ศาสตราจารย์ อรศิริ ปาณินท์
รางวัลที่ได้รับ : ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ประจำปี 2552
จาก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

 ประวัติส่วนตัว

การศึกษา  

  • ศ.บ. (สถาปัตยกรรมไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • M.S. (Tropical Architecture) Pratt Institute, N.Y., USA.
  • สถ.ด. (กิตติมศักดิ์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศศ.ด. (กิตติมศักดิ์) สาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สถ.ด. (กิตติมศักดิ์) มหาวิทยาลัยศรีปทุม

รางวัล                   

  • รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สาขาศิลปะและศิลปะประยุกต์ 2543 จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
  • รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม สาขาปรัชญา 2544 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
  • เมธีวิจัยอาวุโส (สกว.) สาขาสถาปัตยกรรม 2545
  • รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา 2547
  • ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น 2552 (มก./สกว./สกอ.)

ประวัติการทำงาน

  • พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน    ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ระดับ 11 ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2533 – 2547       ศาสตราจารย์ ระดับ 11 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พ.ศ. 2528 – 2531       รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พ.ศ. 2523 – 2527       คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พ.ศ. 2519 – 2523       หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรม

ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล
     การศึกษาแบบองค์รวมของการปรับตัวในบริบทใหญ่ ที่แตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ในพื้นที่ลุ่มน้ำ ภาคกลางของประเทศไทย
Holistic Study for the Adaptability in the Different Context of Tai-Lao Ethnic in the Central Region Basin of Thailand

           งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตและระบบนิเวศของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทยที่มีบริบทของการตั้งถิ่นฐานแตกต่างไปจากพื้นที่เดิมในครั้งบรรพบุรุษของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวกลุ่มหลักสี่กลุ่มคือ ลาวเวียง ลาวครั่ง ลาวพวน และลาวโซ่ง พร้อมกับการสืบค้นถึงการปรับตัวในบริบทใหม่ และภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในบริบทใหม่ซึ่งสามารถบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนอันจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่สามารถประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนสำหรับพื้นที่อื่นที่มีลักษณะร่วมเดียวกันได้ในอนาคต

สรุปพื้นที่ศึกษาในลุ่มน้ำภาคกลางหลังจากการสำรวจเบื้องต้น

ลาวครั่ง      บ้านกุดจอก อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท
ลาวเวียง     ตำบลบ้านเลือก ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ลาวพวน     ตำบลมะขามล้ม ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
ลาวโซ่ง      ตำบลหนองปรง ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
บ้านเกาะแรต อำเภบางเลน จังหวัดนครปฐม
บ้านหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

พื้นที่บริบทเดิมที่จะทำการศึกษาเปรียบเทียบ

แขวงหลวงพระบาง      สปป.ลาว      บริบทเดิมของกลุ่มลาวครั่ง
แขวงเวียงจันทน์          สปป.ลาว      บริบทเดิมของกลุ่มลาวเวียง
แขวงโพนสะวัน           สปป.ลาว      บริบทเดิมของกลุ่มลาวพวน
เมืองเดียนเบียนฟู         เวียตนาม      บริบทเดิมของกลุ่มลาวโซ่ง (ไทดำ)

สรุปผลการศึกษาในรอบ 6 เดือน

 

คำถามหลักของการวิจัย

  1. ในบริบทของพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางซึ่งมีความต่างไปจากพื้นที่ของ สปป.ลาวทำให้ชีวิตและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวเป็นอย่างไร.................. การปรับตัวของวิถีชีวิตในระบบนิเวศ
  2. ทรัพยากรชีวภาพในบริบทใหม่ทำให้เกิดการปรับตัวเพียงไร ............ การปรับตัวในวิถีชีวิตและ
    ระบบเศรษฐกิจ
  3. ภูมิปัญญาใหม่เกิดขึ้นพร้อมกับการปรับตัวในบริบทใหม่เพื่อการปรับตัวให้วิถีชีวิตและระบบนิเวศมีความสมดุลเป็นอย่างไร ............................ การปรับตัวและ/หรือก่อให้เกิดภูมิปัญญา
  4. หมู่บ้านและเรือนไท-ลาวในภาคกลางมีความเหมือนหรือต่างจากหมู่บ้านและเรือนไท-ลาวใน สปป.ลาวอย่างไร เพราะเหตุใด ..................... การปรับตัวทางกายภาพที่แสดงออกกับผังหมู่บ้าน
  5. แนวโน้มในอนาคตของชุมชนไท-ลาวในพื้นที่ภาคกลางจะเป็นอย่างไร .......... การปรับตัวของเรือนและสภาพแวดล้อม

