|
|
ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2553
จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี |
ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล เกิดที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบุตรของนายสมาน และนางจู ลิ้มตระกูล มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน สมรสกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพลิน ลิ้มตระกูล (แจ้งเจนกิจ) มีธิดา 1 คนคือ นางสาวสลิล ลิ้มตระกูล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสมานวิทยา และมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสารสิทธิพิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนอันดับหนึ่ง ในสาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำเร็จการศึกษาปริญญาโทในสาขาฟิสิคัลเคมี (Physical Chemistry) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนรัฐบาลศึกษาต่อปริญญาเอกที่ University of Innsbruck ประเทศออสเตรีย หลังจากนั้น ได้ทำวิจัยหลังปริญญาเอกที่ Institute of Physical Chemistry and Electrochemistry, University of Karlsruhe ประเทศเยอรมนี ด้วยทุน Humboldt Research Fellowship และเป็น Visiting Professor ที่ Laboratory for Molecular Spectroscopy, University of Bordeaux ด้วยทุนรัฐบาลประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล ได้ร่วมมือในการทำวิจัยกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในยุโรป และสหรัฐอเมริกา อาทิ Uppsala University, Oxford University, University of Barcelona, University of Innsbruck, University of Utah เป็นต้น
ปัจจุบันศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล ดำรงตำแหน่ง
- ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาเคมีและเภสัช
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- กรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- กรรมการสิทธิบัตรในสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาเภสัชศาสตร์
กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
- กรรมการบรรณาธิการวารสาร ScienceAsia
- บรรณาธิการรับเชิญวารสาร Chemical Engineering Communications
- กรรมการบรรณาธิการวารสาร The Chemical Physics Journal
- กรรมการบรรณาธิการวารสาร Recent Patents on Nanotechnology
- กรรมการบรรณาธิการวารสาร Recent Patents on Engineering
- กรรมการบรรณาธิการวารสาร Recent Patents on Materials Science
- กรรมการบรรณาธิการวารสาร Nature Publishing Group, NPG Asia Materials
ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล และคณะวิจัย ได้ร่วมกันบุกเบิกงานวิจัยด้านการออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาและวัสดุที่มีโครงสร้างระดับนาโนเมตร โดยเน้นการใช้ระเบียบวิธีทางเคมีเชิงทฤษฎี เพื่อศึกษาและอธิบายกลไกของการเกิดปฏิกิริยาเคมีในระดับโมเลกุลที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวหรือในรูพรุนของซีโอไลต์ และสารประกอบอะลูมิโนซิลิเกตที่มีรูพรุนขนาดนาโนเมตร เพื่อออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีคุณสมบัติเฉพาะที่เหมาะสมกับแต่ละปฏิกิริยา และเพื่อพัฒนาระเบียบวิธีใหม่ทางด้านเคมีคอมพิวเตอร์ ให้มีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยอาศัยทฤษฎีโครงสร้างอิเล็กตรอน ทำให้สามารถใช้ศึกษาแบบจำลองแบบโมเลกุลที่มีโครงสร้างขนาดนาโนเมตรได้ นอกจากนี้ยังเน้นการศึกษาทางเคมีเชิงทฤษฎีร่วมกับการทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เทคนิคทางสเปคโทรสโคปี และวิธี Temporal Analysis of Products (TAP) ทำให้เข้าใจกลไกและปัจจัยที่ควบคุมการเข้าทำปฏิกิริยาในระดับโมเลกุลได้โดยละเอียด ส่งผลให้สามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้กับด้านต่างๆ ทั้งด้านเคมี วิศวกรรมเคมี ชีววิทยาโมเลกุล และนาโนเทคโนโลยี
ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล เป็นผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทางเคมีคอมพิวเตอร์และเคมีประยุกต์ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยแห่งหนึ่ง และมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านเคมีเชิงฟิสิกส์ (Postgraduate Education and Research Programs in Physical Chemistry) มุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาและวิจัยขั้นสูงด้านเคมีซีโอไลต์ และวิศวกรรมตัวเร่งปฏิกิริยา สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ต่อมาได้ก่อตั้งศูนย์นาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และพัฒนาจนเป็นหนึ่งในศูนย์เครือข่ายความเป็นเลิศของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล ได้ส่งเสริมกลุ่มวิจัยที่ประกอบด้วยนักวิจัยรุ่นใหม่ สร้างบรรยากาศการวิจัยในกลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา จากหลายสถาบันการศึกษาในประเทศ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันและการบูรณาการงานวิจัยในด้านการออกแบบ การวิเคราะห์สมบัติ การผลิต และการประยุกต์ใช้งานวัสดุในระดับนาโนเมตร
