80 พรรษา ด้วยเมล็ดพันธุ์เริ่มต้น 5 ตัน สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ได้ทำการส่งเสริมข้าวหอมมะลิ ๘๐ ไปสู่เกษตรกรได้มากกว่า 1000 ไร่ จนสามารถสร้างผลกระทบได้ไม่ต่ำกว่า 8 ล้านบาท โดยไม่ได้พึ่งพากลไกการส่งเสริมของรัฐแต่อย่างใด นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิที่จะมีความต้านทานมากขึ้น และเป็นการทำให้คนทั่วไปประจักษ์แล้วว่า เราไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี ตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) จากต่างประเทศ

หอมมะลิ ๘๑ พันธุ์ข้าวเจ้าหอมทนเค็ม

                ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวที่เกิดจากการผสมกลับของข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ กับข้าวเจ้าทนเค็มจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) IR66946-3R-230-1-1 (FL530)    “หอมมะลิ ๘๑” ถูกคัดเลือกผ่านเทคโนโลยีชีวภาพโดยใช้ดีเอ็นเอเครื่องหมายที่วางตัวใกล้ชิดกับลักษณะความทนทานต่อสภาวะเค็มในระยะกล้า ดังนั้นจึงเหมาะกับพื้นที่ ที่มีระดับความเค็มประมาณ 0.4 - 0.8 เปอร์เซ็นต์เกลือ ซึ่งเป็นระดับความเค็มที่พบมากในพื้นที่มีปัญหาเรื่องดินเค็ม และเป็นพื้นที่         ที่เกษตรกรมักนิยมปลูกพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ แต่มักประสบปัญหา เนื่องจากขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ไม่สามารถทนทานต่อความเค็มที่ระดับนี้    ดังนั้น  “หอมมะลิ ๘๑” จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเกษตรกร เนื่องจากช่วยแก้ปัญหาความเสียหายที่เกิดจากความเค็มในระยะกล้า ให้ผลผลิตสูงกว่าเนื่องจากต้นเตี้ยกว่า  (ประมาณ 90-100 ซม.) จึงลดความเสียหายที่เกิดจากการหักล้ม ในสภาวะปกติ “หอมมะลิ ๘๑” สามารถให้ผลผลิตประมาณ 500 -600 กก./ไร่ (ในขณะที่ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ให้ผลผลิต 400 กก./ไร่) นอกจากนั้น “หอมมะลิ ๘๑” ยังถูกปรับปรุงให้มีเมล็ดเรียวยาว  (เมล็ดข้าวกล้องยาว 7.5 มม.) และลักษณะคุณภาพการหุงต้มหรือรสชาติหอมนุ่มคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕  ข้อควรระวังคือไม่ต้านทานแมลงและโรคไหม้

หอมมะลิ ๘๒  พันธุ์ขาวดอกมะลิ105ทนน้ำท่วมฉับพลันและต้านทานต่อแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

                ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นลูกผสมของข้าวหอมมะลิ ๘๐ และขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ต้านทานแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดังนั้น “หอมมะลิ  ๘๒” จึงถูกคัดเลือกให้มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาวะน้ำท่วมฉับพลันได้นาน 2 สัปดาห์และต้านทานต่อแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ผ่านเทคโนโลยีชีวภาพโดยใช้ดีเอ็นเอเครื่องหมายที่วางตัวชิดกับลักษณะดังกล่าว พร้อมทั้งคงความเป็นข้าวเจ้าหอมที่มีทรงต้นและลักษณะคุณภาพการหุงต้มหรือรสชาตินุ่มหอมคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕      “หอมมะลิ ๘๒” เป็นข้าว เจ้านาปี สามารถปลูกได้ปีละ 1 ครั้งจึงเหมาะกับพื้นที่ภาคเหนือ และอีสานที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ง่าย และมีปัญหาการระบาดของแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในสภาวะปกติ “หอมมะลิ ๘๒” จะมีความสูงประมาณ 153 ซม. สามารถให้ผลผลิตประมาณ 500 กก./ไร่ (ในขณะที่ขาวดอกมะลิ๑๐๕ ให้ผลผลิต 400 กก./ไร่) และมีลักษณะทั่วไปเหมือนขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ดังนี้ ข้าวเปลือกสีฟางยาวเรียว ความยาวของข้าวเปลือกประมาณ 11 มม. ข้าวกล้องประมาณ 7.6 มม. การเกิดท้องไข่ประมาณ 0.2-0.8 ปริมาณอะไมโลส 14-17% ระดับค่าการสลายตัวในด่าง(1.7% KOH) ประมาณ 7 เหมือนขาวดอกมะลิ105 ข้อเสียคือไม่ต้านทานต่อโรคไหม้



หอมมะลิ ๘๓ พันธุ์ข้าวหอมมะลิต้านทานโรคขอบใบแห้ง

                ลักษณะประจำพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง (Xa21)  ทำการผสมข้ามระหว่างพันธุ์ทนทานต่อโรคขอบใบแห้ง (Xa21) IR1188 กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105  จากนั้นทำการผสมกลับจนได้ลูกผสมกลับชั่วที่ 4 และปล่อยให้ผสมตัวเองได้สายพันธุ์ลูกผสมกลับจำนวน 463 สายพันธุ์ ทำการคัดเลือกด้วยดีเอ็นเอเครื่องที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง และคุณภาพการหุงต้มของขาวดอกมะลิ105 ได้แก่ความหอม, ปริมาณแป้งอมิโลส, การสลายตัวในด่าง ทำการปลูกทดสอบผลผลิตในพื้นที่จริงพร้อมกับการปลูกทดสอบความสามารถในการทนทานต่อโรคขอบใบแห้งจากเชื้อแบคทีเรียสาเหตุจากพื้นที่จังหวัดอุบลฯ, พิษณุโลก, สุโขทัย,  แพร่, และนครปฐม จนได้สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง (Xa21) ที่มีความหอมและคุณภาพการหุงต้มใกล้เคียงกับขาวดอกมะลิ 105  และให้ชื่อว่าหอมมะลิ ๘๓