พื้นที่ศึกษาและสำรวจในช่วง 6 เดือนแรกของการวิจัย (พฤษภาคม 2552 – พฤศจิกายน 2552)

กรอบแนวคิด

           การวิจัยนี้อิงกรอบแนวคิด นิเวศวิทยาชาติพันธุ์ (Ethnoecology) และ นิเวศวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Ecology) ซึ่งเป็นมุมมองทางมานุษยวิทยาที่ให้ความสนใจกับสัมพันธภาพของมนุษย์กับธรรมชาติ (ยศ สันตสมบัติ : 2547) และในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในวิถีการดำรงชีพ จะมีการแทรกตัวของสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างที่มนุษย์เสริมแต่งเข้าไปในสภาพแวดล้อมธรรมชาติของแต่ละบริบทด้วยภูมิปัญญาหรืออีกนัยหนึ่งด้วยมิติทางวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ผสมผสานเป็นนิเวศวิทยาวัฒนธรรมชาติพันธุ์ (Cultural Ethnoecology)

การสำรวจภาคสนามในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง

การสำรวจภาคสนามในแขวงเชียงขวาง สปป.ลาว

          เนื่องจากพื้นที่ในแขวงเชียงขวางอุดมไปด้วยภูเขาสูง และหุบเขาซึ่งกลายเป็นพื้นที่นาแบบขั้นบันไดอาศัยน้ำจากภูเขาซึ่งกลายเป็นลำธารน้ำไหลแรงสู่หมู่บ้าน ชาวบ้านยังใช้ระบบเหมืองฝายในการจัดการน้ำเข้านาอย่างอุดมสมบูรณ์ และยังสามารถอาศัยภูมิปัญญาเกี่ยวกับการจัดการน้ำมาใช้ในการปั่นไฟฟ้าเล็กๆน้อยๆ ใช้ในครัวเรือนได้ด้วยระบบการช่วยเหลือกันในการทำนา และเกี่ยวข้าวแบบลงแขก หรือ เอามื้อเอาวันยังคงอยู่อย่างเอื้ออาทร

องค์ความรู้ใหม่ที่คาดว่าจะได้รับ

  • การปรับตัวและภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวในพื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่ต่างไปจากที่เคยตั้งถิ่นฐาน
  • ลักษณะหมู่บ้านและชุมชนในพื้นที่ใหม่
  • วัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนตามทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ใหม่
  • การปรับตัวของวิถีชีวิตและเรือนพื้นถิ่น
  • การเสริมสร้าง ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape) อย่างยั่งยืน
  • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

 

 
คณะผู้วิจัย
ศ. อรศิริ ปาณินท์  รศ. วีระ อินพันทัง    ผศ.ดร. วันดี พินิจวรสิน ผศ.ดร. ต้นข้าว ปาณินท์      ผศ.ดร. ทรงยศ วีระทรีมาศ    ผศ.ดร. นพดล ตั้งสกุล อ. ศรันย์ สมันตรัฐ     อ. จตุพล อังศุเวช     อ.ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ    อ. พัฒนปกรณ์ ลีลาพฤทธิ์   อ. จิรศักดิ์ เกื้อสมบัติ  และ  ผศ. วีละ อาโนลัก
คณะผู้ช่วยวิจัย
อ. ศรุติ โพธิ์ไทร อ. อดิศร ศรีเสาวนันท์  อ. ชวาพร ศักดิ์ศรี  อ. พุดตาน จันทรางกูร   อ. สุธิดา สัตยากร   ตุลชัย บ่อทรัพย์   นพดล จันทวีระ และ   อ. เจนยุทธ ล่อใจ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2942-8960 กด 169