สรุปผลงานประดิษฐ์คิดค้น: ได้วิธีใหม่ในการกระตุ้นไม้กฤษณาให้เกิดสารหอมโดยเชื้อราและสารอินทรีย์ที่ปลอดภัย
ที่มาของการประดิษฐ์: ไม้กฤษณาเป็นไม้ยืนต้นที่มีการปลูกกันแพร่หลายมาก เนื่องจากสารหอมในไม้กฤษณามีราคาแพงมาก ไม้กฤษณาที่เป็นสารหอมทั้งต้น จะซื้อขายอยู่ในราคา 5 หมื่นถึง 1 แสนบาทต่อ1 ต้น ปัจจุบันมีการปลูกไม้กฤษณามากกว่า 15 ล้านต้น ในทุกภาคของประเทศ เกษตรกรและประชาชนที่ปลูกไม้กฤษณา พบปัญหาจากการที่ต้นกฤษณาผลิตสารหอมน้อย (ไม่เกิน10 %) หรือไม่ผลิตสารหอมเลย ปัจจุบันมีการหลอกลวงในการรับจ้างกระตุ้นให้เกิดสารหอม หรือวิธีการที่เกษตรกรนิยมทำกันคือ ใช้ตะปูเจาะรู 1,000-2,000 รูต่อต้น ซึ่งเป็นการทำลายต้นกฤษณา ทำให้มีอายุสั้นลง ยังไม่มีวิธีการใดที่จะสามารถกระตุ้นไม้กฤษณาให้ผลิตสารหอมอย่างสม่ำเสมอหรือทั้งต้น ดังนั้นคณะวิจัย จึงได้มีแนวคิดในการกระตุ้นให้เกิดสารหอมในไม้กฤษณา โดยใช้เชื้อราและสารอินทรีย์ที่ปลอดภัย
คุณสมบัติและลักษณะเด่น:
1. เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ทำได้ง่าย ต้นทุนถูก และปลอดภัย
2. เป็นการแก้ปัญหาในการเกิดสารหอมในไม้กฤษณาที่ได้มีการปลูกกันมากในประเทศไทย โดยเกิดทุกต้นอย่างสม่ำเสมอ
3. น้ำหอมที่ได้จากการกระตุ้นนี้อยู่ในระดับ A+
4. ได้มีการดำเนินการจดสิทธิบัตร จำนวน 3 ฉบับจากผลงานวิจัยที่ได้
5. สามารถถ่ายทอดสู่เกษตรกรและขยายสู่ระดับอุตสาหกรรม หรือถ่ายทอดสิทธิบัตร
6. ทำให้การปลูกไม้กฤษณาเกิดมูลค่ามหาศาล จากผลการทดลองพบว่าการกระตุ้นไม้กฤษณาให้เกิดสารหอมเพียง 70 รูต่อต้น จะได้น้ำหอมประมาณ 6 โตร่า (ประมาณ 5หมื่นบาท)
วิธีการและกรรมวิธี
วิธีการ:
1. การคัดเลือกเชื้อราที่เหมาะสม โดยการแยกเชื้อราจากไม้กฤษณาที่เกิดตามธรรมชาติ
2. วิธีการเลือกสารอินทรีย์ ทำโดยการวิเคราะห์ชีวสังเคราะห์ของกลุ่มสารหอมในไม้กฤษณาและคัดเลือกสารที่ใช้เป็นสารตั้งต้นหรือสารมัธยันต์ในการสังเคราะห์สารหอมนั้น
3. ทำการศึกษาการเจาะรูต้นกฤษณาขนาดและความลึกที่เหมาะสม เพื่อใส่เชื้อราและสารอินทรีย์
4. ทำการศึกษาความเข้นข้นและปริมาณที่เหมาะสมของเชื้อราและสารอินทรีย์
5. ได้ศึกษาอายุของต้นกฤษณาที่เหมาะสมในการกระตุ้น
6. ได้ศึกษาถึงฤดูที่เหมาะสมในการกระตุ้น
7. ได้ศึกษากระบวนการกลั่นไม้หอมจากการกระตุ้น เพื่อให้ได้ปริมาณสารหอมสูงสุด
8. ได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารหอมที่ได้ โดยวิธี TLC (Thin layer chromatography) และ GC-MS (Gas Chromatography-Mass Spectrometry)
 |
 |
กรรมวิธี:
1. เตรียมเชื้อราและสารอินทรีย์ที่ได้คัดเลือกมา ให้อยู่ในรูปสารละลายที่มีความเข้มข้นที่เหมาะสม
2. ทำการเจาะรูต้นกฤษณาที่มีอายุ 5ปี 8 ปี และ 12 ปีขึ้นไป ด้วยสว่านขนาดความกว้างของรู ประมาณ 0.7 – 10 ซม. ลึกประมาณ 10 ซม.
3. ทำการใส่สารละลายเชื้อราหรือสารอินทรีย์ลงไปในรูที่เจาะปริมาณ 2 ลบ.ซม. และเปิดรูไว้
4. ทำการติดตามผลการเกิดสารหอมเมื่อกระตุ้นได้ 1 เดือน พบว่าเริ่มมีการผลิตสารหอม
5. ทำการใส่สารละลายเชื้อราหรือสารอินทรีย์ซ้ำในปริมาณเท่าเดิม ในทุกรูที่เจาะ หลังจากการใส่ครั้งแรก (ข้อ 3) ประมาณ 2 เดือน
6. ทำการตรวจสารหอมที่เกิดขึ้นหลังจากกระตุ้นครั้งที่ 2 พบว่า สารหอมเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่ง 6 เดือน เกิดสารหอมต่อ 1 รูเป็นบริเวณแนวยาวประมาณ 20 ซม. แนวกว้าง ประมาณ 3 ซม. แนวลึกประมาณ 10 ซม.