หอมมะลิ ๘๔

                ลักษณะประจำพันธุ์ ความสำเร็จที่ท้าทายยิ่งกว่าหอมมะลิ ๘๐ คือการรวบยอดยีนต้านทานโรคขอบใบแห้งตำแหน่งที่ 21 และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตำแหน่งที่ 4 และ 10 เข้าไว้ด้วยกัน นับเป็นความพยายามที่ใช้เวลายาวนาน บนเงื่อนไขของเทคโนโลยีที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่ในที่สุด ข้าวหอมมะลิ ๘๔ ก็จะปรากฎสู่สายตาของเกษตรกร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับ การระบาดของเพลี้ยกระโดดและขอบใบแห้งในเวลานี้  ข้าวหอมมะลิ ๘๔ ก็ยังคงความเป็น ข้าวหอมมะลิไทยอยู่อย่างสมบูรณ์แบบ

หอมชลสิทธิ์

                ลักษณะประจำพันธุ์ ถูกพัฒนาเพื่อผืนนาชลประทานที่มีปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน  ในสภาพปรกติ ข้าวหอมชลสิทธิ์ เป็นข้าวผลผลิตสูง มีกลิ่นหอม เมล็ดยาว นิ่มนวล แต่มีความแตกต่างจากขาวดอกมะลิ อย่างชัดเจนที่อุณหภูมิแป้งสุก  หอมชลสิทธ์ สามารถทนอยู่ใต้น้ำได้อย่างน้อย 2 - 3 สัปดาห์แล้วฟื้นตัวได้หลังน้ำลด ซึ่งโดยปกติพันธุ์ข้าวทั่วไปจมน้ำตายภายใน 1 สัปดาห์ ความทนทานนี้เป็นระดับความทนทานที่อายุของต้นข้าวประมาณ 21 วันหรือระยะต้นกล้า แต่ถ้าต้นข้าวมีอายุมากกว่าระดับความทนทานก็จะมากขึ้นไปด้วย สายพันธุ์นี้ได้ทำการเผยแพร่และส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่เป้าหมายที่เสี่ยงต่อสภาวะน้ำท่วมฉับพลันคือจังหวัดพิจิตร, อุตรดิตถ์, สุพรรณบุรี, นครปฐม, อยุธยา ผ่านกรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์และเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นขณะนี้มีพื้นที่ปลูกข้าว หอมชลสิทธ์ อยู่มากกว่า 1,500 ไร่ (ปี 2551)

“ธัญสิริน” ชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้

                ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นลูกผสมกลับของข้าวเหนียว กข6 กับข้าวเจ้าหอมนิลที่มีคุณสมบัติต้านทานต่อโรคไหม้แบบกว้าง (Broad spectrum) หรือต้านทานต่อเชื้อรา PyriculariagriseaSacc. หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไหม้ โดยเชื้อรานี้จะสามารถเข้าทำลายข้าวในทุกส่วนที่อยู่เหนือดินและทุกระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะออกรวง ถ้าเข้าทำลายที่ใบจะเรียกว่า โรคใบไหม้ แต่ถ้าเข้าทำลายที่คอรวงจะเรียกว่าโรคไหม้คอรวง ในขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทานต่อโรคไหม้นี้ได้ทำการคัดเลือกผ่านเทคโนโลยีชีวภาพโดยใช้ดีเอ็นเอเครื่องหมายที่วางตัวใกล้ชิดกับลักษณะความต้านทานต่อเชื้อราสาเหตุเหล่านี้ถึง 120 สายพันธุ์ ทำให้ในที่สุดสามารถปรับปรุงพัฒนาพันธุ์ “เหนียวหอมมะลิ ๘๔” ที่มีความสามารถต้านทานโรคไหม้แบบคงทนและยั่งยืน อีกทั้งเป็นข้าวเหนียวนาปีซึ่งสามารถปลูกได้ปีละ 1 ครั้งจึงทำให้ “เหนียวหอมมะลิ ๘๔” เหมาะกับพื้นที่ในภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งมีการระบาดของโรคไหม้อยู่เป็นประจำทุกปีเนื่องจากมีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะแก่การเจริญของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ นอกจากความต้านทานต่อโรคไหม้แล้ว “เหนียวหอมมะลิ ๘๔” ยังถูกปรับปรุงให้มีทรงต้น เมล็ด ผลผลิตและคุณภาพการหุงต้มโดยเฉพาะรสชาติให้เหมือนกับข้าวเหนียว กข6 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่เป็นนิยมปลูกมากที่สุด ดังนั้น “เหนียวหอมมะลิ ๘๔” จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเกษตรกรที่จะสามารถช่วยลดความเสียหายหรือความเสี่ยงอันเกิดจากโรคไหม้ได้ จากความสำเร็จอย่างรวดเร็วของข้าวเหนียวพันธุ์นี้ที่จังหวัดน่าน โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิฮักเมืองน่าน, สถาบันราชมงคลล้านนา, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์, มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา, และศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ ได้ร่วมกันส่งเสริมพันธุ์ข้าวจนประสบความสำเร็จจึงขอพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

 

คณะผู้วิจัย
รศ.ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร และคณะ
ศูนย์วิทยาศาสตร์และหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
โทร 034 355 193