งาพันธุ์ดีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Sesame Varieties of Kasetsart University

             งาเป็นพืชน้ำมันเก่าแก่พืชหนึ่งที่ปลูก และบริโภคกันมานานแล้วประมาณ 5,500 ปี สำหรับใช้เป็นอาหารและใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ งาเป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญมากในสมัยโบราณเพราะว่าสกัดน้ำมันจากเมล็ดได้ง่าย น้ำมันมีความคงตัวสูงและเก็บไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน และเป็นพืชที่ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี

       งาเป็นพืชน้ำมันฤดูเดียว (annual oilseed crops) งาพันธุ์ปลูกมีชื่อวิทยาศาสตร์ Sesamum indicum L. อยู่ในวงค์ Pedaliaceae เป็นพืชที่มีความสำคัญในเขตร้อน และเขตอบอุ่น ประเทศผู้ปลูกงาทั้งหมดในโลกที่องค์การอาหารและเกษตร (FAO) ได้สำรวจและรายงานไว้ในปี 2550 มี 69 ประเทศโดยไม่รวมประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย  พื้นที่ปลูกงาที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทั่วโลกในปี 2550 ประมาณ 45.6 ล้านไร่  ผลผลิตทั้งหมดประมาณ 3.39 ล้านตัน ประเทศที่มีพื้นที่ปลูกงามากอันดับ 1 – 5 ได้แก่ อินเดีย  เมียนมาร์   ซูดาน  จีน และอูกันดา  สำหรับประเทศที่ผลิตงาได้มาก 5 อันดับแรก ได้แก่ อินเดีย  เมียนมาร์  จีน  ซูดาน  และอูกันดา  พื้นที่ปลูกงาประมาณ 70 และ 26 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดอยู่ในเอเชียและอัฟริกา ตามลำดับ ผลผลิตเฉลี่ยของงาทั่วโลกประมาณ 74 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกงาประมาณ 430,000 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 105 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าผลผลิตงาทั่วโลก

       ประเทศผู้ส่งออกเมล็ดงาที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย  ซูดาน  จีน  ไนจีเรีย  และเอธิโอเปีย เป็นต้น ประเทศผู้นำเข้าเมล็ดงาที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น  จีน  เกาหลี  ตุรกี  สหรัฐอเมริกา  และซีเรีย เป็นต้น

       งาเป็นพืชที่มีข้อดีทางเกษตรหลายอย่าง เช่น สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนจนถึงอบอุ่น ให้ผลผลิตได้ในสภาพการเพาะปลูกที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูง เจริญเติบโตในดินที่มีความชื้นพอสมควร นอกจากนี้งายังเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีพอสมควรในสภาพการปลูกที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ น้อยมาก เช่น ปุ๋ย  การเตรียมดิน  และการกำจัดวัชพืชเป็นต้น งาเป็นพืชที่นำมาใช้ในระบบการปลูกพืชได้ดี  เมื่อพิจารณาความต้องการใช้งาของประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น แต่ประเทศผู้ผลิตงาที่สำคัญบางประเทศมีพื้นที่ปลูกลดลง เนื่องจากไม่สามารถนำเครื่องจักรกลทางเกษตรมาใช้ในการผลิตงาได้ และบางประเทศค่าแรงงานเกษตรเพิ่มสูงขึ้น และมีแรงงานไม่เพียงพอ โดยเฉพาะการเก็บเกี่ยวงาซึ่งต้องใช้แรงงานมาก ทั้งนี้เนื่องจากพันธุ์งาที่ปลูกทั่วโลกเกือบทั้งหมดเป็นพันธุ์ฝักแตก เมื่อสุกแก่จึงไม่สามารถนำเครื่องเก็บเกี่ยวมาใช้ได้ ถ้าเก็บเกี่ยวไม่ทันจะทำให้สูญเสียผลผลิตมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจถึงไม่ได้ผลผลิตเลย ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกา  ที่ปลูกพันธุ์งาฝักต้านทานการแตก ซึ่งบริษัท  Sesaco Corporation ปรับปรุงพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก  สำหรับในประเทศไทยมีบางพื้นที่ได้ปลูกงาขาวพันธุ์ซีพลัส 1 ซีพลัส 2 และงาดำพันธุ์ซีเอ็ม – 07 (CM – 07) ซึ่งเป็นพันธุ์ฝักต้านทานการแตกที่ปรับปรุงพันธุ์โดยโครงการปรับปรุงพันธุ์งา มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

