ข้าวโพดสายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Kasetsart Inbred Lines of Kasetsart University

      โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เริ่มพัฒนาสายพันธุ์แท้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520  และได้เผยแพร่สายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ (Ki) ซึ่งพัฒนามาจากแหล่งพันธุกรรมต่าง ๆ สู่ภาครัฐและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง เป็นการกระตุ้นให้บริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติและบริษัทเมล็ดพันธุ์ในประเทศสนใจมาลงทุนทำธุรกิจเมล็ดพันธุ์ในประเทศ   เป็นผลให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมอย่างรวดเร็ว  จนเป็นศูนย์กลางของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในแถบทวีปเอเชีย  สายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นผลจากการคัดเลือกหมุนเวียนแบบผสมตัวเองหนึ่งครั้งในประชากรชั้นสูง ซึ่งเป็นการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดแบบประยุกต์ และเพิ่มความก้าวหน้าทางพันธุกรรมอย่างเป็นระบบของประชากร  สายพันธุ์แท้ และสมรรถนะการผสมของสายพันธุ์แท้ โดยเฉพาะในรอบคัดเลือกหลัง สายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ที่เผยแพร่สู่ภาครัฐและเอกชนในอดีตถึงปัจจุบัน มีดังนี้

    พ.ศ. 2525 เผยแพร่สายพันธุ์แท้ Ki 1 ถึง Ki 19 ซึ่งสกัดมาจากพันธุ์สุวรรณ 1 รอบคัดเลือกที่ 4 (Suwan 1(S)C4)
    พ.ศ. 2527 เผยแพร่สายพันธุ์แท้ Ki 20 ซึ่งสกัดมาจากพันธุ์คาริเปนโยดีเอ็มอาร์รอบคัดเลือกที่ 1 (Caripeno DMR (S)C1)
พ.ศ. 2528 เผยแพร่สายพันธุ์แท้ Ki 21 ซึ่งสกัดมาจากพันธุ์ลูกผสม Pacific 9 และ Ki 22 สกัดมาจากลูกผสมพันธุ์ Pacific11 x Suwan 1(S)C6 
    พ.ศ. 2530  เผยแพร่สายพันธุ์แท้ Ki 23 ถึง Ki 30  สายพันธุ์แท้ Ki 23 ได้จากการปรับปรุงสายพันธุ์ Ki 11 กับสายพันธุ์แท้ Suwan 1(S)C7-S6-6-2-2, Ki 24 สกัดมาจากพันธุ์สุวรรณ 1 รอบคัดเลือกที่ 7, Ki 25 ถึง Ki 29 สกัดมาจากพันธุ์สุวรรณ 1 รอบคัดเลือกที่ 8 และ Ki  30 สกัดมาจากพันธุ์ Caripeno DMR (S)C1
    พ.ศ. 2535  เผยแพร่สายพันธุ์แท้ Ki 31 ถึง Ki 44  สายพันธุ์แท้ Ki 31 ถึง Ki 33 สกัดมาจากพันธุ์สุวรรณ 1 รอบคัดเลือกที่ 9, Ki34 สกัดมาจากพันธุ์สุวรรณ 1 รอบคัดเลือกที่ 9 ที่ปรับปรุงให้มีอายุเก็บเกี่ยวช้า 1 รอบ (Suwan 1(S)C9(L)(S)C1), Ki 35 และ Ki 36 ถึง Ki 38 สกัดมาจากพันธุ์สุวรรณ 3 รอบคัดเลือกที่ 1 และ 2 ตามลำดับ, Ki 39 และ Ki 40 เป็นสายพันธุ์แท้ข้าวโพดฝักอ่อนสกัดมาจากพันธุ์ Ransit 1(H)C1 และ Suwan 2(S)C7 ตามลำดับ, Ki 41 และ Ki 42 เป็นสายพันธุ์แท้ข้าวโพดน้ำมันสูง สกัดมาจากพันธุ์ Alexander High Oil (AHO), Ki 43 สกัดมาจากพันธุ์สุวรรณ 3 รอบคัดเลือกที่ 3 และ Ki 44 สกัดมาจากพันธุ์สังเคราะห์เกษตรศาสตร์ 6 รอบคัดเลือกที่ 2  (KS 6 (S)C2)
พ.ศ. 2538 เผยแพร่สายพันธุ์แท้ Ki 45 ซึ่งได้มาจากการปรับปรุงสายพันธุ์ Ki 21 โดยใช้วิธีการผสมกับสายพันธุ์แท้ Tzi 15 จากสถาบันเขตร้อนนานาชาติ (IITA) ประเทศไนจีเรีย และมีการผสมกลับด้วย Ki 21 1 ครั้ง ได้สายพันธุ์แท้ [(Ki 21 x Tzi 15)-S2 x Ki 21]-S8-36-2-2-2
    พ.ศ. 2540 เผยแพร่สายพันธุ์แท้ Ki 46 พัฒนามาจากพันธุ์สุวรรณ 1 รอบคัดเลือกที่ 10 ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดยวิธีการผสมกับตัวทดสอบที่มีความถี่ของยีนที่ดีต่ำ 1 รอบ (Suwan 1(S)C10(HLT)C1-F2)
    พ.ศ. 2544 เผยแพร่สายพันธุ์แท้ Ki 47 พัฒนามาจากพันธุ์สังเคราะห์เกษตรศาสตร์ 6 รอบคัดเลือกที่ 3 (KS 6(S)C3) 
    พ.ศ. 2550  เผยแพร่สายพันธุ์แท้ Ki 48 พัฒนามาจากพันธุ์ Pioneer 3013, Ki 49 พัฒนามาจากพันธุ์ KS 23(S)C2, Ki 50 พัฒนามาจากพันธุ์ Suwan 1(S)C11, Ki 51 และ Ki 52 พัฒนามาจากพันธุ์ Suwan 5(S)C4

สายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ 1 ถึงเกษตรศาสตร์ 20

สายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ 21 ถึงเกษตรศาสตร์ 44

สายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ 45 ถึง เกษตรศาสตร์ 48

สายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ 49 ถึง เกษตรศาสตร์ 52

 

 
คณะผู้วิจัย
ดร.โชคชัย เอกทัศนาวรรณ1 ดร.สรรเสริญ จำปาทอง1 ศ.ดร.ชำนาญ ฉัตรแก้ว2 ศ.ดร.สุจินต์ จินายน2 นายวีระศักดิ์ ดวงจันทร์1 และ นายธวัชชัย ประศาสน์ศรีสุภาพ2
1 ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์
2 ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-4436-1770-6