โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่า DXP  สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร 
The research on breeding of Tenera (DXP) oil palm by Sitthiporn Kridakara Research Station

       

             ปาล์มน้ำมันจัดเป็นพืชน้ำมันอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งในระดับโลกและของประเทศไทยทั้งนี้เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชชนิดเดียวที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่มากกว่าพืชน้ำมันอื่นๆ ทุกชนิด และสามารถผลิตได้เฉพาะในเขตพื้นที่จำกัดประเภทร้อนชื้นเท่านั้น ซึ่งมีเพียง 42 ประเทศ จาก 223 ประเทศทั่วโลกที่สามารถปลูกได้ แต่มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่สามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้ผลดี เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย โคลัมเบีย และไทย เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปาล์มน้ำมันได้ถูกนำเข้ามาเพาะปลูกในภาคใต้เมื่อประมาณ 40 ปี ที่ผ่านมาและมีการขายพื้นที่การเพาะปลูกจนในปัจจุบันพบว่า มีพื้นที่การเพาะปลุกปาล์มน้ำมันประมาณ 2.75 ล้านไร่ โดยผลผลิตที่ได้คิดเป็นมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี และสืบเนื่องมาจากวิกฤตด้านพลังงานทั่วโลก รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทน เพื่อลดภาระการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานจากทรัพยากรและวัตถุดิบที่มีอยู่ภายในประเทศน้ำมันปาล์มจึงทวีบทบาทความสำคัญในฐานะพืชเพียงชนิดเดียวที่ยังคงมีปริมาณคงเหลือจากการบริโภคและสามารถนำมาแปรรูปเป็นพลังงานทดแทนได้ตามนโยบายของรัฐบาล    ตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและปาล์มน้ำมันจะขยายพื้นที่การเพาะปลูก ในปี 2555 ให้ได้ 5.45 ล้านไร่

             จากสภาพวิกฤตด้านพลังงานเชื้อเพลิงที่มีราคาสูงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมาทำให้ปาล์มน้ำมันถูกจัดเป็นพืชหนึ่งที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษเนื่องจากปาล์มน้ำมันสามารถนำมาทำ ไบโอดีเซล เพื่อลดภาระการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง บางส่วนจากต่างประเทศ (ปี พ.ศ. 2547 ประเทศไทยใช้น้ำมันดีเซลภายในประเทศคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 270,000 ล้านบาท/ปี) รวมทั้งเพื่อสร้างงานและอาชีพให้เกษตรกร เพื่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนภายในประเทศ จากเหตุผลดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตและแปรรูปน้ำมันปาล์มของไทยอย่างมากในอนาคต เนื่องจากอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันดีเซลที่เกิดขึ้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีวัตถุดิบปาล์มน้ำมันที่มากเพียงพอ ซึ่งแนวทางที่จะกระทำได้นั้นอาจมีแนวทางคือ 1. การเพิ่มผลผลิตหรือประสิทธิภาพการผลิตต่อหน่วยพื้นที่ 2. การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้มากขึ้นในพื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งทั้ง 2 แนวทางจำเป็นต้องใช้พันธุ์ปาล์มที่เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ดี ซึ่งได้แก่พันธุ์ลูกผสมเทเนอร่า DXP ในปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ประมาณ 2,750,000 ไร่ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก ทั้งนี้ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่เกษตรกรใช้พันธุ์ปาล์มลูกผสมเทเนอร่า ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ดีให้ผลผลิตสูง และ อีกประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรยังใช้พันธุ์ดูร่า หรือ พันธุ์ที่เกษตรกรเก็บเมล็ดใต้โคนมาเพาะปลูกเอง ซึ่งในพื้นที่เหล่านี้ผลผลิตปาล์มน้ำมันต่ำกว่าแปลงที่ใช้พันธุ์ลูกผสมเทเนอร่า 30-40 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นแนวทางการเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ คือ การรณรงค์ ให้เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกทดแทนแปลงเดิมหรือปลูกในพื้นที่ใหม่ให้หันมาใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดีให้ผลผลิตสูง ซึ่งได้แก่ พันธุ์ลูกผสมเทเนอร่าและส่วนใหญ่ได้จากการสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ  โดยปีหนึ่งสั่งเข้ามาไม่ต่ำกว่า  10  ล้านเมล็ด  และในอนาคตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ  ดังนั้น  การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่าให้มีผลผลิตสูง และ สามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมประเทศไทย      เป็นแนวทางที่เกษตรกรจะได้ใช้ปาล์มน้ำมันที่ปรับปรุงพันธุ์ภายในประเทศ เป็นการลดการนำเข้าและลดต้นทุนให้กับเกษตรกร ดังนั้น สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร ร่วมกับภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร วิทยาเขตกำแพงแสน และบริษัทเกษตร 23 จำกัด ร่วมมือกันจัดทำโครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่า DXP เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมคุณภาพดี

              ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันมีวัตถุประสงค์ คือ ปรับปรุงพันธุ์ปาล์มลูกผสมเทเนอร่า ที่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตน้ำมัน / หน่วยพื้นที่ / หน่วยระยะเวลาสูง และ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกในประเทศไทยได้ดี รวมทั้งมีลักษณะอื่นๆ ที่เหมาะสม คือ มีการเจริญด้านความสูงช้า ความยาวทางใบไม่สั้นหรือยาวเกินไป ลำต้นอวบสมบูรณ์ ทั้งนี้ จะต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ การทดสอบลูกผสม การคัดเลือก และสร้างแปลงพ่อ-แม่พันธุ์ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะดำเนินการประมาณ 8- 10 ปี ซึ่งจะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์เผยแพร่ได้ ทั้งนี้โครงการได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งอยู่ระหว่างการปลูกทดลองคู่ผสมในแปลงทดลองสภาพแวดล้อมต่างๆกันเพื่อทดสอบประสิทธิภาพการใช้ผลผลิตและการเจริญเติบโตในสภาพประเทศไทยกับการเผยแพร่สู่เกษตรกร

1
1
1

          อุปกรณ์ในการใช้ผสมพันธุ์ปาล์มน้ำมันและต้นแม่พันธุ์ (ดูร่า) ที่ คัดเลือกต้นที่มีลักษณะดี (ผลผลิตน้ำมัน/ต่อหน่วยพื้นที่/หน่วยระยะเวลาและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกประเทศไทยได้ดี   รวมทั้งมีลักษณะที่เหมาะสม คือ มีการเจริญเติบโตด้านความสูงช้า ความยาวทางใบไม่สั้นหรือยาวเกินไปลำต้นอวบสมบูรณ์ ฯลฯ

11
11

             หลังจากมีการผสมเกสรตัวผู้ต้นพ่อ (พิซิเฟอร่า) ต้องมีการคลุมถุงช่อดอกตัวเมียบนต้นแม่พันธุ์(ดูร่า)เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเกสรตัวผู้จากต้นอื่นๆ ตามวิธีมาตรฐานของการผสมพันธุ์ปาล์มน้ำมัน (ภาพถ่ายจากแปลงปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร)

11

11

1


          เมื่อต้นแม่พันธุ์มีผลแก่เต็มที่ทั้งทลาย  นำเมล็ดพันธุ์มาเข้าขบวนการเพาะเมล็ด ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 65-80 วัน ก่อนนำเมล็ดไปเพาะกล้าลงถุงอีก 11 เดือนก่อนปลูกลงแปลงทดสอบ

           การเพาะกล้าลูกผสมปาล์มน้ำมันเทเนอร่า คู่ผสมต่างๆเพื่อปลูกทดสอบในแปลงทดสอบศักยภาพการให้ผลผลิตและการเจริญเติบโต

  
คณะผู้วิจัย :
สุดประสงค์  สุวรรณเลิศ ,สกล   ฉายศรี, ประภาส   ช่างเหล็ก, นิภา  เขื่อนควบ, ระวิวรรณ   โชติพันธ์, เจษฎายุทธ    ไชยบุรี และ  ลลิตา   น้ำเพ็ชร
หน่วยงาน :
สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  
โทร.    081-868-2022,02-579-6959