จากประสบการณ์การทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี ทำให้ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล ได้รับการยกย่องจากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ
- Alexander von Humboldt Research Fellows
จากมูลนิธิ Alexander von Humboldt ประเทศเยอรมนี
- รางวัลวิจัยดีเด่นสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- เมธีวิจัย สกว. ประจำปี 2538 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- นักวิจัยที่มีผลงานยอดเยี่ยมของเมธีวิจัย สกว. ประจำปี 2539
จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- นักวิจัยที่มีผลงานยอดเยี่ยมของเมธีวิจัย สกว. ประจำปี 2540
จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเคมีและเภสัช ประจำปี 2541
จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- ผลงานวิจัยดีเด่นในโอกาสครบรอบ 20 ปี
สถาบันวิจัยและพัฒนา แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลตัวอย่างทางด้านวิชาการ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- รางวัลผู้สร้างผลงานดีเด่น ประจำปี 2539 - 2546
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- เมธีวิจัยอาวุโส ประจำปี 2545
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- นักวิจัยดีเด่นคนแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2546
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
- นักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารมาตรฐานสากลสูงสุดประจำปี 2546 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- เมธีวิจัยอาวุโส ประจำปี 2548 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- รางวัลนักวิจัยดีเด่นจากสมาคมเคมีแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาเคมีปิโตรเลียม
- ศิษย์เก่าดีเด่น บัณฑิตวิทยาลัย ประจำปี 2550 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผลงานวิจัยที่มีค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิงรวมสูงสุด ประจำปี 2551
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2551
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พระพิรุณทองคำ จากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารมาตรฐานสากลสูงสุด ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ของสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- โครงการวิจัยดีเด่นของ สกว. ประจำปี 2551 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- ดำรงตำแหน่งศาสตรเมธาจารย์ สวทช. (NSTDA Chair Professor) ประจำปี 2552
- บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2553
- บุคลากรดีเด่นสายวิชาการ ด้านการวิจัย ประจำปี 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายชื่อบทความวิจัยบางส่วนจากบทความวิจัยมากกว่า 150 บทความของศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล และกลุ่มวิจัย
ลำดับ |
หัวเรื่อง |
วารสารที่ตีพิมพ์ |
ผู้แต่ง |
1 |
Structures and Energetics of the Methylation of 2 methylnaphthalene with Methanol over H-BEA Zeolite |
Journal of Physical Chemistry C 2010 |
Karan Bobuatong, Michael Probst, Jumras Limtrakul |
2 |
Adsorption of M species and M2dimers (M=Cu, Ag and Au) on the pristine and defective single-walled carbon nanotubes (SWNTs): A density functional theory (DFT) study |
Journal of Physical Chemistry C 2010 |
Inntam, Chan and Limtrakul, Jumras |
3 |
Adsorption and Tautomerization Reaction of Acetone on Acidic Zeolites: The Confinement Effect in Different Types of Zeolites |
Journal of Physical Chemistry C 2010, 114, 15061-15067 |
Bundet Boekfa, Piboon Pantu, Michael Probst, Jumras Limtrakul |
4 |
Oxidative Dehydrogenation of Propane over a VO2-exchanged MCM-22 zeolite: a DFT Study |
ChemPhysChem 2010, 11, 3432-3438 |
Sippakorn Wannakao, Bundet Boekfa, Pipat Khongpracha, Michael Probst, Jumras Limtrakul |
5 |
MALDI mass analysis of 11 kDa gold clusters protected by octadecanethiolate ligands |
Journal of Physical Chemistry C 2010, 114, 16004-16009 |
Tsunoyama, R., Tsunoyama, H., Pannopard, P., Limtrakul, J., Tsukuda, T. |
6 |
Effect of the zeolite nanocavity on the reaction mechanism of n-hexane cracking: A density functional theory study |
Journal of Physical Chemistry C 2010, 114, 7850-7856. |
Maihom, T., Pantu, P., Tachakritikul, C., Limtrakul, J. |
7 |
Predicting transition pressures for obtaining nanoporous semiconductor polymorphs: Oxides and chalcogenides of Zn, Cd and Mg |
Physical Chemistry Chemical Physics 2010, 12, 8513 - 8520 |
