โครงการวิจัย พัฒนาศักยภาพและเครือข่าย อบต. ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation action research) ทำให้เกิดกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ต่อการพัฒนาศักยภาพและการพัฒนาเครือข่าย ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้นำชุมชน ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้นำชุมชนที่เป็นเกษตรกร จำนวน 30 คน ในตำบลโคกคราม อ.บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ผลจากการจัดประชุมวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทำให้กลุ่มตัวอย่าง รวมตัวกันเป็นเครือข่าย ก่อให้เกิดการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดความร่วมมือ มีความรู้ และทัศนคติที่ดีต่อการทำเกษตรแบบอินทรีย์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะ (public mind) ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตน เกิดโครงการเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3 โครงการ คือ 1) โครงการวัชพืชประยุกต์ (ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา) 2) โครงการภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อการเกษตรแบบอินทรีย์ 3)โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พบว่าภายหลังการเข้าร่วมประชุมวิจัยเชิงปฏิบัติการ และการดำเนินโครงการแบบมีส่วนร่วมของ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน ภายหลังการเข้าร่วมประชุมวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีความรู้ ทัศนคติ และการปฎิบัติต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เกี่ยวกับแหล่งน้ำ สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถติ (t-test) ที่ระดับ 0.05 สำหรับด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้านการเกษตรแบบยั่งยืนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 รวมทั้งผลจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างได้พัฒนาความร่วมมือ และพัฒนาจิตสาธารณะต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น
 |
|
 |
The capacity and network of The Tambon Administration development towards the participation of natural resource reservation by using mix methodology (quantitative research and participation action research). The quantitative research has revealed 30 Tambon Administration members, and community leaders, youth leaders samples group of Tambon Kokkram, Bangplama District, Suphanburi province, about their knowledge attitude and their habit and agricultural practices towards environment and natural resources that affected to the depletion of the natural resource and increased environment pollution. By using PAR, The network of sampling group and their capacity has been developed to conduct their 3 projects, 1) Change weeds to be fertilizers project. 2) The organic agriculture from local wisdom project, and 3) The youth network for natural resources conservation. After all the participatory actions, the self administered questionnaire has been launched to compare the knowledge, attitude, habit and agricultural practices towards environment and natural resources reservation. The result of the knowledge, attitude, and practices of sample group to preserve water after participated with the projects is significantly higher by t-test statistic with p-value 0.05 The result of the knowledge, attitude, and intention of sample group to practice organic agriculture base on sufficiency economy after participated with the projects is significantly higher by t-test statistic with p-value 0.001. The research results suggested that by using PAR, the collaboration, and relationship increased that induced the public mind of the people to co-ordinate with the natural resources reservation.
|