       ในระหว่างปี 2534 – 2551 โครงการปรับปรุงพันธุ์งา ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้พัฒนาพันธุ์งาและได้แนะนำพันธุ์งาเหล่านี้ให้แก่เกษตรกรเป็นงาพันธุ์ฝักแตกเมื่อสุกแก่ 3 พันธุ์ ได้แก่ งาดำพันธุ์ มก.18  งาขาว 2 พันธุ์ คือ งาขาวพันธุ์ มก.19 และพันธุ์ มก.20  สำหรับงาพันธุ์ฝักไม่แตกมี 2 พันธุ์ คือ งาขาวพันธุ์ซีพลัส 1 และ ซีพลัส 2  และงาดำฝักต้านทานการแตก CM – 07  ในปี 2553 นี้  ทางโครงการจะแนะนำงาขาวพันธุ์ใหม่ฝักต้านทานการแตกสายพันธุ์ KUAOX 24   สำหรับงาพันธุ์ดีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เกษตรกรนิยมปลูก  เนื่องจากมีตลาดรับซื้อเมล็ดและให้ผลผลิตสูง  ซึ่งมีทั้งหมด 4 พันธุ์ และแนะนำงาสายพันธุ์ใหม่ KUAOX 24

 

งาดำพันธุ์ ม.ก. 18

       เป็นงาพันธุ์แท้ที่พัฒนาพันธุ์ โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบจดประวัติ จากคู่ผสม col34 x
งาดำนครสวรรค์   ลักษณะเด่นของงาดำพันธุ์ มก.18  ได้แก่ รสชาติอร่อย  กลิ่นหอม  เมล็ดสีดำ  และสีดำจะไม่ละลายน้ำ งาพันธุ์นี้เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ สำหรับนำไปใช้บริโภคเมล็ดโดยตรง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น 

ลักษณะประจำพันธุ์

อายุดอกบาน
36
 วัน
ทรงต้น
ลำต้นเดี่ยว
ช่วงออกดอก
70
 วัน
 ลักษณะฝัก
2 คาร์เพล
(bicarpellate)สีเขียวเข้ม
อายุเก็บเกี่ยวฤดูต้นฝน
90
 วัน
การเรียงของฝัก
แบบตรงข้าม 1 ข้อมี 2 ฝัก
และเวียนสลับรอบลำต้น
อายุเก็บเกี่ยวฤดูปลายฝน
85
 วัน
ข้อแรกที่ติดฝัก
ประมาณข้อที่ 3 หรือ
4 จากพื้นดิน
ความสูงต้น
126-129
 ซม. 
เปอร์เซ็นต์น้ำมัน
48.2 (Soxhlet method)
ผลผลิต
148
 กก./ไร
เซซามิน (sesamin)
4,038.91 มก./กก.
น้ำหนัก 1,000 เมล็ด
3.0
 
กรัม  
เซซาโมลิน (sesamolin)
4,635.66 มก./กก.
สีเมล็ด
สีดำเมล็ดมีขนาดใหญ่
 
และเต่งเปลือกหุ้มเมล็ดชั้นเดียว

            

 
   
 


ลักษณะทรงต้น ฝัก และเมล็ดของงาดำพันธุ์ มก.18

 

งาขาวฝักไม่แตกพันธุ์ซีพลัส 1

       เป็นงาพันธุ์แท้ที่ปรับปรุงพันธุ์  และคัดเลือกพันธุ์ด้วยวิธีจดประวัติจากคู่ผสม
KUds6111 x S20 สายพันธุ์ KUds6111 เป็นสายพันธุ์ของโครงการปรับปรุงพันธุ์งา ภาควิชาพืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีลักษณะฝักชะลอการแตกหลังสุกแก่ (delayed shattering) สายพันธุ์ S20 เป็นสายพันธุ์ของบริษัท Sesaco Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา มีลักษณะฝักต้านทานการแตก (shatter resistance) ได้คัดเลือกสายพันธุ์ KUds 6111 x S20 – 3 – 1 – 15  (KUsr6662)  ซึ่งต่อมาให้ชื่อว่า งาขาวฝักไม่แตกพันธุ์ซีพลัส 1 ซึ่งแนะนำพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2546

       ลักษณะเด่นของงาขาวพันธุ์ซีพลัส 1 คือ เมื่อสุกแก่ฝักไม่แตก เมื่อฝักแห้งเมล็ดไม่ติด
แน่นกับแกนกลางฝัก (placenta) เขย่าฝักจะได้ยินเสียงเมล็ด เมื่อกะเทาะเมล็ดด้วยเครื่องนวดข้าว    ข้าวโพด ถั่วเขียว หรือถั่วเหลือง เมล็ดจะออกจากฝักง่าย เปลือกหุ้มเมล็ดไม่เสียหาย เมล็ดมีสีขาวขนาดใหญ่ รสชาติอร่อย

