ข้าวโพดสีม่วง จัดเป็นข้าวโพดแป้ง (flour corn, Zea mays amylacea) ที่มีแป้งชนิดอ่อน มีถิ่นกำเนิดบริเวณเทือกเขา Andes ประเทศเปรู ปัจจุบัน ชาวอเมริกันอินเดียนที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกา ได้แก่ เผ่า Zuni, Hopi และ Navajo ใช้ข้าวโพดสีม่วงในการประกอบพิธีกรรม จึงมีราคาสูงกว่าข้าวโพดสีชนิดอื่น ส่วนชาวอเมริกันอินเดียนที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกา ใช้ข้าวโพดสีม่วงเป็นอาหาร ต่อมา ได้มีการนำข้าวโพดสีม่วงไปใช้เป็นอาหารในรัฐนิวเม็กซิโก และแพร่กระจายสู่เขตต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา โดยใช้ทำ organic tortilla chips และอาหารอื่น ๆ ในภัตตาคารเม็กซิกัน เมล็ดข้าวโพดสีม่วงมีแป้ง (floury endosperm) มากกว่าเมล็ดข้าวโพดสีเหลืองและข้าวโพดสีขาว มีปริมาณ กรดอะมิโน lysine สูงกว่าข้าวโพดสีเหลืองหัวบุบ มีปริมาณโปรตีน และแร่ธาตุสูงกว่าข้าวโพดหัวบุบ และมีปริมาณ flavonoids ชนิด anthocyanins ซึ่งเป็นสาร antioxidants ในอาหารที่มีประโยชน์ ข้าวโพดสีม่วงจึงเป็นแหล่งของสาร antioxidants ที่สำคัญยิ่ง มีความได้เปรียบทางคุณค่าทางอาหารบางอย่าง มีเสน่ห์ที่ดึงดูดของสีม่วง และมีรสชาติที่แตกต่าง ดังนั้น ข้าวโพดสีม่วงมี flavonoids สูง ซึ่งเป็น antioxidants ที่มีศักยภาพสูงสำหรับอาหารที่มีคุณค่าทางยา (nutraceutical foods)
Anthocyanins เป็นสารประกอบฟีนอล เป็นเม็ดสีที่อยู่ในเนื้อเยื่อพืช anthocyanins ทำให้เกิดสีในพืชหรือผลิตภัณฑ์ของพืชที่มีเม็ดสีนี้ anthocyanins ในใบพืชทำหน้าที่ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต มนุษย์ได้นำ anthocyanins มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม จึงมีการจดสิทธิบัตรของกรรมวิธีการเตรียมและการประยุกต์ใช้ anthocyanins ในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ anthocyanins ยังมีคุณสมบัติเป็นยา และถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคของมนุษย์ ในต่างประเทศมีโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวโพดสีม่วงสำหรับตลาดเฉพาะ
ดังนั้น ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2534 โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงได้เริ่มวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดสีม่วงลูกผสม เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย และให้ผลผลิตสูง รวมทั้งต้านทานต่อโรคและแมลง โดยใช้พันธุ์ข้าวโพดสีม่วงจากประเทศเปรูเป็นพ่อ ผสมกับพันธุ์และสายพันธุ์ไทย คือ Suwan 3(S)C4(ME)C1 และสายพันธุ์ KS 23-F5-S5-705-1 และผสมกลับในลูกชั่วที่ 2 (F2) โดยใช้พันธุ์และสายพันธุ์ไทยดังกล่าวเป็นพ่อในแต่ละกลุ่ม จากนั้น ผสมตัวเองติดต่อกัน 9 ครั้ง โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบฝักต่อแถว และพัฒนาได้ข้าวโพดสีม่วงลูกผสมเดี่ยวพันธุ์ KPSC 901
ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวโพดสีม่วงลูกผสมเดี่ยวพันธุ์ KPSC 901
จากผลการทดสอบพันธุ์ข้าวโพดสีม่วงลูกผสมเดี่ยว ในช่วงปี พ.ศ. 2538-2546 รวม 6 การทดลอง ที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ พบว่า พันธุ์ KPSC 901 (KPei 34002 x KPei 34010) หรือ (Suwan 3(S)C4(ME)C1 x Peruvian Purple Corn)BC1-S9-93-1-1-1-4-1 x (KS 23-F5-S5-705-1 x Peruvian Purple Corn)BC1-S9-4-3-1-1-3-5-7) ให้ผลผลิตเมล็ดเฉลี่ย 906 กิโลกรัมต่อไร่ และน้ำหนักซังเฉลี่ย 187 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของการทดลอง ร้อยละ 11.9 และ 3.0 ตามลำดับ พันธุ์ KPSC 901 ยังมีลักษณะทางเกษตรส่วนใหญ่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของการทดลอง โดยมีวันสลัดละอองเกสร 50% 56 วัน วันออกไหม 50% 57 วัน ความสูงต้น 200 เซนติเมตร ความสูงฝัก 103 เซนติเมตร จำนวนต้นหัก 7.9% คะแนนต้นล้ม 1.6 คะแนนโรคทางใบ 1.7 คะแนนเปลือกหุ้มฝัก 1.5 คะแนน ลักษณะต้น 1.7 คะแนนลักษณะฝัก 1.5 จำนวนฝักเน่า 1.7% จำนวนฝักต่อต้น 90.3% ความชื้นเมล็ด 19.9 % เปอร์เซ็นต์กะเทาะเมล็ด 81.0 % นอกจากนี้ ยังมีต้นเป็นโรคราน้ำค้างตามธรรมชาติ 10.9% จากผลการทดสอบสายพันธุ์แท้ข้าวโพดสีม่วง พบว่า สายพันธุ์แท้ KPei 34002 ให้ผลผลิตสูงสุด 198 กิโลกรัม/ไร่ มีลักษณะทางเกษตรที่ดี และมีศักยภาพในการใช้เป็นสายพันธุ์แม่ในการผลิตพันธุ์ KPSC 901 ในเชิงการค้า

สายพันธุ์พ่อแม่ของข้าวโพดสีม่วงลูกผสมเดี่ยวพันธุ์ KPSC 901
|
|
พันธุ์ KPSC 901 |
พันธุ์ KPSC 901 |
|
|
พันธุ์ KPSC 901 |
ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดสีม่วง |
|
|
แป้งข้าวโพดสีม่วง |
ขนมหวานใส่สีข้าวโพดสีม่วง |
|