ศักยภาพการผลิตทีทรีในประเทศไทย
Potential of Tea Tree Production in Thailand

       "ชาออสซี" หรือ "ทีทรี" áMelaleuca  alternifolia  (Maiden & Betche) Cheelñ เป็นพืชพื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย  ทีทรีจัดอยู่ในวงศ์ Myrtaceae   ทีทรีเป็นพืชสมุนไพรที่ใบมีน้ำมันหอมระเหยเป็นองค์ประกอบอยู่ในปริมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก   ซึ่งน้ำมันหอมระเหยดังกล่าวมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องต้านเชื้อจุลินทรีย์  และเป็นสารกำจัดเชื้อโรคที่ดี     นอกจากน้ำมันทีทรีจะมีกลิ่นหอมแล้ว  ยังมีสรรพคุณทางยาที่หลากหลาย  เช่น  แก้ไข้  ขับเสมหะ  รักษาอาการอ่อนเพลีย  รักษาแผลอักเสบ แผลเปื่อย แผลเป็นหนอง  รักษาอาการติดเชื้อในช่องคลอด  มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต้านเชื้อ  รักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย  รักษาโรคน้ำกัดเท้า  รักษาสิว  แก้รังแค  ออกฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค และจุลินทรีย์ทั่วไปได้หลายชนิด ทั้งเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์   เนื่องจากน้ำมันทีทรีมีคุณสมบัติเป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่ดี (antiseptic)  ซึมซาบเข้าสู่ผิวหนังได้ดี และไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง   จึงมีการนำน้ำมันทีทรีมาใช้ในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆอย่างแพร่หลาย เช่น  สบู่  โฟมล้างหน้า  ยาสระผม  น้ำยาบ้วนปาก  ยาสีฟัน  ครีมนวดผม  ครีมบำรุงผิว  และผ้าอนามัย  และในปัจจุบันในประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่มีน้ำมันทีทรีเป็นส่วนประกอบ  ซึ่งล้วนแต่นำเข้าน้ำมันทีทรีจากต่างประเทศทั้งสิ้น น้ำมันทีทรีที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลียมีราคาลิตรละ 4,200  ซึ่งมีราคาสูง ดังนั้น  Tea  Tree  อาจจะเป็นพืชต่างถิ่นชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพต่อการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศไทย   สถาบันนิเวศเกษตรจึงเริ่มศึกษาการปลูกทีทรีอย่างจริงจังในปี 2550  โดยตั้งสมมติฐานว่าประเทศไทยอยู่ในเขตละติจูดที่ 6–20  องศาเหนือ    จึงอาจจะมีสภาพนิเวศเกษตรของบางพื้นที่ๆ เหมาะสมมากที่สุดต่อการเจริญเติบโต และน้ำมันมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้      คณะนักวิจัยของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตรได้ทำการศึกษาการปลูกทีทรีในประเทศไทยโดยทดลองปลูกในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 – เดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 ศึกษาการเจริญเติบโต, ปริมาณน้ำมัน และองค์ประกอบทางเคมีจากต้นที่ปลูกทดสอบในพื้นที่สูงต่าง ๆ กัน 3 ระดับ 4 แปลงทดลอง

สถานที่ปลูกทดสอบ
                ที่ระดับความสูง 1,200  เมตรจากระดับน้ำทะเล
แปลงทดลองสวนบุญรอด  สถานีวิจัยดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่
แปลงทดลองบ้านทับเบิก   สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
                ที่ระดับความสูง 900  เมตรจากระดับน้ำทะเล
แปลงทดลองบ้านห้วยน้ำขาว สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
                ที่ระดับความสูง  28  เมตรจากระดับน้ำทะเล
แปลงทดลองสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การเจริญเติบโต อัตราการรอดตายหลังย้ายปลูก และปริมาณน้ำมัน
                ที่ระดับความสูง 28 เมตรจากระดับน้ำทะเล ต้นทีทรีมีอัตราการรอดตายหลังย้ายปลูกลงแปลงและการเจริญเติบโตต่ำกว่าเมื่อปลูกในพื้นที่สูง  900 และ 1,200  เมตรจากระดับน้ำทะเลอย่างชัดเจน  และมีแนวโน้มว่า การปลูกในที่ระดับความสูง 1,200  เมตรจากระดับน้ำทะเล ณ แปลงทดลองบ้านทับเบิก สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ และที่ระดับความสูง 900  เมตรจากระดับน้ำทะเล ณ แปลงทดลองบ้านห้วยน้ำขาว สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ จะได้ปริมาณน้ำมันสูงกว่าพื้นที่อื่น(1.73 และ 1.69  % ; v/fw  ตามลำดับ)

ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมที่จะได้ปริมาณน้ำมันสูงที่สุด
                จังหวัดเชียงใหม่ (ระดับความสูง 1,200  เมตร) เดือนธันวาคม
                จังหวัดเพชรบูรณ์ (ระดับความสูง 900 และ 1,200  เมตร) เดือนกรกฎาคม
                จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ระดับความสูง 28 เมตร) เดือนกันยายน

พื้นที่สูง 28 เมตรจากระดับน้ำทะเล  ( แปลงทดลองสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร )

พื้นที่สูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล  ( แปลงทดลองบ้านห้วยน้ำขาว สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ )

พื้นที่สูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล  ( แปลงทดลองบ้านทับเบิก สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ )

ภาพที่ 1   แสดงการเจริญเติบโตของต้นพันธุ์ Tea Tree (Melaleuca  alternifolia)
ที่อายุ 15 เดือนหลังปลูกลงแปลง

 

 

คณะผู้วิจัย
นายโอฬาร   ตัณฑวิรุฬห์   นายวรวิทย์    ยี่สวัสดิ์   นาย สุดประสงค์    สุวรรณเลิศ   นายประภาส    ช่างเหล็ก และ นางวีระศรี    เมฆตรง
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร 0-2579-2291