ลักษณะประจำพันธุ์
อายุออกดอก                      36            วัน                                          จำนวนฝักต่อซอกใบ          1              ฝัก
ช่วงออกดอก                      38            วัน                                          น้ำหนัก 1,000 เมล็ด           3.40         กรัม
อายุเก็บเกี่ยว                       98           วัน                                          ผลผลิต                            245          กก./ไร่
ความสูงต้น                        118-125   ซม.                                         สีเมล็ด                             สีขาว
ทรงต้น                              แตกกิ่ง     จำนวน 2 – 4 กิ่ง                       เปอร์เซ็นต์น้ำมัน               48.66 (Soxhlet method)
จำนวนฝักต่อต้น                 59-65       ฝัก                                          เซซามิน (sesamin)           3,949.91    มก./กก.
ลักษณะฝัก                         2             คาร์เพล (bicarpellate)                เซซาโมลิน (sesamolin)     2,985.40    มก./กก.
การเรียงของฝัก                  แบบตรงข้ามและ                                    วิตามิน อี (vitamin E)          211.84       มก./กก
                                       เวียนสลับรอบลำต้น

 

 

ลักษณะทรงต้น ฝักปิดเมื่อสุกแก่ และเมล็ดของงาขาวพันธุ์ซีพลัส 1

 

งาขาวฝักไม่แตกพันธุ์ซีพลัส 2

       เป็นงาพันธุ์แท้ที่พัฒนาพันธุ์โดยวิธีการคัดเลือกแบบจดประวัติจากคู่ผสม KUds6111 X
S20 สายพันธุ์ KUds6111 มีลักษณะฝักชะลอการแตกหลังสุกแก่  ส่วนสายพันธุ์ S20 มีลักษณะฝักต้านทานการแตก ได้คัดเลือกสายพันธุ์ KUsr6660 (KUds6111 x S20-1-1-2) ซึ่งต่อมาให้ชื่อว่าพันธุ์ ซีพลัส 2  ได้แนะนำพันธุ์ในปี  2547

ลักษณะประจำพันธุ์

อายุออกดอก                                         39           วัน                                 จำนวนฝักต่อซอกใบ           1             ฝัก
ช่วงออกดอก                                         40           วัน                                 น้ำหนัก 1,000 เมล็ด          3.46       กรัม
อายุเก็บเกี่ยว                                         101         วัน                                  ผลผลิต                            308        กก./ไร่
ความสูงต้น                                           116         ซม.                                สีเมล็ด                             สีขาว
ทรงต้น                                   แตกกิ่ง จำนวน 2-5 กิ่ง                                  เปอร์เซ็นต์น้ำมัน                47.54   (Soxhelt method)
จำนวนฝักต่อต้น                                    61           ฝัก                                 เซซามิน (sesamin)           9,352.67  มก./กก.
ลักษณะฝัก                                            2            คาร์เพล (bicarpellate)       เซซาโมลิน (sesamolin)    7,218.65  มก./กก.
การเรียงของใบและฝัก เกิดแบบตรงกันข้าม                                                  วิตามิน อี (vitamin E)       387.00    มก./กก.

 

 
     

ลักษณะทรงต้น ฝักปิดเมื่อสุกแก่ และเมล็ดของงาขาวพันธุ์ซีพลัส 2

 

งาดำฝักต้านทานการแตกพันธุ์ CM – 07

       เป็นงาพันธุ์แท้พัฒนาพันธุ์จากคู่ผสม KUsr6040 x China 2 โดยใช้วิธีการคัดเลือก
แบบจดประวัติ ได้คัดเลือกสายพันธุ์ TQ 8069 (KUsr6040 x China 2-3-2-2-1)

       ฝักต้านทานการแตก หมายถึง เมื่อฝักสุกแก่ ปลายฝักเปิดอ้าเล็กน้อย  แต่การร่วงของ
เมล็ดน้อยมาก  เมื่อนำฝักมาตรวจสอบการร่วงของเมล็ดจากฝักโดยการเขย่าฝักและนำฝักมาคว่ำปลายฝักลง   นำเมล็ดที่คงเหลืออยู่ในฝักมาชั่งน้ำหนัก สำหรับงาดำพันธุ์ CM – 07 มีเมล็ดเหลืออยู่ในฝักประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบฝักงาที่ปลายฝักปิดสนิทด้วยประมาณ 2 – 50 เปอร์เซ็นต์ต่อต้น 

       เนื่องจากโครงการปรับปรุงพันธุ์งาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมงานปรับปรุงพันธุ์งาเพื่อให้ได้สายพันธุ์งาที่มีปริมาณสารเซซามินสูง กับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เมื่อได้งาพันธุ์ใหม่สีดำฝักต้านทานการแตก ทางสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้นำงาพันธุ์ฝักต้านทานการแตกสูงพันธุ์นี้  ขอพระราชทานชื่อจากองค์ประธานสถาบันฯ ซึ่งให้ชื่อว่า CM – 07  ได้แนะนำงาพันธุ์นี้ ในปี พ.ศ. 2551

