โครงงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิธีการแปรรูปมะขามเปียกที่ใช้ในการประกอบอาหารให้มีลักษณะที่เป็นผงโดยใช้เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้งคู่ โดยมีตัวแปรที่ศึกษาคือ อุณหภูมิ (120 และ 140 °ซ) ชนิดของสารตัวพา (มอลโตเด็กซ์ตรินและอารบิกกัม) และอัตราส่วนของน้ำมะขามเปียกต่อสารตัวพาที่ใช้ในการทำแห้ง (1:0.4, 1:0.8 และ 1:1.4) จากผลการทดลองพบว่าทั้งอุณหภูมิ ชนิดและปริมาณของสารตัวพาล้วนมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะขามผง โดยกรณีที่ใช้มอลโตเด็กซ์ตรินเป็นสารตัวพา อุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำแห้งคือ 140 °ซ หากใช้อัตราส่วนของน้ำมะขามเปียกต่อสารตัวพาเท่ากับ 1:0.8 หรือในช่วงระหว่าง 120-140 °ซ หากใช้อัตราส่วนของน้ำมะขามเปียกต่อสารตัวพาเท่ากับ 1:1.4 และในกรณีที่ใช้อารบิกกัมเป็นสารตัวพา อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 120-140 °ซ โดยใช้อัตราส่วนของน้ำมะขามเปียกต่อสารตัวพาเท่ากับ 1:0.4 หรือ 1:0.8 นอกจากนี้จากผลการทดลองทางประสาทสัมผัสพบว่า มะขามผงคืนรูปที่ใช้สารตัวพาเป็นมอลโตเด็กซ์ตรินได้รับความพึงพอใจในด้านสี, ลักษณะปรากฎและความชอบโดยรวมมากกว่ากรณีที่ใช้อารบิกกัม แต่ได้รับความพึงพอใจในด้านกลิ่นและรสน้อยกว่า สำหรับต้นทุนพลังงานที่ใช้ในการทำแห้งพบว่าอยู่ในช่วงระหว่าง 7.27-21.00 บาท/กิโลกรัมของมะขามผง ขณะที่ต้นทุนค่าสารตัวพาอยู่ในช่วงระหว่าง 208-228 บาท/กิโลกรัมของมะขามผง และ 640-768 บาท/กิโลกรัมของมะขามผง ในกรณีที่ใช้มอลโตเด็กซ์ตรินและอารบิกกัมเป็นสารตัวพาตามลำดับ
ที่มาของงานวิจัย
มะขามเปียกนั้นได้รับความนิยมมากในการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารไทย เนื่องจากให้รสเปรี้ยวและกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ราคาไม่แพง อีกทั้งยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากมาย เช่นวิตามินเอและซี โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และกากใย อีกทั้งยังมีกรดอินทรีย์เช่น กรดทาทาริกและซิตริก มะขามเปียกมีสรรพคุณเป็นยาระบายและช่วยลดความร้อนให้แก่ร่างกาย แต่เนื่องจากการเก็บรักษามะขามเปียกมักประสบปัญหาเรื่องการเสื่อมเสียเนื่องจากจุลินทรีย์โดยเฉพาะเชื้อราดังนั้นทางคณะผู้วิจัยจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้น เพื่อศึกษากระบวนการแปรรูปมะขามเปียกให้มีลักษณะเป็นผงเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ในครัวเรือน เหมาะกับรูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ลดปัญหาการเก็บรักษา รวมไปถึงเป็นการทำให้เกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์อาหารมากขึ้นซึ่งคณะผู้วิจัยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอาหารของประเทศ
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตมะขามผงสำหรับใช้ประกอบอาหารแทนมะขามเปียกสด
- เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการทำแห้งมะขามผง
- เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของผลิตภัณฑ์และต้นทุนในการทำแห้งระหว่างการใช้สารตัวพา 2 ชนิด คือ มอลโตเด็กซ์ตรินและอารบิกกัม
อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
วัตถุดิบ : มะขามเปียก, สารมอลโตเด็กซ์ตรินและอารบิกกัม
อุปกรณ์: เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้งคู่, เครื่อง Pulper finisher, เครื่องวัดสี, เครื่องวัดค่า pH, Hand refractometer, Hot air oven, Hot plate stirrer, เครื่องชั่งน้ำหนัก, Rapid visco analyzer, โถกรองและปั๊มสุญญากาศ
วิธีการทดลองที่ใช้ในโครงงานนี้ ถูกสรุปไว้ในรูปที่ 1

รูปที่ 1 ไดอะแกรมแสดงวิธีการทดลอง
ผลการทดลอง
