การสำรวจ คัดเลือกและศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของมะขามป้อม
ในระหว่างเดือนธันวาคม 2541ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2542ได้สำรวจและรวบรวมมะขามป้อมจาก 3 แหล่งจำนวน 12 สายพันธุ์คือ K - 1, K – 3, K - 5, P - 6, P - 7, P – 8, B - 11, B - 12 , B - 13, B - 14, B - 15และ B - 16 (K=กาญจนบุรี P=ประจวบคีรีขันธ์ B=บุรีรัมย์)ได้เปลี่ยนยอดพันธุ์ไว้บนต้นตออายุ 1 ปีในแปลงทดลอง ณ สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร ต.ทรายทอง อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ พบว่าสายพันธุ์ P – 7 เริ่มออกดอกครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2543และติดผลเล็กน้อยในเดือนสิงหาคม 2544 ประมาณ 2 ปีครึ่งหลังการเปลี่ยนยอด จนถึงเดือนธันวาคม 2545 หลังเปลี่ยนยอด 4 ปีเต็ม พบว่ามีการออกดอกมากขึ้นในสายพันธุ์ K - 3, K - 5, P - 6, P - 7, P - 8, B -12, B -13, B -15 และ B - 16 โดยมีการติดผลค่อนข้างมากในสายพันธุ์ K - 3, K - 5 และP - 6 จากการติดตามการให้ผลผลิตเป็นเวลา 6 ปีพบว่ามะขามป้อมที่รวมพันธุ์ไว้จะให้ผลผลิตในระหว่างเดือน กรกฎาคม- กันยายน
|
|
สำรวจและเก็บตัวอย่าง |
แปลงรวมสายพันธุ์อายุ 4 ปี |
ในปีการผลิต 2552 ได้ทำการศึกษาลักษณะและคุณภาพของผลมะขามป้อมสายพันธุ์ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ได้ผลตามตารางที่ 1และ 2 P-8 และB-14 มีผลขนาดใหญ่และมีน้ำหนักสูงที่สุดจาก
ตารางที่ 1 ลักษณะทางกายภาพของผลมะขามป้อม 12 สายพันธุ์
สายพันธุ์ |
น.น. ผล
(กรัม) |
ศ.ก. ผล
(ซม.) |
%เนื้อผล
(%) |
เยื่อใย
(%) |
ความหวาน
(% Brix) |
K-1 |
8.20 fg* |
2.51 bc |
85.00 def |
2.78 |
9.55 e |
K-3 |
7.66 gh |
2.35 e |
85.65 cde |
1.75 |
11.93 bc |
K-5 |
9.58 cd |
2.38 de |
87.85 a-d |
3.16 |
13.30 a |
P-6 |
8.93 de |
2.57 abc |
91.45 a |
1.90 |
11.70 c |
P-7 |
9.77 c |
2.50 bc |
86.10 b-e |
4.29 |
13.10 ab |
P-8 |
10.62 b |
2.65 a |
90.10 ab |
2.79 |
14.10 a |
B-11 |
4.61 i |
2.08 f |
81.30 fg |
3.16 |
7.75 f |
B-12 |
9.31 cde |
2.34 e |
82.89 ef |
2.46 |
10.95 cd |
B-13 |
4.98 i |
2.05 f |
78.38 g |
3.20 |
9.65 e |
B-14 |
11.86 a |
2.59 ab |
89.56 abc |
2.63 |
11.20 cd |
B-15 |
8.77 ef |
2.47 cd |
81.36 fg |
2.91 |
14.20 a |
B-16 |
7.01 h |
2.58 abc |
88.07 a-d |
2.91 |
10.00 de |
* ตัวอักษรที่เหมือนกันไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติจากการเปรียบเทียบด้วยวิธี DMRT ที่ ความเชื่อมั่น 0.05
สายพันธุ์ที่รวบรวมมา แต่เมื่อพิจารณาปริมาณเนื้อผลจะพบว่าสายพันธุ์ P-6 มีเปอร์เซ็นต์เนื้อผลมากที่สุดแต่ก็ไม่แตกต่างกับสายพันธุ์ P-8 และ B-14 ซึ่งผลใหญ่มีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์เนื้อสูง ด้านความหวาน P-8 ก็มีความหวานสูงสุดเท่าๆกับB-15 การศึกษาคุณภาพของผลโดยการพิจารณาจากองค์ประกอบทางเคมี วิเคราะห์หาปริมาณวิตามินซี(โดยวิธีทดสอบแบบ T-CM-012 Based on J. Agric. Food Chem.)และความเข้มข้นกรดโดยห้องปฎิบัติการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลการวิเคราะห์วิตามินซีพบว่าสายพันธุ์ P-7 มีปริมาณวิตามินซีสูงถึง 430.96 มิลลิกรัมใน100 กรัมของเนื้อผล ซึ่งใกล้เคียงกับมาตรฐานจากรายงานทั่วไปที่มีปริมาณอยู่ที่ประมาณ 600 ถึง 1,300 มิลลิกรัม
ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญด้านคุณภาพของผลมะขามป้อม 12 สายพันธุ์
สายพันธุ์ |
วิตามินซี
(mg/100gm) |
ความเป็นกรด (%) |
สารสกัด
% |
Total phenolic |
flavonoids |
K1 |
260.41 |
1.89 |
39.00ef* |
1231.36h |
405.48e |
K3 |
395.40 |
2.05 |
48.50bc |
2606.11bc |
789.97b |
K5 |
359.32 |
2.79 |
47.11c |
2527.29bcd |
911.63a |
P6 |
265.43 |
2.45 |
52.29a |
2702.30bc |
808.04b |
P7 |
430.96 |
2.30 |
42.29d |
2120.61def |
682.73c |
P8 |
389.33 |
2.47 |
41.00de |
2359.65cde |
797.11b |
B11 |
63.96 |
1.95 |
38.51f* |
1576.82gh |
490.87de |
B12 |
211.44 |
2.72 |
36.32 g |
2088.68ef |
565.96d |
B13 |
132.68 |
2.52 |
34.11g |
1799.10fg |
468.83e |
B14 |
257.93 |
2.03 |
38.81ef |
2483.61bcde |
766.70bc |
B15 |
292.79 |
2.83 |
50.25ab |
2795.20b |
770.09bc |
B16 |
387.88 |
2.21 |
52.26a |
4309.95a |
928.44a |
* ค่าเฉลี่ยของข้อมูลในแนวตั้งเดียวกัน ที่มีตัวอักษรเหมือนกันไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติจากการเปรียบเทียบด้วยวิธี DMRT ที่ความเชื่อมั่น 0.05
ด้านความเข้มข้นของกรดพบว่า B-15 , K-5 และ B-12 มีค่าความเข้มข้นของกรดสูงสุดใกล้เคียงกันที่ 2.72 ถึง 2.83 เปอร์เซ็นต์ การวิเคราะห์ปริมาณแทนนินทำโดยเตรียมตัวอย่างโดยแยกเนื้อนำเข้าตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมงแล้วบดให้เป็นผง สกัดสารตัวอย่างด้วยเมทานอลโดยวิธีสกัดเย็น ได้สารสกัดจากผงมะขามป้อมมีลักษณะเป็นสารเหนียวสีน้ำตาลเข้ม เปอร์เซ็นต์ผลผลิตสารสกัดจาก 12 สายพันธุ์พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยสายพันธุ์ P-6 , B- 16 และ B- 15 มีเปอร์เซ็นต์ผลผลิตสารสกัดสูงที่สุดใกล้เคียงกัน วิเคราะห์หาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด(total phenolic content) โดยดัดแปลงวิธี Folin-Ciocalteu colorimetric method ตามวิธีของ Wolfe et al. (2003) นำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานของกรดแกลลิกคํานวณเป็นมิลลิกรัมกรดแกลลิกต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณฟลาโวนอยด์(flavonoid content) ก็ทำตามวิธีของ Wolfe et al. (2003) นำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานของเคทเทคินคำนวณค่าเป็นมิลลิกรัมเคทเทคินต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด พบว่ามะขามป้อมทั้ง 12 สายพันธุ์มีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดังแสดงในตารางที่ 2 โดยมะขามป้อม B- 16 มีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุด 4309.95 มิลลิกรัมกรดแกลลิกต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ด้านปริมาณของฟลาโวนอยด์ก็เช่นเดียวกันปริมาณฟลาโวนอยด์ที่วัดได้จากมะขามป้อม 12 สายพันธุ์ก็มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมะขามป้อมสายพันธุ์ B-16 และ K-5 มีค่าปริมาณฟลาโวนอยด์สูงที่สุด เท่ากับ 928.44 และ 911.63 มิลลิกรัมเคทเทคินต่อ 100 กรัมน้ำหนักสดตามลำดับ