ลักษณะประจำพันธุ์

อายุวันออกดอก                   36            วัน                          ลักษณะฝัก                  2           คาร์เพล (bicarpellate)
ช่วงการออกดอก                 34            วัน                           การเรียงของฝัก                        แบบตรงกันข้าม และ
                                                                                                                                     เวียนสลับรอบลำต้น
อายุเก็บเกี่ยว                       92-100      วัน                          จำนวนฝักต่อซอกใบ    1           ฝัก
ความสูง                             93-100      ซม.                         น้ำหนัก 1,000 เมล็ด     3.49       กรัม
ทรงต้น                  แตกกิ่งจำนวน 2-4  กิ่ง                           ผลผลิต                      360        กก./ไร่
จำนวนฝักต่อต้น                 106           ฝัก                           สีเมล็ด                       สีดำเปลือกหุ้มเมล็ดชั้นเดียว
ความต้านทานการ
แตกของฝัก(SSR)               95            เปอร์เซ็นต์

D:\รูปงา06082552\IMG_5952.JPG
 
     

ลักษณะทรงต้น ฝักที่ปลายฝักแยกเล็กน้อย ฝักปิด และเมล็ดของงาดำพันธุ์ ซีเอ็ม–07

 

งาขาวสายพันธุ์ใหม่เมล็ดใหญ่ และฝักต้านทานการแตก

       สายพันธุ์งา KUAOX 24 (KUsr4001-1-1-1 x Gautemala-75-6-2-10) เป็นงาสายพันธุ์แท้ได้ผสมพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ตั้งแต่ปี 2548 การพัฒนาพันธุ์โดยการคัดเลือกแบบจดประวัติ สายพันธุ์แม่ KUsr4001-1-1 เป็นพันธุ์ฝักไม่แตกเมล็ดสีขาว และสายพันธุ์พ่อ พันธุ์ Gautemala มีเมล็ดขนาดใหญ่  สีขาว  สายพันธุ์งา  KUAOX 24    มีลักษณะฝักต้านทานการแตก  เมล็ดสีขาวขนาด
ใหญ่ 1,000  เมล็ดหนัก 4.16 กรัม เมื่อฝักสุกแก่ปลายฝักอ้าเล็กน้อย การตรวจสอบความต้านทานการแตกของฝัก โดยการเขย่าฝักและคว่ำปลายฝักลงเพื่อให้เมล็ดร่วง นำเมล็ดที่อยู่ในฝักมาชั่งน้ำหนัก  พบว่ามีน้ำหนักเมล็ดคงอยู่ในฝักสูง 99 เปอร์เซ็นต์ (shaker shatter resistance, SSR) ซึ่งทางโครงการ จะแนะนำสายพันธุ์งา KUAOX 24 ในปี พ.ศ. 2553

ลักษณะประจำพันธุ์

อายุดอกบาน                             33                     วัน                          ข้อแรกที่ติดฝัก                   ข้อที่ 3 – 4 จากพื้นดิน
ช่วงออกดอก                             33                     วัน                          สีเมล็ด                               สีขาว
อายุเก็บเกี่ยว                            108 – 112           วัน                           ผลผลิต                             317      กก./ไร่
ความสูงต้น                              104 – 110           ซม.                         น้ำหนัก 1,000 เมล็ด            4.16     กรัม
ทรงต้น                                    แตกกิ่ง 2 – 3       กิ่ง/ต้น                     ความต้านทานการ
                                                                                                      แตกของฝัก(SSR)              99        เปอร์เซ็นต์
จำนวนฝักต่อซอกใบ                 1                       ฝัก                           เซซามิน (sesamin)             2.54     มก./กรัมเมล็ด
ลักษณะฝัก                               2                       คาร์เพล                    เซซาโมลิน (sesamolin)      1.73      มก./กรัมเมล็ด
                                                                      (bicarpellate)
การเรียงตัวของฝัก                    แบบตรงข้าม 1 ข้อมี 2 ฝัก                   วิตามินอี (vitamin E)          147.25   ไมโครกรัม/กรัมน้ำมัน
                                              และเวียนสลับรอบลำต้น       

.                   

 


 
ลักษณะทรงต้น และเมล็ดของงาขาวสายพันธุ์ KUAOX 24

 
คณะผู้วิจัย
รศ.ดร.จินดารัฐ วีระวุฒิ และ น.ส.อัญชุลี  คชชา
ภาควิชาพืชไร่นา  คณะเกษตร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร.  0-2579-3130 ต่อ 130 โทรภายใน 1326, 1327