จากการศึกษาพบว่ามีเพียง 7 สภาวะการทำแห้งเท่านั้น ที่ให้ผลิตภัณฑ์มะขามที่มีลักษณะทางกายภาพตามที่ต้องการ ดังรายละเอียดในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ลักษณะทางกายภาพของมะขามหลังจากการทำแห้งที่สภาวะต่างๆ
อุณหภูมิที่ใช้
ในการทำแห้ง (°ซ) |
สารตัวพา |
สัดส่วนระหว่างน้ำมะขามความเข้มข้น 20 °Brix และสารตัวพา (โดยน้ำหนัก) |
1:0.4 |
1:0.8 |
1:1.4 |
120 |
มอลโตเด็กซ์ตริน |
ส่วนผสมไม่หนืดพอที่จะเกาะติดที่ผิวของลูกกลิ้ง |
ผลิตภัณฑ์ที่ได้เหนียวแฉะ ไม่สามารถขูดออกจากผิวของลูกกลิ้งโดยใบมีก |
ผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นผงแห้ง สามารถขูดออกจากผิวของลูกกลิ้งได้ง่ายโดยใช้ใบมีด |
อารบิกกัม |
ผลิตภัณฑ์ที่ได้แห้งและเกาะเป็นฟิล์มบางๆบนผิวลูกกลิ้ง ซึ่งสามารถขูดออกได้ง่ายโดยใบมีก หลังจากขูดออกจะมีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดใหญ่ต้องนำไปบดให้เป็นผงอีกที |
ผลิตภัณฑ์ที่ได้แห้งและเกาะเป็นฟิล์มบางๆบนผิวลูกกลิ้ง ซึ่งสามารถขูดออกได้ง่ายโดยใบมีก หลังจากขูดออกจะมีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดใหญ่ต้องนำไปบดให้เป็นผงอีกที |
ผลิตภัณฑ์ที่ได้เหนียวแฉะ ไม่สามารถขูดออกจากผิวของลูกกลิ้งโดยใบมีก |
140 |
มอลโตเด็กซ์ตริน |
ส่วนผสมไม่หนืดพอที่จะเกาะติดที่ผิวของลูกกลิ้ง |
ผลิตภัณฑ์ที่ได้แห้งและเกาะเป็นฟิล์มบางๆบนผิวลูกกลิ้ง ซึ่งสามารถขูดออกได้ง่ายโดยใบมีก หลังจากขูดออกจะมีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดใหญ่ต้องนำไปบดให้เป็นผงอีกที |
ผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นผงแห้ง สามารถขูดออกจากผิวของลูกกลิ้งได้ง่ายโดยใช้ใบมีด |
อารบิกกัม |
ผลิตภัณฑ์ที่ได้แห้งและเกาะเป็นฟิล์มบางๆบนผิวลูกกลิ้ง ซึ่งสามารถขูดออกได้ง่ายโดยใบมีก หลังจากขูดออกจะมีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดใหญ่ต้องนำไปบดให้เป็นผงอีกที |
ผลิตภัณฑ์ที่ได้แห้งและเกาะเป็นฟิล์มบางๆบนผิวลูกกลิ้ง ซึ่งสามารถขูดออกได้ง่ายโดยใบมีก หลังจากขูดออกจะมีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดใหญ่ต้องนำไปบดให้เป็นผงอีกที |
ผลิตภัณฑ์ที่ได้เหนียวแฉะ ไม่สามารถขูดออกจากผิวของลูกกลิ้งโดยใบมีก |
หมายเหตุ สภาวะที่มีการ Highlight คือ สภาวะการทำแห้งที่ให้ผลิตภัณฑ์มะขามที่มีลักษณะทางกายภาพตามที่ต้องการ
ดังนั้นผลิตภัณฑ์มะขามผงที่ได้จาก 7 สภาวะดังกล่าวถูกนำวัดค่าคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ค่าคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆของผลิตภัณฑ์มะขามผงที่ได้จาก 7 สภาวะการทำแห้ง
สภาวะการทำแห้ง |
ความหนาแน่นปรากฏ
(กก./ลิตร) |
ความชื้น
(%มาตรฐานเปียก) |
Water activity |
ระยะเวลาที่ใช้ในการละลาย
(วินาที) |
ลำดับที่ |
สารตัวพา |
อุณหภูมิ (°ซ) |
สัดส่วนระหว่างน้ำมะขาม
และสารตัวพา |
1 |
MD |
120 |
1:1.4 |
0.816a ± 0.066 |
3.46a ± 0.03 |
0.260a ± 0.003 |
83a,b ± 2 |
2 |
MD |
140 |
1:0.8 |
0.781a ± 0.045 |
3.38b ± 0.03 |
0.326b ± 0.006 |
98a ± 18 |
3 |
MD |
140 |
1:1.4 |
0.478b ± 0.063 |
3.11c ± 0.04 |
0.342c ± 0.001 |
8c ± 1 |
4 |
AG |
120 |
1:0.4 |
0.731a,c ± 0.038 |
3.20d ± 0.04 |
0.306d ± 0.007 |
79a,b ± 18 |
5 |
AG |
120 |
1:0.8 |
0.790a ± 0.037 |
3.62e ± 0.04 |
0.265a,e ± 0.006 |
73b ± 8 |
6 |
AG |
140 |
1:0.4 |
0.648c ± 0.032 |
3.09c ± 0.02 |
0.276e ± 0.002 |
140d ± 8 |
7 |
AG |
140 |
1:0.8 |
0.783a ± 0.094 |
3.41a,b ± 0.03 |
0.263a ± 0.012 |
16c ± 2 |
หมายเหตุ: MD = มอลโตเด็กซ์ตริน, AG = อารบิกกัม
ค่าความหนาแน่นปรากฏ, ความชื้น, Water activity และระยะเวลาที่ใช้ในการละลาย ถูกแสดงในรูป ค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษร Superscript เหมือนกันในคอลัมน์เดียวกันแสดงว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ P < 0.05.