การทดลองครั้งนี้ทำให้ทราบว่ามะขามป้อมที่เก็บรวบรวมจากแหล่งตามธรรมชาติแต่ละต้นหรือแต่ละสายพันธุ์มีคุณภาพและสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหรือมีคุณสมบัติในทางยาที่แตกต่างกัน P-8 และB-14 มีขนาดผลใหญ่และมีความหวานสูงโดยเฉพาะP-8 มีวิตามินซีค่อนข้างสูงด้วย แต่ถ้าพิจาณาเฉพาะด้านสารสำคัญพบว่า B-16 น่าสนใจที่สุดรองลงไปก็เป็นB-15และK-5 อย่างไรก็ตามในธรรมชาติยังมีมะขามป้อมขึ้นกระจัดกระจายอยู่อีกมากมายทั่วทุกภาค จึงสมควรที่จะได้มีการสำรวจและคัดเลือกตลอดจนมีการวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์มะขามป้อมที่มีคุณสมบัติดีเด่น เพื่อการนำไปใช้เป็นพันธุ์ปลูกและใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับวัตถุ ประสงค์เฉพาะทางต่อไป
การพัฒนาสูตรเครื่องดื่มจากมะขามป้อม
มะขามป้อมเป็นผลไม้ที่มีเนื้อแข็ง การแยกเนื้อออกจากเม็ดทำได้ค่อนข้างยาก การแยกเนื้อด้วยการหั่นหรือการเฉาะเกิดความล่าช้า ในระหว่างการรอเนื้อมะขามป้อมจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จากปฏิกิริยาออกซิเดชันระหว่างออกซิเจนกับสารประกอบฟีนอล(Phenolic compound)ที่มีเอนไซม์ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จากการศึกษาพบว่าสามารถใช้เครื่องคั้นน้ำชนิดสกรู(screw press) ซึ่งเป็นเครื่องคั้นกะทิคั้นมะขามป้อมได้ แต่ต้องเปลี่ยนสกรูเป็นชนิดสแตนเลสเพื่อป้องกันการกัดกร่อนจากมะขามป้อม
น้ำมะขามป้อมที่คั้นได้มีสีเขียวปนสีน้ำตาล เนื่องจากตะกอนของเนื้อมะขามป้อมที่ปนมากับน้ำเป็นตะกอนละเอียด น้ำมะขามป้อมมีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 2.29-2.57 ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ 8.0-12.0 บริกซ์ และความเป็นกรดทั้งหมดคำนวณเป็นกรดซิตริก (%Total acidity as citric acid) 1.89-2.83 % กรดในอาหาร เช่นกรดซิตริกมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ไม่แตกตัวให้สารละลายไฮโดรเจน อิออนทั้งหมดออกมาเป็นอิสระในสารละลายแต่จะแตกตัวให้ไฮโดรเจนออกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ดังนั้นการเปรียบเทียบรสเปรี้ยวในมะขามป้อมการวัดค่าพีเอชอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอจำเป็นต้องวิเคราะห์ความเป็นกรดทั้งหมดในสารละลายด้วยการไตเตรต จากค่าความเป็นกรดทั้งหมดของน้ำมะขามป้อมแสดงให้เห็นว่ามะขามป้อมเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ไม่สามารถนำน้ำที่คั้นได้มาผลิตเป็นน้ำผลไม้ 100 % ได้ นอกจากนี้มะขามป้อมยังมีรสฝาดเนื่องจากมีปริมาณสารประกอบฟีนอลสูง จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาสูตรการผลิตเครื่องดื่มน้ำมะขามป้อม เพื่อปรับปรุงรสชาติ ให้สามารถผลิตเป็นน้ำมะขามป้อมพร้อมดื่มได้
 |
 |
มะขามป้อมล้างน้ำสะอาด |