Sangthong, W., Limtrakul, J., Illas, F., Bromley, S.T. |
8 |
Size control of nanostructured silica using chitosan template and fractal geometry: effect of chitosan/silica ratio and aging temperature |
Journal of Sol-Gel Science and Technology 2010, 1 - 8 |
Witoon, T., Chareonpanich, M., Limtrakul, J. |
9 |
Proton transfer reaction rate coefficients between H3O+ and some sulphur compounds |
International Journal of Mass Spectrometry 2010, 295, 43 - 48 |
Cappellin, L., Probst, M., Limtrakul, J.,
E., Soukoulis, C., Mark, T.D., Gasperi, F. |
10 |
Density functional theory evidence for an electron hopping process in single-walled carbon nanotube-mediated redox reactions |
Carbon 2010, 48, 1524 - 1530 |
Nongnual, T., Nokbin, S., Khongpracha, P., Bopp, P.A., Limtrakul, J. |
11 |
Single point electrodeposition of nickel for the dissymmetric decoration of carbon tubes |
Electrochimica Acta 2010, 55, 8116 - 8120 |
Loget, G., Larcade, G., Lapeyre, V., Garrigue, P., Warakulwit, C., Limtrakul, J., Delville, M.-H., Ravaine, V., Kuhn, A. |
12 |
Persistence of magic cluster stability in ultra-thin semiconductor nanorods |
Nanoscale 2010, 2, 72 - 77 |
Sangthong, W., Limtrakul, J., Illas, F., Bromley, S.T. |
13 |
Density functional calculations of structural and electronic properties of a BN-doped carbon nanotube |
Carbon 2010, 48, 176 - 183 |
Krainara, N., Nokbin, S., Khongpracha, P., Bopp, Ph.A., Limtrakul, J.* |
14 |
Effects of the Zeolite Framework on the Adsorptions and Hydrogen-Exchange Reactions of Unsaturated Aliphatic, Aromatic, and Heterocyclic Compounds in ZSM-5 Zeolite: A Combination of Perturbation Theory (MP2) and a Newly Developed Density Functional Theory (M06-2X) in ONIOM Scheme |
Langmuir 2009 |
Bundet Boekfa, Saowapak Choomwattana, Pipat Khongpracha and Jumras Limtrakul* |
15 |
A Mechanistic Investigation on 1,5- to 2,6-Dimethylnaphthalene Isomerization Catalyzed by Acidic Beta Zeolite: An ONIOM Study with a M06L Functional |
Journal of Physical Chemistry C 2009 |
Chawanwit Kumsapaya, Karan Bobuatong, Pipat Khongpracha, Yuthana Tantirungrotechai and Jumras Limtrakul* |
16 |
Effect of acidity on the formation of silica-chitosan hybrid materials and thermal conductive property |
Journal of sol-gel science and technology
2009, 51, 146-152 |
Witoon, Thongthai; Chareonpanich, Metta; Limtrakul, Jumras* |
17 |
Potential energy surface and molecular dynamics simulation of gold(I) in liquid nitromethane |
Journal of Molecular Liquids
2009, 147, 64-70 |
Injan, Natcha; Megyes, Tuende; Radnai, Tamas; Bako, Imre; Balint, Szabolcz; Limtrakul, Jumras; Spangberg, Daniel; Probst, Michael |
18 |
Structure and Dynamics of Water Confined in Single-Wall Nanotubes |
Journal of Physical Chemistry A 2009, 113, 2103-2108 |
Nanok, Tanin; Artrith, Nongnuch; Pantu, Piboon; Bopp, Philippe A.; Limtrakul, Jumras* |
19 |
Reaction Mechanisms of the Methylation of Ethene with Methanol and Dimethyl Ether over H-ZSM-5: An ONIOM Study |
Journal of Physical Chemistry C
2009, 113 (16), 6654–6662. |
T. Maihom, B. Boekfa, J. Sirijaraensre, T. Nanok, M. Probst and J. Limtrakul* |
20 |
Effect of the acidic strength on the vapor phase Beckmann rearrangement of cyclohexanone oxime over the MFI zeolite: an embedded ONIOM study, |
Physical Chemistry Chemical Physics 2009, 11, 578 – 585. |
Jakkapan Sirijaraensre and Jumras Limtrakul* |
งานวิจัยที่ศึกษาการใช้ซีโอไลต์ในการเตรียมโพรพีน (propene) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญในอุตสหากรรมพอลิเมอร์ ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับเลือกให้ขึ้นปกวารสารนานาชาติที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก A European Journal of Chemical Physics and Physical Chemistry (ChemPhysChem)
|
|
|
|
|
รับพระราชทานรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2546
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
|
|
เมธีวิจัยอาวุโส ประจำปี 2548 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) |
|
|
|
รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเคมีและเภสัช ประจำปี 2541 จากจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
เมธีวิจัยอาวุโส ประจำปี 2545 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) |
|
|
ศาสตรเมธาจารย์ สวทช. ประจำปี 2552 (2009 NSTDA Chair Professor)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) |
|
|
|
|