น้ำมันทีทรี (Tea Tree Oil) ที่ผลิตได้จากแหล่งปลูกที่ระดับความสูงต่างๆ ในประเทศไทย มีลักษณะเป็นของเหลวใส มีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเย็น จากการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของน้ำมันทีทรีที่ผลิตในประเทศไทย พบว่า สมบัติทางเคมี-ฟิสิกส์ และองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในมาตรฐานที่กำหนดของประเทศออสเตรเลีย (International standard ISO 4730 (2004) และ Australian standard AS 2782-2009) ได้ระบุคุณลักษณะของน้ำมันทีทรีที่มีคุณภาพตามมารตรฐาน คือ มีสมบัติทางเคมี-ฟิสิกส์ ได้แก่ ค่าความถ่วงจำเพาะที่ 20 °C อยู่ในช่วง 0.885- 0.906 ค่าดัชนีการหักเหของแสงที่ 20° C อยู่ในช่วง 1.475-1.482 และค่าการหมุนระนาบแสงโพลาไรซ์ ที่ 20° C อยู่ในช่วง อยู่ในช่วงระหว่าง + 5° - + 15° สารสำคัญในน้ำมันทีทรีที่ได้มาตรฐานต้องมีปริมาณสาร terpinen-4-ol (30-48 %), 1,8-cineole (<15%), g-terpinene (10.0-28.0%), α-terpinene (5-13 %) และมีปริมาณ p-cymene (0.5-8%) และจากการวิเคราะห์สมบัติทางเคมี-ฟิสิกส์ และองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากกิ่ง/ใบทีทรีสดที่ปลูกในประเทศไทย พบว่า น้ำมันหอมระเหยที่ผลิตได้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ในช่วง 0.900 - 0.905 ค่าดัชนีการหักเหของแสงอยู่ในช่วง 1.475 - 1.481 และค่าการหมุนระนาบแสงโพลาไรซ์ อยู่ในช่วง + 5.25° - + 6.15° ตามลำดับ และพบสารสำคัญ terpinen-4-ol (30.42-34.76 %) 1,8-cineole (5.99-9.08%), g-terpinene (25.08-26.23%),
α-terpinene (12.31-12.43%) และมีปริมาณ p-cymene (2.17-3.58%)
การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันทีทรีที่ผลิตในประเทศไทยพบว่า มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อBacillus cereus , Escherichai coli, Salmonella Typhimurium , Pseudomonas aeruginosa , Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Propionibacterium acnes, Vibrio cholerae, Curvularia lunata, Klebsiella pneumoniae, Proteus mirabilis และShigella flexneri โดยมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ได้ดีที่สุด และยังพบว่าน้ำมันทีทรีที่ผลิตในประเทศไทยมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Aspergillus niger, Aspergillus flavus, Penicillium sp. และChaetomium globosum โดยมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา C. globosum ได้ดีที่สุด ในการประเมินกิจกรรมตานอนุมูลอิสระด้วยวิธีดีพีพีเอช พบ วาน้ำมันทีทรีมีกิจกรรมตานอนุมูลอิสระที่ดี มีค่า IC50 29.34-38.68 มก./มล.
จากความสำเร็จในการนำทีทรีเข้ามาปลูกในประเทศไทย และศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคที่ผิวหนัง (skin infection) สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรจึงมีความสนใจที่จะนำน้ำมันทีทรีที่ผลิตในเมืองไทยมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่มีน้ำมันหอมระเหยทีทรีเป็นองค์ประกอบหลักในเชิงการค้า ได้แก่ เจลล้างมือทีทรี เจลแต้มสิวทีทรี สเปรย์ต้านสิว สบู่เหลวทีทรี สบู่ก้อนใสทีทรี สเปรย์ระงับกลิ่นเท้า และแผ่นป้องกันกลิ่นเท้า เป็นต้น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ทางสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตรมีความสนใจในการนำสารสกัดและน้ำมันหอมระเหยจากทีทรีมาใช้ในการยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตทางเกษตรที่เกิดการเน่าเสียจากเชื้อรา เพื่อเป็นการต่อยอดโครงการวิจัย และเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์ของทีทรีที่ปลูกในประเทศไทย ทั้งในด้านการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทางการเกษตรต่อไป

|

|
เจลล้างมือชนิดไม่ต้องล้างน้ำ
(Tea tree hand cleansing gel) |
เจลแต้มสิว
(Tea tree anti-acne gel) |
|

|
สเปรย์ต้านสิวที่ลำตัว
(Tea tree anti-acne body spray) |
สบู่ชำระร่างกาย
(Tea tree soap) |

|

|
สเปรย์ดับกลิ่นเท้า
(Tea tree foot deodorant spray) |
แผ่นป้องกันกลิ่นเท้า
(Tea tree shoe pad) |

|

|
ผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัด (น้ำมันนวด และเทียนหอม)
(Aromatherapy products) |
สเปรย์ปรับอากาศ
(Tea tree room spray) |
การใช้ประโยชน์น้ำมันหอมระเหยทีทรีในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพชนิดต่างๆ |
|