8. นำไม้กฤษณาที่แช่น้ำไว้ตามข้อ 7 มาทำการกลั่นด้วยวิธี water-steam distillation (hydrodistillation) ได้สารหอมในปริมาณ 0.3 % dry wt. (4 กิโลกรัมไม้กฤษณาแห้งกลั่นได้สารหอมประมาณ 1 โตร่า (~12 ลบ.ซม.))
9. ทำการวิเคราะห์สารหอมที่กลั่นได้ด้วยวิธี TLC และวิธี GC-MS พบว่าสารหอมอยู่ในระดับเกรด A ถึง A+
10. จากการเริ่มกระตุ้นในฤดูฝน และฤดูแล้ง พบว่าเกิดปริมาณสารหอมใกล้เคียงกัน
|
|
|
ไม้กฤษณาที่ไม่ได้ทำการกระตุ้น |
ไม้กฤษณาที่เกิดจากการกระตุ้นโดยใช้เชื้อราและสารอินทรีย์ |
ประโยชน์ที่ได้รับ:
1. ด้านเกษตรกรรม
1.1. เป็นการแก้ปัญหาให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ปลูกไม้กฤษณา ปกติไม้กฤษณาจะผลิตสารหอมตามธรรมชาติเพียง 5-10 % หรือไม่ผลิตสารหอมเลย นวัตกรรมใหม่นี้จะทำให้เกิดการสร้างสารหอมในไม้กฤษณาสม่ำเสมอทุกต้น
1.2. เพิ่มอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป
2. ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
2.1. เพิ่มมูลค่ามหาศาลไม้กฤษณาทุกต้น (ประมาณต้นละ 1 แสนบาท) จากการกระตุ้นให้เกิดสารหอม
2.2. นวัตกรรมนี้สามารถขยายสู่เชิงพาณิชย์ได้ดี
2.3. ปัจจุบันน้ำหอมกฤษณายังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด นวัตกรรมนี้จะทำให้สามารถผลิตสารหอมได้เพียงพอในประเทศและส่งออกต่างประเทศได้
2.4. ทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น spa การใช้ไม้ที่เหลือจากการกลั่นทำธูป และใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา
3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.1. ทำให้การลักลอบตัดไม้กฤษณาหมดไปและมีการปลูกป่ามากขึ้น
3.2. นวัตกรรมนี้ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
การเปรียบเทียบผลจากการที่มีและไม่มีนวัตกรรมใหม่ในการกระตุ้นสารหอม
ไม่มีนวัตกรรมใหม่ในการกระตุ้นสารหอม |
มีนวัตกรรมใหม่ในการกระตุ้นสารหอม |
1.ความเสียหายที่เกิดจากการปลูกกฤษณาแล้วไม่เกิดสารหอมเป็นเงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท (จากทั้งประเทศ 15 ล้านต้น) |
1.นวัตกรรมใหม่นี้ทำให้ลดความเสียหายลงได้ |
2.ต้นทุนการปลูกกฤษณา1ไร่(400ต้น)ประมาณ2แสนบาท(ที่มา:http://www.udonthani.com/) |
2.ต้นทุนการปลูกกฤษณา1ไร่(400ต้น) ประมาณ 5,200 บาท (ข้อมูลจากไร่ลุงสมพร จ.ตราด) |
3.ค่าใช้จ่ายในการตอกตะปู 2,000ตัว/ต้น/1ไร่ รวมค่าแรงประมาณ 670 บาท) ประมาณ 268,000 บาท |
3.ค่าใช้จ่ายในการกระตุ้นด้วยนวัตกรรมนี้ต่อ 1 ไร่ ประมาณ 240,000 บาท (ต้นละ 600 บาท) |
4. ค่าตอบแทนต่อพื้นที่ 1 ไร่ ประมาณ 1 ล้านบาท
(ที่มา:http://www.udonthani.com/) |
4.ค่าตอบแทนต่อพื้นที่ 1 ไร่ จากนวัตกรรมนี้ ประมาณ 20 ล้านบาท |
5. กำไรสุทธิต่อ 1 ไร่ 532,000 บาท |
5. กำไรสุทธิต่อ 1ไร่ 19,708,000 บาท |
ผลประโยชน์สุทธิที่เพิ่มขึ้นจากการมีนวัตกรรมใหม่นี้ต่อพื้นที่ 1 ไร่ เป็นเงิน 19,176,000บาท |
|
|
|
คณะวิจัยทำการกระตุ้นไม้กฤษณาที่ตราด |
ทำการกระตุ้นไม้กฤษณาที่อุดรธานี |
ทำการกระตุ้นไม้กฤษณาที่เชียงราย |
คำขอบคุณ:
ขอขอบพระคุณ 1.สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สวพ.)
2. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
มีต้นกล้าไม้กฤษณาจำหน่ายราคาถูกในงานฯ
|