นอกจากการวัดค่าคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆของผลิตภัณฑ์มะขามผงแล้ว ยังมีการนำมะขามผงไปละลายน้ำให้มีสภาพคล้ายคลึงกับส่วนผสมก่อนการทำแห้ง แล้วทำการวัดค่าคุณสมบัติทางกายภาพเปรียบเทียบกับน้ำมะขามเปียกสดความเข้มข้น 20 °บริกซ์ ดังแสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ค่าคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆของมะขามผงละลายน้ำที่ได้จาก 7 สภาวะการทำแห้งและน้ำมะขามเปียกสด
สภาวะการทำแห้ง |
ค่าสี |
pH |
เปอร์เซ็นต์ของ
มะขามผงที่ไม่ละลาย |
ค่าความหนืด (cP) |
ลำดับที่ |
สารตัวพา |
อุณหภูมิ (°ซ) |
สัดส่วนระหว่างน้ำมะขาม และสารตัวพา |
L* |
a* |
b* |
1 |
MD |
120 |
1:1.4 |
7.57a ± 0.22 |
7.78c ± 0.04 |
9d ± 0.24 |
2.58a ± 0.015 |
6.3 |
16,158a ± 1,955.8 |
2 |
MD |
140 |
1:0.8 |
4.97b ± 0.12 |
6.62a ± 0.36 |
6.69a ± 0.35 |
2.65a,b ± 0.006 |
6.8 |
2,523b,c ± 187.7 |
3 |
MD |
140 |
1:1.4 |
11.89c ± 0.31 |
7.84c ± 0.06 |
14.61b ± 0.42 |
2.70b ± 0.020 |
5.6 |
4,297c,d ± 485.0 |
4 |
AG |
120 |
1:0.4 |
3.97d ± 0.13 |
6.76a ± 0.13 |
5.78c ± 0.16 |
2.80c ± 0.026 |
12.0 |
5,738d ± 239.5 |
5 |
AG |
120 |
1:0.8 |
11.04e ± 0.14 |
8.07c,d ± 0.37 |
13.74e ± 0.59 |
3.18d ± 0.070 |
7.1 |
19,818e ± 2,342.3 |
6 |
AG |
140 |
1:0.4 |
5.82f ± 0.29 |
8.65b,d ± 0.14 |
8.47d ± 0.71 |
2.79c ± 0.051 |
31.7 |
23,639f ± 1,311.5 |
7 |
AG |
140 |
1:0.8 |
9.60g ± 0.60 |
8.97b ± 0.36 |
13.38e ± 0.15 |
3.05e ± 0.025 |
11.5 |
17,406a,e ± 3,928.6 |
Fresh tamarind juice |
11.46c,e ± 0.61 |
8.36c,d ± 0.69 |
13.43e ± 0.84 |
2.69b ± 0.086 |
- |
467b ± 28.0 |
หมายเหตุ: MD = มอลโตเด็กซ์ตริน, AG = อารบิกกัม, L* = ค่าความสว่าง, a* = ค่าสีแดง, b* = ค่าสีเหลือง
ค่า L*, a*, b*, pH, เปอร์เซ็นต์ของมะขามผงที่ไม่ละลาย และค่าความหนืด ถูกแสดงในรูป ค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษร Superscript เหมือนกันในคอลัมน์เดียวกันแสดงว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ P < 0.05.
