ระบบจำลองการรบระยะประชิดโดยใช้เทคโนโลยีเครือข่ายตัวรับรู้ไร้สาย
Close Quarter Battle Simulation using Wireless Sensor Network Technology

            เป็นเกมการรบจำลองสำหรับเล่นได้ทั้งภายในอาคาร และ ภายนอกอาคาร ตัวระบบจะจำลองให้ผู้เล่นได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์การรบ ต่าง ๆ เช่น การชิงตัวประกัน, ก่อวินาศกรรม, การลอบสังหาร สามารเล่นเป็นทีมขนาดใหญ่ และจำลองการเข้าตีและยึดพื้นที่ตัวระบบเป็นการผสมผสานกันระหว่าง ความสนุกสนานของเกมกีฬากลางแจ้ง กับ เกมจำลองสถานการณ์แบบ First person shooting game

            ผู้เล่นสวมใส่อุปกรณ์รับสัญญาณ ซึ่งมีลักษณะและความสวยงาม เหมือนกับอุปกรณ์ทางทหาร พร้อมกับอาวุธจำลองที่มีลักษณะและคุณสมบัติพื้นฐาน เช่น น้ำหนัก รูปร่าง และการใช้งานคล้ายกับอาวุธจริงทุกประการ ติดตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณเลเซอร์ (Laser transmitter) ที่จะยิงสัญญาณเลเซอร์ออกไปเมื่อผู้เล่นทำการยิง

            ระบบเกมจะทำงานโดยใช้การส่ง/รับ สัญญาณอินฟราเรต เมื่อไปยังเป้าหมาย โดยตัวรับสัญญาณ ถูกติดตั้งไว้บนชุดที่ใช้เล่น โดยแต่ละชุดประกอบด้วย ตัวรับสัญญาณมากกว่า 30 ตัว เพื่อที่จะประมวลผล สัญญาณจากรอบทิศทาง

            ชุดเสื้อจะประมวลผล และคิดคำนวณตำแหน่งที่กระสุนของอีกฝ่ายตกลงบนร่างกาย และนำตำแหน่งของกระสุนไปคำนวณความเสียหาย แม้ว่าแสงที่ใช้จะเป็นแสงเลเซอร์อินฟราเรตที่มีกำลังส่งสูง แต่ความเข้มดังกล่าวก็ยัง ปลอดภัยสำหรับดวงตา (Eye - safe IR) ตัวยิงเลเซอร์ยังประกอบด้วย Beam combiner prism ที่ออกแบบมาเฉพาะ โดยสัญญาณแสงอินฟราเรตที่ยิงออกไปจะรวมกันกับแสงเลเซอร์ สีแดงเข้ม จะเป็นตัวชี้ตำแหน่งกระสุนว่ากระสุนไปตกที่ใด

            โครงการนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่าง รศ.ณัฐวุฒิ ขวัญแก้ว อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางระบบสมองกลฝังตัว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นาย ปณิธิ จันทร์รอด และ นาย จิรพงษ์ มั่นเจริญ นิสิตปริญญาโทประจำห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ระบบสื่อสารและสมองกลฝังตัว (www.caesar-lab.com) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัทไซอาร์มจำกัด (http://www.sci-arms.com) ซึ่งเป็นบริษัทในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

            โครงการ ระบบจำลองการรบระยะประชิดโดยใช้เทคโนโลยีเครือข่ายตัวรับรู้ไร้สายนี้ ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภท RFID & Wireless Sensor Network ในการประกวดผลิตภัณฑ์ดีเด่นทางด้านระบบสมองกลฝังตัวของประเทศไทย (Thailand Embedded Product Award 2009 : TEPA 2009) จัดโดย สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA)

ชุดสวมใส่สำหรับการฝึกซ้อม
ชุดติดตั้งกับปืน

 

 
คณะผู้วิจัย
รศ. ณัฐวุฒิ ขวัญแก้ว  นาย ปณิธิ จันทร์รอด  และ นาย จิรพงษ์ มั่นเจริญ
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางระบบสมองกลฝังตัวเพื่อการเกษตร
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2942-8555 ต่อ 1522  โทรสาร.  0-2942-8555 ต่อ 1550 e-mail fengntk@ku.ac.th