โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เริ่มโครงการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 และได้เผยแพร่ข้าวโพดลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคราน้ำค้าง มีลักษณะทางการเกษตรที่ดี ซึ่งมีสายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์เป็นสายพันธุ์พ่อแม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 สู่เกษตรกร ภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ มาอย่างต่อเนื่อง มีการทดสอบพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ทำให้ได้พันธุ์ลูกผสมที่ดีทั้งของภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม และการส่งเสริมให้ใช้พันธุ์ลูกผสมของกรมส่งเสริมการเกษตร ทำให้ปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบ 30 ปี ประมาณร้อยละ 99 ของปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ใช้ปลูกทั้งหมด ทำให้ผลผลิตข้าวโพดเฉลี่ยของประเทศในปี พ.ศ. 2551 เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปี พ.ศ. 2522 (322 กิโลกรัมต่อไร่) เป็น 652 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณผลผลิตรวม 4,249,354 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.42 โดยมีพื้นที่ปลูก 6,691,807 ไร่ ลดลงร้อยละ 29.77 ผลจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติและในประเทศทำให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมอย่างรวดเร็ว จนเป็นศูนย์กลางของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในแถบทวีปเอเชีย
พันธุ์ลูกผสมพันธุ์แรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ ลูกผสมเดี่ยวพันธุ์สุวรรณ 2301 ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติได้เผยแพร่พันธุ์สุวรรณ 2301 สู่เกษตรกรในปี พ.ศ. 2525 โดยเริ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ในปี พ.ศ. 2524 จำนวน 1.92 ตัน และได้สนับสนุนให้บริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ผลิตพันธุ์นี้สู่เกษตรกร ทำให้พันธุ์นี้แพร่กระจายสู่เกษตรกรมากขึ้น พันธุ์สุวรรณ 2301 เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการพัฒนาของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมในประเทศไทย โดยใช้เป็นพันธุ์แม่ในการผลิตลูกผสมสามทางและลูกผสมคู่ รวมทั้งการนำสายพันธุ์พ่อแม่ของพันธุ์สุวรรณ 2301 ไปใช้ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมของภาครัฐและเอกชน เป็นผลให้พันธุ์สุวรรณ 2301 ได้รับการพิจารณาให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นแห่งชาติ รางวัลที่สอง จากสภาวิจัยแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2532 และยังมีพันธุ์ลูกผสมที่ภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศนำสายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ ไปผลิตลูกผสมเป็นการค้า ได้แก่ ลูกผสมสามทางพันธุ์สุวรรณ 2602 (พ.ศ. 2529) และสุวรรณ 3101 (พ.ศ. 2534) และลูกผสมเดี่ยวพันธุ์ สุวรรณ 3501, สุวรรณ 3502, สุวรรณ 3503 และสุวรรณ 3504 (พ.ศ. 2536), สุวรรณ 3601 (พ.ศ. 2538), สุวรรณ 3851 (พ.ศ. 2540), สุวรรณ 3853 (พ.ศ. 2542) , สุวรรณ 4452 (พ.ศ. 2546) และ KSX 4901 (พ.ศ. 2550) ปีละ 50-200 ตัน
ประวัติพันธุ์
พันธุ์สุวรรณ 2301 ได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ Ki 3 และ Ki 11
พันธุ์สุวรรณ 2602 ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์สุวรรณ 2301 กับสายพันธุ์แท้ Ki 20
พันธุ์สุวรรณ 3101 ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ KSX 2903 กับสายพันธุ์แท้ Ki 21
พันธุ์สุวรรณ 3501 ได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ Ki 32 กับ Ki 21
พันธุ์สุวรรณ 3502 ได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ Ki 36 กับ Ki 21
พันธุ์สุวรรณ 3503 ได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ Ki 43 กับ Ki 21
พันธุ์สุวรรณ 3504 ได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ Ki 44 กับ Ki 21
พันธุ์สุวรรณ 3601 ได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ Ki 44 กับ Ki 45
พันธุ์สุวรรณ 3851 ได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ Ki 46 กับ Ki 45
พันธุ์สุวรรณ 3853 ได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ Ki 47 กับ Ki 45
พันธุ์สุวรรณ 4452 ได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ Ki 47 กับ Ki 48
พันธุ์ KSX 4901 ได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ Ki 51 กับ Ki 48
|
|
ฝักสายพันธุ์พ่อแม่ของข้าวโพด
ลูกผสมพันธุ์สุวรรณ 2301 และ
สุวรรณ 2602 |
ฝักข้าวโพดลูกผสมเดี่ยวพันธุ์
สุวรรณ 3501, สุวรรณ 3502 และ
สุวรรณ 3503 |
|
|
พันธุ์สุวรรณ 3504 |
ฝักพันธุ์สุวรรณ 3101, สุวรรณ 3504 และสุวรรณ 3601 |
|
|
พันธุ์สุวรรณ 3851 |
พันธุ์สุวรรณ 3853 |
|
|
พันธุ์สุวรรณ 4452 |
พันธุ์ KSX 4901 |
|