มะขามผงที่ได้จากสภาวะการทำแห้งลำดับที่ 3 และ 4 ถูกนำไปทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค เนื่องจากมีลักษณะปรากฏที่ดี โดยมะขามผงจะถูกนำไปละลายน้ำให้มีสภาพคล้ายคลึงกับส่วนผสมก่อนการทำแห้ง แล้วให้ผู้ทดสอบจำนวน 30 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีในคณะอุตสาหกรรมเกษตร ประเมินคุณภาพด้านประสาทสัมผัสในแง่ ลักษณะปรากฏ, สี, กลิ่น, รส และความชอบโดยรวม โดยใช้แบบทดสอบ 5-Point hedonic scale test ผลการประเมินถูกแสดงดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพด้านประสาทสัมผัสของมะขามผงจากสภาวะการทำแห้งลำดับที่ 3 และ 4
นอกจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะขามผงแล้ว ในโครงงานนี้ยังมีการคำนวณต้นทุนในการทำแห้งมะขามผงด้วย ซึ่งต้นทุนที่สำคัญได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าสารตัวพา ซึ่งผลการคำนวณถูกแสดงในตารางที่ 4
ตารางที่ 4 รายละเอียดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าสารตัวพา สำหรับการผลิตมะขามผง
สภาวะการทำแห้งลำดับที่ |
พลังงานที่ใช้สำหรับการทำแห้ง |
น้ำหนักมะขามผงที่ได้ (kg) |
SPEC (kJ/kgproduct) |
ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในการทำแห้ง |
ค่าสารตัวพา ต่อน้ำหนักมะขามผง(บาท/กิโลกรัม) |
พลังงานความร้อน (kJ) |
พลังงานไฟฟ้า (kJ) |
พลังงานปฐมภูมิรวม (kJ) |
ค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงาน
ความร้อน (บาท) |
ค่าไฟฟ้า (บาท) |
ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่อ
น้ำหนักมะขามผง(บาท/กิโลกรัม) |
1 |
2,421 |
675 |
4,177 |
0.320 |
13,052 |
1.93 |
0.56 |
7.79 |
227.50 |
2 |
2,027 |
524 |
3,390 |
0.200 |
16,951 |
1.62 |
0.44 |
10.26 |
208.00 |
3 |
4,354 |
565 |
5,823 |
0.320 |
18,195 |
3.47 |
0.47 |
12.31 |
227.50 |
4 |
1,342 |
278 |
2,066 |
0.120 |
17,218 |
1.07 |
0.23 |
10.85 |
640.00 |
5 |
2,354 |
299 |
3,132 |
0.200 |
15,659 |
1.88 |
0.25 |
10.62 |
768.00 |
6 |
2,928 |
225 |
3,512 |
0.120 |
29,267 |
2.33 |
0.19 |
21.00 |
640.00 |
7 |
1,464 |
345 |
2,361 |
0.200 |
11,805 |
1.17 |
0.29 |
7.27 |
768.00 |
หมายเหตุ: พลังงานปฐมภูมิรวม = พลังงานความร้อน + [2.6*พลังงานไฟฟ้า]
SPEC = specific primary energy consumption = พลังงานปฐมภูมิรวม / น้ำหนักมะขามผงที่ได้
ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่อน้ำหนักมะขามผง = (ค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงานความร้อน + ค่าไฟฟ้า)/ น้ำหนักมะขามผงที่ได้
ในการคำนวณค่าสารตัวพา ใช้ราคาค่าสารมอลโตเด็กซ์ตรินและอารบิกกัมเท่ากับ 260 และ 960 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า สามารถผลิตมะขามผงด้วยวิธีการทำแห้งแบบลูกกลิ้งคู่เพื่อใช้มะขามผงเป็นส่วนประกอบในการให้รสเปรี้ยวในอาหารหรือเป็นสารให้กลิ่นรสในอาหารได้ จากผลการทดลองพบว่าอุณหภูมิการทำแห้งที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของสารตัวพา และอัตราส่วนของน้ำมะขามเปียกต่อสารตัวพา นอกจากนี้จากผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสบ่งชี้ว่า มะขามผงคืนรูปที่ใช้สารตัวพาเป็นมอลโตเด็กซ์ตรินได้รับความพึงพอใจในด้านสี, ลักษณะปรากฎและความชอบโดยรวมมากกว่ากรณีที่ใช้อารบิกกัม แต่ได้รับความพึงพอใจในด้านกลิ่นและรสน้อยกว่า ต้นทุนพลังงานที่ใช้ในการทำแห้งพบว่าอยู่ในช่วงระหว่าง 7.27-21.00 บาท/กิโลกรัมของมะขามผง ขณะที่ต้นทุนค่าสารตัวพาจะสูงกว่าต้นทุนพลังงานมาก อย่างไรก็ตามราคาสารตัวพาที่ใช้ในการคำนวณเป็นราคาในกรณีที่ซื้อปริมาณน้อยแต่หากซื้อในปริมาณมากเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ราคาค่าสารตัวพาจะลดลงหลายเท่าตัว ซึ่งมีผลให้ต้นทุนลดลงได้มาก
|