ศูนย์ประสานเพื่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ   
       

             มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของ “ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ” เฉพาะด้าน (Center of Excellence) ของมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วย นักวิชาการ นักวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีเอกภาพ มีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยในเชิงรุกเพื่อนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยอย่างเต็มรูปแบบ  เป็นหน่วยงานรับผิดชอบประสานงานและบริหารงานทางธุรการให้กับศูนย์ความเป็นเลิศเหล่านั้น ด้วยการใช้ทรัพยากรทางการบริหารร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการสามารถมุ่งเน้นภารกิจด้านวิชาการได้อย่างเต็มที่ จึงต้องมีศูนย์ประสานเพื่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

กล่องข้อความ: บทบาทภาระหน้าที่

ศูนย์ประสานเพื่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศเป็นหน่วยงานประสานงานและสนับสนุนการบริหารงานทางธุรการให้กับศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านต่าง ๆ มากกว่า 1 หน่วยงาน และได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยให้จัดตั้งขึ้น โดยไม่ครอบคลุมถึงศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง  ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะ ที่สังกัดคณะ สถาบัน สำนัก หรือหน่วยงานเทียบเท่า

กล่องข้อความ: โครงสร้างหน่วยงาน

กล่องข้อความ: บทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานย่อย

กล่องข้อความ: ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

1. บูรณาการงานวิจัยและพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมอาหารและสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง
2. บ่มเพาะและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร
3. เป็นแหล่งความรู้และบริการทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมอาหาร
4. สร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านอุตสาหกรรมอาหาร
5. สร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน

กล่องข้อความ: ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านยางพารา

1.  กำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทาง และระยะเวลา การวิจัยเฉพาะทางด้านยางพารา
2. ประสานงานในการสร้างความเข้มแข็ง และเสริมสร้างศักยภาพด้านการศึกษา การวิจัย และพัฒนา และบริการวิชาการยางพารา
3. เป็นศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านยางพาราอย่างครบวงจร

กล่องข้อความ: ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านปาล์มน้ำมัน

1. สนับสนุนและพัฒนากลุ่มนักวิจัยที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านปาล์มน้ำมัน รวมทั้งทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัย
2. ผลิตบุคลากรที่มีความสามารถเชี่ยวชาญสูง ตั้งแต่ระดับปริญญาโท เอก และหลังปริญญาเอก
3. เป็นแหล่งสะสมองค์ความรู้และถ่ายทอด รวมทั้งบริการองค์ความรู้ที่เหมาะสมแก่สังคม
4. สร้างงานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสร้างมูลค่าเพิ่ม
5. สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านปาล์มน้ำมันกับภาครัฐและทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
6. สร้างความเป็นเลิศเฉพาะทางในการวิจัยทางปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

กล่องข้อความ: ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งนวัตกรรมข้าว

1. กำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทาง และระยะเวลาการวิจัยเฉพาะทางด้านข้าวของมหาวิทยาลัยให้ครบ
2. ดำเนินงานร่วมกัน ระหว่างฝ่ายปรับปรุงพันธุ์ข้าว ฝ่ายควบคุมคุณภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว ฝ่ายเศรษฐศาสตร์และการตลาดข้าว เพื่อให้พันธุ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยด้านข้าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ และเป็นประโยชน์สูงสุดให้กับประเทศชาติ
3. สร้างบุคลากรและกลุ่มวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านข้าว เพื่อให้มหาวิทยาลัยคงความเป็นเลิศทางวิชาการด้านข้าวอย่างต่อเนื่อง
4. เป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ด้านข้าว โดยมีการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนและสังคม ตลอดจนพัฒนาสู่ภาคอุตสาหกรรมในเชิงพาณิชย์
5. สามารถชี้นำประเทศเชิงนโยบาย ด้านพันธุ์ การผลิต การแปรรูป การตลาด ตลอดจนวัฒนธรรมและสังคม ซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

กล่องข้อความ: ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเครื่องจักรกลการเกษตรและอาหาร

1. กำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทาง และระยะเวลา การวิจัยเฉพาะทางด้านเครื่องจักรกลการเกษตรและอาหารของ
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. ประสานงานในการสร้างความเข้มแข็ง และเสริมสร้างศักยภาพด้านการศึกษา การวิจัย และพัฒนา และบริการ
   วิชาการด้านเครื่องจักรกลการเกษตรและอาหาร
3. เป็นศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านเครื่องจักรกลการเกษตรและอาหารอย่างครบวงจร

 

สถานที่ติดต่อ

ศูนย์ประสานเพื่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
อาคารวิจัยและพัฒนา ชั้น 2 ห้อง 215
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทรศัพท์ 02-9427615 ภายใน 2070  โทรสาร 02-9427616
อีเมลล์ coe_ku@ku.ac.th   เวบไซต์ www.nec.psd.ku.ac.th

 
  
คณะผู้วิจัย :
วรพร  อร่ามรักษ์
ศูนย์ประสานเพื่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยเกษตร์ศาสตร์
โทร. 02-9427615