เครื่องคั้นน้ำผลไม้ |
 |
 |
ตะแกรงละเอียดกรองน้ำ |
กากมะขามป้อมผสมกับเม็ด |
 |
 |
น้ำมะขามป้อม |
น้ำมะขามป้อมเก็บแช่แข็ง |
ภาพที่ 1 การเตรียมน้ำมะขามป้อมโดยใช้เครื่องคั้นน้ำชนิดสกรู (screw press)
พัฒนาสูตรการผลิตเครื่องดื่มน้ำมะขามป้อมผสมน้ำผลไม้ 4 ชนิดได้แก่ น้ำมะขามป้อม น้ำมะขามป้อมผสมน้ำเสาวรส น้ำมะขามป้อมผสมน้ำองุ่นและน้ำมะขามป้อมผสมน้ำสับปะรดซึ่งเป็นสูตรน้ำมะขามป้อมที่รับประทานพร้อมน้ำแข็ง ปริมาณของแข็งที่ละลายได้จึงอยู่ที่ 20 บริกซ์ ปริมาณกรดทั้งหมด 0.9 % เหตุผลที่เลือกผสมน้ำเสาวรส น้ำองุ่น และ น้ำสับปะรด เนื่องจากต้องการความแตกต่างทางด้านสีของน้ำผลไม้ที่ผสม น้ำองุ่นมีรสฝาดเล็กน้อยซึ่งเป็นรสใกล้เคียงกับน้ำมะขามป้อม สัดส่วนของน้ำมะขามป้อมที่ใช้และเป็นที่ยอมรับจากการทดสอบชิมในเบื้องต้นโดยคณะผู้วิจัย พบว่าปริมาณน้ำมะขามป้อมใช้ได้ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากถ้าเพิ่มอัตราส่วนน้ำมะขามป้อมจะทำให้มีรสฝาดมากดื่มยากและไม่เป็นที่ยอมรับ สูตรการผลิตน้ำมะขามป้อมที่ไม่ผสมน้ำผลไม้จำเป็นต้องมีการเติมกรดซิตริกเพื่อปรับรสชาติ เนื่องจากอัตราส่วนน้ำมะขามป้อม 20 เปอร์เซ็นต์ทำให้ความเป็นกรดในน้ำมะขามป้อมลดลง แต่น้ำมะขามป้อมผสมน้ำผลไม้มีความเปรี้ยว จากน้ำเสาวรส น้ำองุ่น และสับปะรดจึงไม่จำเป็นต้องเติมกรดซิตริก
 |
 |
ขวดพีพีล้างด้วยน้ำร้อน |
ผสมส่วนประกอบต่างๆ |
 |
 |
พาสเจอร์ไรส์ที่ 95 oC |
บรรจุร้อน > 70 oC |
 |
 |
ปิดฝา |
ลดอุณหภูมิ และเก็บแช่เย็น |
ภาพที่ 2 การผลิตน้ำมะขามป้อมพาสเจอร์ไรส์
สูตรการผลิตน้ำมะขามป้อมผสมน้ำผลไม้
น้ำมะขามป้อม
น้ำมะขามป้อม 20 %
น้ำตาลทราย 17.7 %
กรดซิตริก 0.3 %
น้ำ 62 %
น้ำมะขามป้อมผสมองุ่น
น้ำมะขามป้อม 20 %
น้ำองุ่น 73 %
น้ำตาลทรายขาว 7 %
น้ำมะขามป้อมผสมเสาวรส
น้ำมะขามป้อม 20 %
น้ำเสาวรส 14 %
น้ำตาลทรายขาว 16 %
น้ำ 50 %
น้ำมะขามป้อมผสมสับปะรด
น้ำมะขามป้อม 20 %
น้ำสับปะรด 70 %
น้ำตาลทรายขาว 10 %
การประเมินคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสเครื่องดื่มน้ำมะขามป้อม
ในเบื้องต้นได้ทดสอบการยอมรับเครื่องดื่มน้ำมะขามป้อมผสมน้ำผลไม้ ในงานเกษตรแฟร์ ปี 2552 ซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและทดสอบการยอมรับอีกครั้งที่สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร พบว่าผู้บริโภคชอบน้ำมะขามป้อมที่ไม่ผสมน้ำผลไม้ชนิดอื่น เนื่องจากมีรสชาติที่ดี รสฝาดเล็กน้อยและมีกลิ่นรสของมะขามป้อม แต่น้ำมะขามป้อมผสมกับน้ำเสาวรส ผสมน้ำองุ่นและผสมสับปะรดซึ่งเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นมากกว่าทำให้ไม่สามารถรับกลิ่นรสของมะขามป้อมได้ ทำให้ขาดความเป็นเอกลักษณ์ของมะขามป้อม จึงได้พัฒนาสูตรเป็นน้ำมะขามป้อมพร้อมดื่มบรรจุในขวดพลาสติก โดยลดอัตราส่วนของมะขามป้อมและน้ำตาลทราย เนื่องจากเป็นสูตรไม่เติมน้ำแข็ง ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ที่ 14.0-15.0 บริกซ์ และความเป็นกรดทั้งหมดที่ 0.50-0.55 %
น้ำมะขามป้อมพร้อมดื่ม
น้ำมะขามป้อม 15.0 %
น้ำตาลทราย 14.7 %
กรดซิตริก 0.3 %
น้ำ 70.0 % |